วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

  หลักการใช้ restrictive adjective clause และ non-restrictive adjective clause
  Restrictive และ non-restrictive adjective clause เป็นหลักการที่ใช้กับ relative pronoun เป็นส่วนใหญ่
1. Restrictive adjective clause คืออะไรและมีหลักการใช้
     อย่างไร
    Restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ใช้ระบุคำนามหรือ
สรรพนามของประโยคหลักว่า ‘เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด’
เช่น

    A man who moved in yesterday is our friend.
    ประโยคนี้ ‘who moved in yesterday’ คือ ‘restrictive adjective clause’ ที่
ใช้ระบุว่า ‘ผู้ชายที่เป็นเพื่อนของเรา คือ คนที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ไม่ใช่คนที่ย้ายเข้ามาวัน
อื่น

หลักการใช้ restrictive adjective clause
    การใช้ restrictive adjective clause นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองว่า adjective
clause ใดควรเป็น restrictive โดยมีหลักการดังนี้คือ
   1. ถ้าคนหรือสิ่งของที่เราจะนำเอา adjective clause มาขยายความนั้น มีหลายคน
หรือมีหลายสิ่ง จนอาจทำให้ผู้ที่รับสื่อจากเราไม่รู้ว่าเป็นคนไหนหรือสิ่งไหน เราก็จะใช้ restrictive adjective clause มาระบุ
    ดัง A man who moved in yesterday is our friend. ข้างต้น แสดงว่า มีคน
ย้ายเข้ามาหลายคน แต่คนที่เป็นเพื่อนเราคือ ผู้ชายที่ย้ายเข้ามาเมื่อวาน ผู้รับสื่อจากเราก็จะ
เข้าใจทันทีว่า ใครคือเพื่อนเรา
    2. Restrictive คือ adjective clause ที่ไม่มี comma (,) วางไว้หน้า restrictive adjective clause นั้นๆ เช่น A man who moved in yesterday is our friend. ข้างต้น จะไม่มี comma (,) วางไว้หน้า who moved in yesterday
    Restrictive adjective clause เป็นภาษาของนักภาษาศาสตร์ ตำราบางเล่มเรียกเป็น
ชื่ออื่นๆอีกก็มี ดังนั้น ในฐานะผู้ใช้เราจะเรียก restrictive ว่า ‘adjective clause ที่ไม่มีcomma (,) วางไว้ข้างหน้า’ ก็ได้ครับ
    อนึ่ง อนุประโยคที่ผู้เขียนยกตัวอย่างไว้ข้างต้นทุกประโยคก็ล้วนแล้วแต่เป็น restrictive adjective clause ทั้งสิ้น
2. Non-restrictive adjective clause คืออะไรและมีหลัก
     การใช้อย่างไร
    Non-restrictive adjective clause ก็คือ adjective clause ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเพิ่มข้อ
มูล
ให้กับคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก โดยคำนามหรือคำสรรพนามนี้เป็นที่รับ
รู้กันอยู่แล้วว่า ‘เป็นใคร, เป็นสิ่งไหน, เป็นคนหรือเป็นสิ่งของประเภทใด’ เช่น

    Mr. Pope, who we have just met, is a superstar.
    ประโยคนี้เราจะเห็นได้ว่า ‘who we have just met’ เป็น non-restrictive
adjective clause ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อขยายความ Mr. Pope เท่านั้น เพราะผู้รับสื่อ
จากเราทราบอยู่แล้วว่า Mr. Pope เป็นใคร
    และ non-restrictive จะเป็น adjective clause ที่มี comma (,) วางไว้ทั้งข้าง
หน้าและข้างหลัง’ เพื่อให้แตกต่างจาก restrictive adjective clause อีกโสดหนึ่งด้วย
    อย่างไรก็ตาม non-restrictive adjective clause บางครั้งอาจมี comma (,) วาง
ไว้ข้างหน้าเท่านั้น ดังนี้
    The world number two badminton player is Ratchanok Intanon, who
won World Cup Title at China Open
.
    และ non-restrictive นี้ เราไม่สามารถละ relative pronoun (who, which) ที่เป็นกรรมไว้ได้ ต้องใส่ไว้เสมอ เช่น ประโยค Mr. Pope, who we have just met, is a superstar. ข้างต้น เราต้องคง relative pronoun คือ who ซึ่งเป็นกรรมของ we have just met ไว้เสมอ จะไปตัดออกไม่ได้
Non-restrictive ไม่ใช้ that นำหน้า
    คำ relative pronoun ที่นำหน้า non-restrictive adjective clause เพื่อใช้ขยาย
ความคำนามของประโยคหลักนี้จะใช้ who กับ which เท่านั้น ไม่มีการใช้ that โดยเด็ด
ขาด ดังนี้
    Mr. Pope, that we have just met, is a superstar.

