วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

  หลักการใช้ restrictive adjective clause และ non-restrictive adjective clause
  Restrictive และ non-restrictive adjective clause เป็นหลักการที่ใช้กับ relative pronoun เป็นส่วนใหญ่
1. Restrictive adjective clause คืออะไรและมีหลักการใช้
     อย่างไร
    Restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ใช้ระบุคำนามหรือ
สรรพนามของประโยคหลักว่า ‘เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด’
เช่น

    A man who moved in yesterday is our friend.
    ประโยคนี้ ‘who moved in yesterday’ คือ ‘restrictive adjective clause’ ที่
ใช้ระบุว่า ‘ผู้ชายที่เป็นเพื่อนของเรา คือ คนที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ไม่ใช่คนที่ย้ายเข้ามาวัน
อื่น

หลักการใช้ restrictive adjective clause
    การใช้ restrictive adjective clause นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองว่า adjective
clause ใดควรเป็น restrictive โดยมีหลักการดังนี้คือ
   1. ถ้าคนหรือสิ่งของที่เราจะนำเอา adjective clause มาขยายความนั้น มีหลายคน
หรือมีหลายสิ่ง จนอาจทำให้ผู้ที่รับสื่อจากเราไม่รู้ว่าเป็นคนไหนหรือสิ่งไหน เราก็จะใช้ restrictive adjective clause มาระบุ
    ดัง A man who moved in yesterday is our friend. ข้างต้น แสดงว่า มีคน
ย้ายเข้ามาหลายคน แต่คนที่เป็นเพื่อนเราคือ ผู้ชายที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ผู้รับสื่อจากเราก็จะ
เข้าใจทันทีว่า ใครคือเพื่อนเรา
    2. Restrictive คือ adjective clause ที่ไม่มี comma (,) วางไว้หน้า restrictive adjective clause นั้นๆ เช่น A man who moved in yesterday is our friend. ข้างต้น จะไม่มี comma (,) วางไว้หน้า who moved in yesterday
    Restrictive adjective clause เป็นภาษาของนักภาษาศาสตร์ ตำราบางเล่มเรียกเป็น
ชื่ออื่นๆอีกก็มี ดังนั้น ในฐานะผู้ใช้เราจะเรียก restrictive ว่า ‘adjective clause ที่ไม่มีcomma (,) วางไว้ข้างหน้า’ ก็ได้ครับ
    อนึ่ง อนุประโยคที่ผู้เขียนยกตัวอย่างไว้ข้างต้นทุกประโยคก็ล้วนแล้วแต่เป็น restrictive adjective clause ทั้งสิ้น
2. Non-restrictive adjective clause คืออะไรและมีหลัก
     การใช้อย่างไร
    Non-restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเพิ่มข้อ
มูล
ให้กับคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก โดยคำนามหรือคำสรรพนามนี้เป็นที่รับ
รู้กันอยู่แล้วว่า ‘เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด’ เช่น

    Mr. Pope, who we have just met, is a superstar.
    ประโยคนี้เราจะเห็นได้ว่า ‘who we have just met’ เป็น non-restrictive
adjective clause ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขยายความ Mr. Pope เท่านั้น เพราะผู้รับสื่อ
จากเราทราบอยู่แล้วว่า Mr. Pope เป็นใคร
    และ non-restrictive จะเป็น adjective clause ที่มี comma (,) วางไว้ทั้งข้าง
หน้าและข้างหลัง’ เพื่อให้แตกต่างจาก restrictive adjective clause อีกโสดหนึ่งด้วย
    อย่างไรก็ตาม non-restrictive adjective clause บางครั้งอาจมี comma (,) วาง
ไว้ข้างหน้าเท่านั้น ดังนี้
    The world number two badminton player is Ratchanok Intanon, who
won World Cup Title at China Open
.
    และ non-restrictive นี้ เราไม่สามารถละ relative pronoun (who, which) ที่เป็นกรรมไว้ได้ ต้องใส่ไว้เสมอ เช่น ประโยค Mr. Pope, who we have just met, is a superstar. ข้างต้น เราต้องคง relative pronoun คือ who ซึ่งเป็นกรรมของ we have just met ไว้เสมอ จะไปตัดออกไม่ได้
Non-restrictive ไม่ใช้ that นำหน้า
    คำ relative pronoun ที่นำหน้า non-restrictive adjective clause เพื่อใช้ขยาย
ความคำนามของประโยคหลักนี้จะใช้ who กับ which เท่านั้น ไม่มีการใช้ that โดยเด็ด
ขาด ดังนี้
    Mr. Pope, that we have just met, is a superstar.

ข้อควรจำ: ผู้ใช้คือผู้กำหนดว่า adjective clause ใดจะเป็น restrictive หรือ non-restrictive
    ท่านผู้อ่านอย่างลืมนะครับว่า adjective clause ใดจะเป็น restrictive หรือ non- restrictive นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองตามหลักการใช้ที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 1 และ 2 ข้างต้น
ประโยคตัวอย่างของ non-restrictive adjective clause
    ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาประโยคตัวอย่างของ non-restrictive adjective clause ดังต่อไปนี้ให้เข้าใจ
    –My new bike, which I bought last month, was stolen last night.
    –Bangkok, which is the capital of Thailand, is one of the most
      famous mega city in the world.
    –He is the first Thai who climbed Mount Everest, which is the highest 
      mountain in the world.
    –I have watched FanChan (My Girlfriend) many times, which was a 
      big hit in 2003.
    –Preechaya ‘Ice’, who played Jib in ATM Er Rak Error, majored in
      Liberal Arts at Assumption University.
    –Nuengtida ‘Noona’, who played female leading role in Hello Stranger,
      is now studying at Thammasart University.
    –Keerati ‘Gypsy’, who graduated from Chulalongkorn University, acts
      in Love Syndrome as female leading role.
    –Jarinporn ‘Toey’, who plays female leading role in Timeline, is a
      graduate of Srinakarinwirot University.
    –The male reading role in Timeline goes to James Jirayu, who is 
      a first year student at Rangsit University.
    –Sumontip ‘Gupgip’, who is a law student at Ramkhamhaeng 
      University, is a supporting actress whose IG has almost eight
      hundred thousand followers.
    การใช้ non-restrictive adjective clause จะใช้เฉพาะในภาษาเขียนเท่านั้น ส่วน
ในภาษาพูดจะนิยมแยกเป็น 2 ประโยค ดังนี้
    –I have watched FanChan (My Girlfriend) many times. The movie
      was a big hit in 2003.
การใช้ non-restrictive กับ relative adverb
    บางครั้ง เราอาจนำหลักการของ non-restrictive adjective clause ที่ใช้กับ
relative pronoun มาใช้กับ relative adverb ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับ where ดัง
ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
    –Put that book into the bookshelf, where it is.
    –This is the free English website, where you can learn English
      without any fee.
    –View of the Arena Corinthians in December, where the opening 
      match is due to be played(BBC)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น