ข้อควรจำ: ผู้ใช้คือผู้กำหนดว่า adjective clause ใดจะเป็น restrictive หรือ non-restrictive
    ท่านผู้อ่านอย่างลืมนะครับว่า adjective clause ใดจะเป็น restrictive หรือ non- restrictive นั้น ผู้ใช้จะเป็นผู้กำหนดเองตามหลักการใช้ที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 1 และ 2 ข้างต้น
ประโยคตัวอย่างของ non-restrictive adjective clause
    ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาประโยคตัวอย่างของ non-restrictive adjective clause ดังต่อไปนี้ให้เข้าใจ
    –My new bike, which I bought last month, was stolen last night.
    –Bangkok, which is the capital of Thailand, is one of the most
      famous mega city in the world.
    –He is the first Thai who climbed Mount Everest, which is the highest 
      mountain in the world.
    –I have watched FanChan (My Girlfriend) many times, which was a 
      big hit in 2003.
    –Preechaya ‘Ice’, who played Jib in ATM Er Rak Error, majored in
      Liberal Arts at Assumption University.
    –Nuengtida ‘Noona’, who played female leading role in Hello Stranger,
      is now studying at Thammasart University.
    –Keerati ‘Gypsy’, who graduated from Chulalongkorn University, acts
      in Love Syndrome as female leading role.
    –Jarinporn ‘Toey’, who plays female leading role in Timeline, is a
      graduate of Srinakarinwirot University.
    –The male reading role in Timeline goes to James Jirayu, who is 
      a first year student at Rangsit University.
    –Sumontip ‘Gupgip’, who is a law student at Ramkhamhaeng 
      University, is a supporting actress whose IG has almost eight
      hundred thousand followers.
    การใช้ non-restrictive adjective clause จะใช้เฉพาะในภาษาเขียนเท่านั้น ส่วน
ในภาษาพูดจะนิยมแยกเป็น 2 ประโยค ดังนี้
    –I have watched FanChan (My Girlfriend) many times. The movie
      was a big hit in 2003.
การใช้ non-restrictive กับ relative adverb
    บางครั้ง เราอาจนำหลักการของ non-restrictive adjective clause ที่ใช้กับ
relative pronoun มาใช้กับ relative adverb ได้เช่นกัน โดยเฉพาะกับ where ดัง
ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
    –Put that book into the bookshelf, where it is.
    –This is the free English website, where you can learn English
      without any fee.
    –View of the Arena Corinthians in December, where the opening 
      match is due to be played(BBC)
หลักการใช้ adjective clause ขั้นแตกฉาน
เกริ่นนำ
    Adjective clause จะนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด และถือว่าเป็นไวยากรณ์
อังกฤษที่ค่อนข้างยาก เพราะมีหลักการใช้ค่อนข้างมาก แต่ก็คงไม่เกินความพยายามและ
ความสามารถของพวกเราไปได้ในการที่จะกำราบ adjective clause ให้อยู่หมัด
    www.englishtrick.com จึงได้กล่าวถึงกลเม็ดและหลักการใช้ adjective clause อย่างละเอียดจนถึงขั้นแตกฉานกันเลยทีเดียว บทความนี้จึงค่อนข้างยาว
    เมื่ออ่านจบเที่ยวแรกท่านผู้อ่านก็อาจจะเข้าใจกลเม็ดและหลักการใช้ adjective
clause ได้ไม่ครบ ก็ขอให้พยายามอ่านทบทวนหลายๆเที่ยวก็จะเข้าใจจนถึงขั้นแตกฉาน
แบบเจ้าของภาษาไปในที่สุด

ทำความรู้จักกับ main clause และ subordinate clause
    Main clause หรือประโยคหลักคือ ประโยคที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองด้วยการดำรงอยู่
โดดๆได้โดยไม่ต้องพึ่งพิงประโยคอื่น
    เช่น She is the woman. เป็น main clause เพราะสามารถดำรงอยู่โดดๆได้โดย
ไม่ต้องพึ่งพิงประโยคอื่น บางครั้งเราจึงเรียก main clause ว่า independent clause
    ส่วน subordinate clause หรืออนุประโยคคือ ประโยคที่ใช้ขยายความประโยค
หลัก เช่น ขยายความคำนามของประโยคหลัก เป็นต้น
    Subordinate clause จึงเป็นประโยคที่ดำรงอยู่โดดๆไม่ได้ ต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับ
ประโยคหลัก
    เช่น that won the contest last week เป็น subordinate clause เพราะเป็น
ประโยคที่ใช้ขยายความคำนามของประโยคหลัก จึงดำรงอยู่โดดๆไม่ได้ ต้องเกาะเกี่ยวอยู่
กับประโยคหลัก บางครั้งเราจึงเรียก subordinate clause ว่า dependent clause
ทำความรู้จักกับ adjective clause
    Adjective clause ก็คือ subordinate clause หรืออนุประโยคที่ดำรงอยู่โดดๆ
ไม่ได้ หากต้องเกาะเกี่ยวอยู่กับประโยคหลัก โดย adjective clause จะทำหน้าที่ในการ
ขยายความคำนามหรือคำสรรพนามของประโยคหลัก (main clause) เช่น
    a) A man who moved in yesterday is our friend.
    b) Anyone that does this is a fool.
    c) She is the woman that won the contest last week.
    ในประโยค a) who moved in yesterday ก็คือ adjective clause ที่ทำหน้าที่
ขยายความคำนาม A man ในประโยคหลัก A man is our friend.
    ส่วนในประโยค b) that does this ก็คือ adjective clause ที่ทำหน้าที่ขยาย
ความคำสรรพนาม Anyone ในประโยคหลัก Anyone is a fool.
    และในประโยค c) that won the contest last week ก็คือ adjective clause ที่ทำหน้าที่ขยายความคำนาม the woman ในประโยคหลัก She is the woman.
    สรุปก็คือ adjective clause ทำหน้าที่เหมือนกับคำคุณศัพท์นั่นเอง เพียงแต่ว่าอยู่ใน
รูปของอนุประโยค (subordinate clause) จึงได้นำมาวางไว้หลังคำนามแทนที่จะวาง
ไว้หน้าคำนามเหมือนกับคำคุณศัพท์ทั่วๆไป
องค์ประกอบของ adjective clause
    Adjective clause แม้จะเป็นอนุประโยค แต่ก็ถือว่าเป็นประโยคชนิดหนึ่ง ดังนั้น
adjective clause อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย 1) ประธาน (subject) และ 2) ภาคแสดง (predicate) เสมอ ดังนี้
    ‘who moved in’ มี who เป็นประธาน และมี moved in เป็นภาคแสดง
    ‘that does this’ มี that เป็นประธาน และมี does this เป็นภาคแสดง
    ‘that won the contest’ มี that เป็นประธาน และมี won the contest เป็นภาคแสดง
คำและประเภทของคำที่ใช้นำหน้า adjective clause
    คำที่ใช้นำหน้า adjective clause เพื่อแสดงความเป็น adjective clause จะได้แก่
คำ relative ดังต่อไปนี้: who, which, that, whose, whom, where, when และ why
    ด้วยเหตุนี้ adjective clause จึงมักได้รับการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า relative clause (อนุประโยคที่นำหน้าด้วยคำ relative)
    คำ relative เหล่านี้จะแบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้
    1. Relative pronoun ได้แก่ who, which, that, whose และ whom
    2. Relative adverb ได้แก่ where, when และ why
    อนึ่ง ขอให้สังเกตว่า what และ how จะไม่ใช้นำหน้า adjective clause แต่จะใช้
นำหน้า noun clause ซึ่งท่านผู้อ่านจะได้เห็นในบทความ ‘กลเม็ดเก่ง noun clause’

หน้าที่ของ relative pronoun และ relative adverb
    Relative pronoun ทำหน้าที่เป็นทั้งคำที่ใช้ขยายความคำนาม และเป็นประธานของ adjective clause ไปในเวลาเดียวกัน หรือบางกรณีก็ทำหน้าที่เป็นกรรมของ adjective clause ไปในเวลาเดียวกัน
    Relative adverb ทำหน้าที่เป็นทั้งคำที่ใช้ขยายความคำนาม และเป็นวิเศษณ์ของ adjective clause ไปในเวลาเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดนี้จะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป
หลักการใช้ relative pronoun ขยายความคำนามของประโยคหลัก

 1. การใช้ who/which/that เพื่อขยายความคำนามของ
     ประโยคหลัก
    เราใช้ who ขยายความคำนามที่เป็นบุคคลหรือสัตว์เท่านั้น
    เราใช้ which ขยายความคำนามที่เป็นสิ่งของเท่านั้น
    เราใช้ that ขยายความคำนามที่เป็นบุคคลหรือสิ่งของก็ได้
1.1 การใช้ who/which/that เป็นประธานของ adjective
       clause เพื่อขยายความคำนามของประโยคหลัก
    เราใช้ who/which/that เป็นประธานของ adjective clause เพื่อขยายความ
คำนามของประโยคหลักได้ดังต่อไปนี้
    –A man who moved in yesterday is our friend.
    –The girl who is crying was punished by her mother.
    –The woman who was hit by a car is getting better.
    –Anyone that does this is a fool.
    –We should rely on our parents that love us most.
    –She is the woman that won the contest last week.
    –It is a dog who saved his life.
    –The companies that sell mobile phones will make big profits.
    –He bought a guitar which was once used by Elvis Presley.
    –The old books which are rare will be auctioned next month.
    อนึ่ง การใช้ who/which/that นี้เราสามารถวางไว้ห่างจากคำนามของประโยคหลัก
ก็ได้ ถ้าคำนามนั้นมีคำอื่นมาขยายความอยู่ เช่น
    –A man with a hat who is standing there is my boss.
    –Paul McCartney discusses a working relationship with George
      Harrison that was not always an even partnership(The New York   
        Times/Bangkok Post)
การลดรูป adjective clause ลงเป็น present participle
    Adjective clause ที่มี who/which/that เป็นประธานนั้น เราสามารถลดรูปลงเป็น present participle ได้ ถ้า tense ของ adjective clause นั้นเป็น continuous tense ดังนี้
    a) The girl who is crying was punished by her mother.
         เด็กผู้หญิงผู้ที่กำลังร้องไห้ได้ถูกทำโทษโดยแม่ของเธอ
    b) The crying girl was punished by her mother.
         เด็กผู้หญิงที่กำลังร้องไห้ได้ถูกทำโทษโดยแม่ของเธอ
    กล่าวโดยสรุปก็คือ เวลาเราจะขยายความคำนาม เราจะมีทางเลือกว่าจะใช้ adjective clause [ข้อ a)] หรือ present participle [ข้อ b)] ก็ได้ ตามเงื่อนไขดังอธิบายไว้
ข้างต้น
การลดรูป adjective clause ลงเป็น past participle
    Adjective clause ที่มี who/which/that เป็นประธานนั้น ถ้า adjective clause
เป็น passive voice เราสามารถลดรูปลงเป็น past participle ได้ ดังนี้
    a) The woman who was hit by a car is getting better.
         ผู้หญิงผู้ที่ถูกรถชนกำลังมีอาการดีขึ้น
    b) The woman hit by a car is getting better.
         ผู้หญิงที่ถูกรถชนกำลังมีอาการดีขึ้น
    กล่าวโดยสรุปก็คือ เวลาเราจะขยายความคำนามในกรณีที่คำนามนั้นเป็นฝ่ายถูกกระทำ เราจะมีทางเลือกว่าจะใช้ adjective clause ที่เป็น passive voice [ข้อ a)] หรือใช้แค่ past participle [ข้อ b)] ก็ได้
การลดรูป adjective clause ลงเป็นคำนาม (noun)
    การใช้ adjective clause ที่มี who/which/that เป็นประธาน ถ้า adjective
clause นั้นมีคำนามปรากฎอยู่ เราสามารถลดรูปลงเหลือเพียงคำนามคำเดียวได้ ถ้าลด
รูปแล้วไม่ทำให้เสียใจความสำคัญไป ดังนี้
    a) The companies that sell mobile phones will make big profits.
         บริษัทต่างๆที่ขายโทรศัพท์มือถือจะทำกำไรได้มาก
    b) The mobile phone companies will make big profits.
         บริษัทโทรศัพท์มือถือต่างๆจะทำกำไรได้มาก
    เราจะเห็นได้ว่าเมื่อลดรูปลงเหลือแค่คำนามเพียงคำเดียวแล้ว คำนามนี้ก็จะถูกนำมา
วางไว้หน้าคำนามเดิมที่ถูกขยายความโดย adjective clause นั่นเอง นั่นคือจาก ‘The companies that sell mobile phones’ เป็น ‘The mobile phone companies’
    กล่าวโดยสรุปก็คือ เวลาเราจะขยายความคำนาม เราจะมีทางเลือกว่าจะใช้ adjective clause [ข้อ a)] หรือคำนาม [ข้อ b)] ก็ได้ ตามเงื่อนไขดังอธิบายไว้ข้างต้น
การลดรูป adjective clause ลงเป็นคำคุณศัพท์ (adjective)
    การใช้ adjective clause ที่มี who/which/that เป็นประธานนั้น ถ้ามีคำคุณศัพท์ (adjective) ปรากฎอยู่ เราสามารถลดรูป adjective clause ลงเหลือเพียง adjective เพียงคำเดียวได้ ถ้าลดรูปแล้วไม่ทำให้เสียใจความสำคัญไป ดังนี้
    a) The old books which are rare will be auctioned next month.
         หนังสือเก่าที่หายากจะถูกเปิดประมูลเดือนหน้า
    b) The rare old books will be auctioned next month.
         หนังสือเก่าหายากจะถูกเปิดประมูลเดือนหน้า
    กล่าวโดยสรุปก็คือ เวลาเราจะขยายความคำนามเราจะมีทางเลือกว่าจะใช้ adjective clause [ข้อ a)] หรือคำคุณศัพท์ [ข้อ b)] ก็ได้ ตามเงื่อนไขดังอธิบายไว้ข้างต้น
การลดรูป adjective clause ลงเป็นบุพบทวลี (prepositional phrase)
    Adjective clause ที่มี who/which/that เป็นประธานนั้น ถ้ามีบุพบทวลี (prepositional phrase) ปรากฎอยู่ เราสามารถลดรูป adjective clause ลงเหลือ
เพียงบุพบทวลีได้ ถ้าลดรูปแล้วไม่ทำให้เสียใจความสำคัญไป ดังนี้
    a) The man who dresses in gray suit is her dad.
         ผู้ชายคนที่สวมสูทสีเทาเป็นพ่อของเจ้าหล่อน
    b) The man in gray suit is her dad.
         ผู้ชายที่สวมสูทสีเทาเป็นพ่อของเจ้าหล่อน
    กล่าวโดยสรุปก็คือ เวลาเราจะขยายความคำนามเราจะมีทางเลือกว่าจะใช้ adjective clause [ข้อ a)] หรือบุพบทวลี [ข้อ b)] ก็ได้ ตามเงื่อนไขดังอธิบายไว้ข้างต้น
1.2 การใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective clause เพื่อขยายความคำนามของประโยคหลัก 
  Who/which/that นอกจากจะเป็นประธานของ adjective clause แล้ว ยังเป็น
กรรมของ adjective clause ได้อีกด้วย เช่น

    The woman who I met is my friend’s sister.
    ประโยคนี้ who ทำหน้าที่เป็นคำขยายความประธาน The woman ขณะเดียวกันก็
ทำหน้าที่เป็นกรรมของคำกริยา met พร้อมกันไปด้วย
    และคำกริยาที่ใช้ใน adjective clause ในกรณีนี้จะต้องเป็น ‘คำกริยาที่ต้องมีกรรม
มารองรับ’ ด้วยนะครับ จึงจะเป็นการใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective clause ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ดังประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
    a) The man who I talked with works for my dad.                       
    b) The used car that my sister has bought is very cheap.
    ประโยค a) คำกริยา talked with เป็นคำกริยามี่ต้องมีกรรมมารองรับ
    ส่วนประโยค b) คำกริยา bought ก็เป็นคำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับเช่นกัน ทั้ง
ประโยค a) และ b) นี้จึงถือว่าถูกต้องตามหลักไวยากรณ์การใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective clause
    ดังนั้น ถ้าคำกริยาใน adjective clause เป็นคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ ก็จะ
เป็นการใช้ที่ผิดหลักไวยากรณ์ของการใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective
clause ไปทันที เช่น
    c) The man who I talked works for my dad.                               
    d) The used car that my sister is is very cheap.
    ประโยค c) คำกริยา talked เป็นคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ การใช้ adjective clause ในข้อ c) จึงผิดหลักไวยากรณ์การใช้ who/which/that เป็นกรรมของอนุ
ประโยค
    ส่วนข้อ d) คำกริยา is ก็เป็นคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารองรับ การใช้ adjective
clause ในข้อ d) จึงผิดหลักไวยากรณ์การใช้ who/which/that เป็นกรรมของ adjective clause เช่นกัน
    ขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาประโยคตัวอย่างต่อไปนี้ให้เข้าใจ
    –The woman who he dates is his boss’s daughter.
    –The applicant that I have just interviewed looked nervous.
    –She is the woman that I saw last week.
    –The house that they sell is near the airport.
    –A piece of land that he rented is in the country.
    –That ship is the one which my dad builds.
    –I like the music which you are listening to.
    อนึ่ง ในกรณีของ which ถ้าคำกริยาที่ตามหลัง which มาเป็นคำกริยาที่ใช้ร่วมกับคำ
บุพบท (phrasal verb) เราสามารถย้ายคำบุพบทนั้นมาวางไว้หน้า which ได้ ดังนี้
    –I like the music to which you are listening.

การละ who/which/that ที่เป็นกรรมของ adjective clause ไว้
    ขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตว่า adjective clause ที่ who/which/that ทำหน้าที่เป็น
กรรมของ adjective clause นั้น จะมีประธาน และภาคแสดงสมบูรณ์ในตัวเองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องอาศัย who, which และ that เลย
    เช่นประโยค The woman who I met is my friend’s sister. นี้ adjective
clause นี้จะมีประธาน (คือ I), ภาคแสดง (คือ met) อยู่ครบถ้วนตามองค์ประกอบของ adjective clause แล้ว
    ดังนั้น การใช้  who/which/that เพื่อทำหน้าที่เป็นกรรมของ adjective clause นี้ เราจะละ who, which และ that ไว้เสียก็ได้ ดังนี้
    –The woman I met is my friend’s sister.
    –The woman he dates is his boss’s daughter.
    –The man I talked with works for my dad.
    –The applicant I have just interviewed looked nervous.
    –She is the woman I saw last week.
    –The house they sell is near the airport.
    –A piece of land he rented is in the country.
    –The used car my sister has bought is very cheap.
    –That ship is the one my dad builds.
    –I like the music you are listening to.

หลักการพื้นฐานของการเกิด adjective clause ที่มี who/which/
that นำหน้า
    หลักการพื้นฐานของการเกิด adjective clause ที่มี who/which/that นำหน้า ก็คือ ‘การที่ประโยค 2 ประโยคมีประธานหรือมีคำนามคำเดียวกัน’ จึงมีการรวมประโยค 2 ประโยคนี้เข้าด้วยกัน โดยทำให้ประโยคใดประโยคหนึ่งเป็น adjective clause ไปเสีย
ตามสถานการณ์การใช้ของเรา
    เช่น ประโยค A man who moved in yesterday is our friend. ก็มาจาก
ประโยค 2 ประโยคดังต่อไปนี้
    a) A man is our friend.
    b) A man moved in yesterday.
    เราจะเห็นได้ว่าทั้งประโยค a) และ b) มีประธาน A man คำเดียวกันจึงมีการรวม
ประโยค 2 ประโยคนี้เข้าด้วยกัน และตามสถานการณ์การใช้ของเราเราต้องการให้ประโยค b) เป็น adjective clause เราจึงตัด A man ที่เป็นประธานในประโยค b) ออก แล้ว
แทนที่ด้วย who เป็น who moved in yesterday
    จากนั้นนำเอา who moved in yesterday นี้ไปขยายความ A man ในข้อ a) ได้ออกมาเป็น: A man who moved in yesterday is our friend. นั่นเอง  
    อนึ่ง ประโยค a) และ b) นี้เราจะรวมเป็น A man who is our friend moved in yesterday. ก็ได้ อันขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้ของแต่ละท่าน
    ลองไปดูประโยคตัวอย่างอื่นที่ประโยค 2 ประโยคมีคำนามคำเดียวกันนั่นคือ

    The woman who I met is my friend’s sister.
    ประโยคนี้มาจากประโยค 2 ประโยคดังต่อไปนี้
    a) The woman is my friend’s sister.
    b) I met the woman.
    เราจะเห็นได้ว่าทั้งประโยค a) และ b) มีคำนาม the woman คำเดียวกันจึงมีการรวม
ประโยค 2 ประโยคนี้เข้าด้วยกัน และตามสถานการณ์การใช้ของเราเราต้องการให้ประโยค b) เป็น adjective clause เราจึงตัด the woman ที่เป็นกรรมในประโยค b) ออก แล้ว
แทนที่ด้วย who โดยวาง who ไว้ข้างหน้าเป็น who I met
    จากนั้นนำเอา who I met นี้ไปขยายความ The woman ในข้อ a) ได้ออกมาเป็น: 
The woman who I met
 is my friend’s sister. นั่นเอง

การใช้ adjective clause ในเชิงปฏิบัติ
    การที่เรารู้หลักการพื้นฐานของ adjective clause ดังกล่าวข้างต้น จะมีประโยชน์
อย่างมากในการรู้ที่มาที่ไปของประโยค adjective clause ที่มี who/which/that นำ
หน้า
    รวมทั้งจะได้ทราบความแตกต่างระหว่าง adjective clause กับ noun clause ด้วย เพราะในบางกรณีโครงสร้างของ adjective clause กับ noun clause จะมีความคล้าย
คลึงกัน (ซึ่งจะกล่าวถึงใน ‘กลเม็ดเก่ง noun clause’)
    ส่วนการใช้ adjective clause ในเชิงปฏิบัติหรือในสถานการณ์ตอนที่เราใช้จริงนั้น เราไม่จำเป็นต้องไปคำนึงถึงหลักการพื้นฐานนี้ เพราะจะเป็นการเสียเวลาไปโดยไม่จำเป็น นั่นคือ ถ้าเราจะใช้ adjective clause อะไรก็ให้ใช้ออกมาเลย
    เช่น เราจะเขียนประโยค A man who moved in yesterday is our friend. ก็ให้
จรดปากกาเขียนออกมาเลยหรือให้เคาะคีย์บอร์ดพิมพ์ออกมาเลย โดยไม่ต้องไปเสียเวลาคิด
ว่าประโยคนี้มาจาก 2 ประโยคพื้นฐานอะไรบ้าง เพราะ 2 ประโยคที่ว่านี้จะอยู่ใน A man who moved in yesterday is our friend. โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว
2. การใช้ ‘whose + คำนาม’ เพื่อขยายความคำนามของ
     ประโยคหลัก
    Whose เป็นคำสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของบุคคลหรือสิ่งของได้
เช่น whose bike = จักรยานของใคร; whose daughter = ลูกสาวของใคร
whose handle = หูจับของมัน ฯลฯ
    เราสามารถใช้ ‘whose + คำนาม’ ดังตัวอย่างข้างต้นนี้นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนามของประโยคหลักได้ดังนี้
    –A boy whose bike was bought by my son is my student.
      เด็กชายซึ่งจักรยานของเขาถูกซื้อโดยลูกชายของผมเป็นลูกศิษย์ของผม
    –A woman whose house is next to me is a nurse.
      ผู้หญิงที่บ้านของหล่อนอยู่ติดกับฉันเป็นพยาบาล
    –He said something to a man whose dog names Spice.
      เขาพูดบางสิ่งกับผู้เชายที่สุนัขของเขาชื่อ Spice
    –It is a cat whose ears are so short.
      มันคือแมวที่หูของมันสั้นมาก
    –She hires a carpenter whose son is a plumber.
      เจ้าหล่อนว่าจ้างช่างไม้ซึ่งลูกชายของเขาเป็นช่างประปา
    –What is the name of the man whose daughter you dated?
      ผู้ชายที่ลูกสาวของเขาคุณมีนัดด้วยชื่ออะไร?

    –The briefcase whose handle is broken is his.
      กระเป๋าเอกสารที่หูจับแตกเป็นของเขา

3. การใช้ whom เป็นกรรมของ adjective clause
    ตามปกติเราใช้ who เป็นกรรมของ adjective clause ได้ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น
ดังนี้
    –The woman who I met is my friend’s sister.
    –The man who I work for runs many businesses.
    –The man who many women had a date with turns out to be a serial
      killer.
    อย่างไรก็ตาม เราอาจใช้ whom แทน who ได้ในการใช้แบบเป็นทางการมากๆ เช่น ในหนังสือเอกสารต่างๆ ดังนี้
    –The woman whom I met is my friend’s sister.
    –The man for whom I work runs many businesses.
    –The man with whom many women had a date turns out to be a
      serial killer.
หลักการใช้ relative adverb ขยายความคำนามของประโยคหลัก
1. การใช้ where/when/why ขยายความคำนาม
    Where/when/why เป็นคำ relative adverb จึงทำหน้าที่เป็นทั้งคำขยายความ (relative) คำนามของประโยคหลัก และเป็นวิเศษณ์ (adverb) ของ adjective clause พร้อมกันไปในเวลาเดียวกัน เช่น
    This is the website where you can learn English for free.
    ประโยค adjective clause ‘where you can learn English for free’ นี้ where จะทำหน้าที่เป็นทั้ง ‘คำขยายความคำนาม the website’ และทำหน้าที่เป็น ‘วิเศษณ์แสดง
สถานที่’ ของ learn English for free ด้วย
1.1 การใช้ where เพื่อขยายความคำนามแสดงสถานที่
    เราใช้ where นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนามแสดงสถานที่,
คำนามแสดงตำแหน่ง หรือคำนามแสดงลำดับขั้นในประโยคหลัก ดังนี้
    –The school where they study is the best in town.
    –Put that book into the place where it is.
    –This is the website where you can learn English for free.
    –The cosmology has just reached the stage where we can 
      understand the universe only 10 percent.

ลักษณะพิเศษของ where 
    Where เป็นคำวิเศษณ์แสดงสถานที่ และคำวิเศษณ์แสดงสถานที่จะมีลักษณะพิเศษอยู่
ประการหนึ่งคือ เป็น ‘กึ่งคำวิเศษณ์กึ่งคำนาม’ Where จึงมีทั้ง ‘ความเป็นวิเศษณ์และความ
เป็นคำนาม’ อยู่ในตัวเอง
    เราจึงใช้ where เป็นคำวิเศษณ์ (adverb) ก็ได้ หรือเราจะใช้ where เป็นคำนาม
(noun) ก็ได้
    นั่นคือ เราสามารถใช้ where เป็นคำวิเศษณ์ตามหลัง ‘คำกริยา vi’ (คำกริยาที่ไม่ต้อง
มีกรรมมารองรับ) ก็ได้ หรือเราจะใช้ where เป็นคำนามตามหลัง ‘คำกริยา + บุพบท
(phrasal verb)’ ก็ได้ ดังนี้
    a) Where did he go?
    b) Where did he go to?
    ทั้ง 2 ประโยคนี้ถูกต้องทั้งคู่ โดยประโยค a) go เป็นคำกริยา vi เราจึงใช้ go กับคำ
วิเศษณ์ where ได้ทันที นั่นคือ Where did he go?
    ส่วนประโยค b) go to เป็น ‘คำกริยา + บุพบท’ เราจึงใช้ go to กับคำนาม where ได้ทันทีว่า Where did he go to?
    และเมื่อเราใช้ where เป็น relative adverb ลักษณะพิเศษนี้ก็ยังคงติดตัว where มา
ด้วย เราจึงสามารถใช้ where กับ ‘คำกริยา vi’ ก็ได้ หรือใช้กับ ‘คำกริยา + บุพบท’ ก็ได้
ดังนี้
    a) Put that book into the place where it is.
    b) Put that book into the place where it belongs to.
    การใช้ประโยค a) และ b) นี้ถือว่าถูกต้องทั้งคู่ เราจึงสามารถเลือกใช้ประโยคใดก็ได้
    และเฉพาะ where ที่ใช้กับ ‘คำกริยา + บุพบท’ นี้เราสามารถละ where ไว้ได้ดังนี้:
Put that book into the place it belongs to.
    เหตุที่กรณีนี้เราละ where ไว้ได้เพราะ the place เป็นคำนามในตัวเองจึงใช้เป็นกรรม
ของ belongs to ได้อยู่แล้ว ดังนั้น where ที่มีความเป็นคำนามอยู่ในตัวจึงซ้ำความ
หมายกับ the place เราจึงตัด where ทิ้งไปได้ เพื่อให้ประโยคมีความกระชับขึ้น
    แต่เราจะคง where ไว้ก็ได้ แต่ประโยคของเราก็จะขาดความกระชับไป
1.2 การใช้ when เพื่อขยายความคำนามแสดงเวลา
    เราใช้ when นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนามแสดงเวลาของ
ประโยคหลักได้ ดังนี้
    –The first time when I dated her, I fell in love with her.
    –Do you remember the day when we first met?
    –The night when they drove old Dixie down.
      ค่ำคืนที่ฝ่ายเหนือได้โค่นกองกำลังฝ่ายใต้ลง(ในสงครามกลางเมืองของสหรัฐฯ)

ลักษณะพิเศษของคำนามแสดงเวลา
    สำหรับภาษาอังกฤษแล้ว คำนามแสดงเวลา เช่น time, day และ night ฯลฯ นั้น เมื่อ
เราเติม the เข้าไปข้างหน้าเป็น the time, the day และ the night ฯลฯ คำเหล่านี้จะ
กลายเป็น ‘กึ่งคำนามกึ่งคำวิเศษณ์’ ไปทันที
    นั่นคือ เราสามารถใช้ the time, the day และ the night ฯลฯ เป็นคำนามก็ได้ หรือเป็นคำวิเศษณ์ก็ได้ เมื่อเป็นดังนี้คำเหล่านี้จึงมักถูกใช้เป็นคำวิเศษณ์ขยายความคำกริยา
หรือประโยคทั้งประโยคได้ดังนี้
    We met her the day before Christmas.
    ประโยคนี้ the day before Christmas ทำหน้าที่เป็นวิเศษณ์ขยายความประโยค
We met her.
    ดังนั้น เมื่อเราใช้ when ซึ่งเป็น relative adverb มาขยายความคำนามแสดงเวลา
the time, the day และ the night ฯลฯ เราจึงสามารถละ when ไว้ได้ เพราะคำนาม
แสดงเวลาเหล่านี้เป็นคำวิเศษณ์ในตัวเองอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมี when อยู่ด้วยก็ได้ ดังนี้
    –The first time I dated her, I fell in love with her.
    –Do you remember the day we first met?
    –The night they drove old Dixie down. (The Band/Joan Baez)
    จาก 3 ประโยคข้างต้นเราจะเห็นได้ว่า the first time, the day และ the night ตามลำดับนั้นเป็น ‘คำวิเศษณ์’ อยู่ในตัวอยู่แล้ว เราจึงสามารถตัด when ซึ่งก็เป็นคำวิเศษณ์
เช่นกันออกได้ อันจะช่วยให้ประโยคของเรามีความกระชับขึ้น
1.3 การใช้ why ขยายความคำนาม reason
    เราใช้ why นำหน้า adjective clause เพื่อขยายความคำนาม reason ได้ดังนี้
    –This is the reason why I am here.
      นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมถึงมาที่นี่
    และเราจะละ why ไว้เสียก็ได้ดังนี้
    –This is the reason I am here.
      นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมถึงมาที่นี่
    เหตุที่เราสามารถตัด why ออกได้ก็เพราะ คำว่า reason มีความหมายว่า ‘ทำไม’ อยู่
ในตัวเองอยู่แล้ว นั่นคือ reason = ทำไมบางสิ่งจึงเกิดขึ้นหรือทำไมบางคนจึงทำบางสิ่ง
    อนึ่ง เราสามารถใช้ why เพื่อขยายความคำนาม idea ในประโยค I have no idea.
ได้เช่นกัน แต่จะไม่สามารถตัด why ออกได้ ดังนี้
    –I have no idea why she dated him.
      ฉันไม่เข้าใจเลยว่าทำไมเจ้าหล่อนจึงมีนัดกับเขา
If-sentence ง่ายนิดเดียว
พื้นฐานที่จะช่วยให้เราเข้าใจ if-sentence ได้ง่ายๆ

   ขอให้ท่านผู้อ่านท่องจำประโยค 3 ประโยคดังต่อไปนี้ ตลอดจน tenses ที่ใช้ และคำ
แปลที่ให้ไว้ให้แม่นยำ เพราะทั้ง 3 ประโยคนี้จะช่วยให้เราใช้ if-sentence ได้ง่ายๆโดย
เฉพาะในแง่ของการจำได้อย่างแม่นยำว่าประโยคเหตุ (if clause) ใช้กับ tense อะไร และประโยคผล (result clause) ใช้กับ tense อะไร ก่อนที่เราจะเข้าสู่เนื้อหาของ if-sentence เสียด้วยซ้ำ

Do you mind if I smoke?
คุณจะว่าอะไรไหม ถ้าผมจะสูบบุหรี่?
If I were you, I would call her.
สมมติว่ากันเป็นเกลอนะ กันจะโทรไปหาเจ้าหล่อน
would have watched that movie.
ฉันน่าจะได้ดูหนังเรื่องนั้น แต่กลับไม่ได้ดู

If-sentence คืออะไร?

    If-sentence ก็คือ ประโยคเงื่อนไขที่ใช้เพื่อแสดงว่า ‘ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ก็จะมี
อีกเหตุการณ์หนึ่งตามมา’ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ‘ถ้ามีประโยคเหตุ (if clause) เกิดขึ้น ก็จะมีประโยค (result clause) ผลตามมา’ เช่น
If you invite him, he will come.
ถ้าเธอเชื้อเชิญเขา เขาก็จะมา


    ประโยคนี้ If you invite him
 คือประโยคเหตุ ส่วน he will come คือประโยคผล


    If-sentence แบ่งเป็น 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. If-sentence ที่แสดงความเป็นไปได้สูงหรือที่เป็นจริงเสมอ
    ถ้าเราต้องการกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆในปัจจุบันที่เป็นไปได้สูงหรือที่เป็นจริงเสมอ เราจะ
ใช้ if-sentence และ tenses ในรูปดังต่อไปนี้
If he asks me, I will go with him.
ถ้าเขาขอฉัน ก็มีความเป็นไปได้มากที่ฉันจะไปกับเขา
If you don’t study hard, you can’t pass the exams.
ถ้าเธอไม่ศึกษาอย่างหนัก ก็มีความเป็นไปได้มากที่เธอจะสอบไม่ผ่าน
What will you do, if she says ‘no’?
คุณจะทำยังไง ถ้าเจ้าหล่อนปฏิเสธ?
If the lighting appears, there follows the thunder.
ถ้าฟ้าแล่บ ก็จะมีฟ้าร้องตามมาเสมอ
If it rains, the streets are flooded.
ถ้าฝนตก น้ำก็จะท่วมถนนเป็นประจำ
If we freeze water, it will change into ice.
ถ้าเราทำให้น้ำถึงจุดเยือกแข็ง น้ำก็จะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งเสมอ
    ขอให้ท่านผู้อ่านสังเกตด้วยว่า การใช้ if-sentence ที่แสดงความเป็นไปได้สูงหรือที่
เป็นจริงเสมอนี้ นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดให้ประโยคเหตุ (if clause) ใช้กับ present simple เพราะ present simple เป็น tense ที่แสดงข้อเท็จจริงนั่นเอง [โปรดดูบทความ tenses(A)] ส่วนประโยคผล (result clause) ก็จะใช้กับ present simple หรือ future
simple ตามข้อเท็จจริงของสถานการณ์การใช้ของเรา
    ดังนั้นเมื่อมีการใช้ if-sentence ในกรณีนี้ขึ้นทั้งผู้สื่อและผู้รับสื่อก็จะเข้าใจตรงกัน
ทันที
ว่า if-sentence ที่ใช้กับ present simple นี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นไปได้สูง
หรือข้อเท็จจริง
    อย่างไรก็ตาม การใช้ if-sentence ในกรณีนี้มีความยืดหยุ่นในแง่ที่ว่า ในบางครั้ง
ประโยคเหตุ (if clause) สามารถใช้ present tense อื่นๆได้ เช่น present
continuous เป็นต้น เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของสถานการณ์การใช้ของผู้ใช้แต่
ละคนให้มากที่สุด เช่น
If you are listening, I want to tell you I love you.
     ถ้าคุณกำลังฟังอยู่ ผมอยากจะบอกว่าผมรักคุณ
–Please stay tune, if you have won.
     กรุณาอย่าเพิ่งเปิดไปช่องอื่น ถ้าคุณเพิ่งตอบคำถามถูกไปเมื่อซักครู่

2. If-sentence ที่เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้บางสิ่งเกิด
  ขึ้น

    ถ้าเราต้องการกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆในปัจจุบันที่เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้บางสิ่ง
เกิดขึ้น เราจะใช้ if-sentence และ tenses ในรูปดังต่อไปนี้
If Einstein were alive, he would agree with me.
สมมติว่าถ้าไอนสไตนยังมีชีวิตอยู่ เขาก็คงเห็นด้วยกับผม
If I were bird, I could fly.
สมมติว่าถ้าผมเป็นนก ผมก็คงบินได้
If I were him, I would invest in emerging market.
สมมติว่าถ้าผมเป็นเขานะ ผมก็คงลงทุนในตลาดเกิดใหม่
If the earth had 2 moons, the night sky would be so exotic.
สมมติว่าถ้าโลกมีดวงจันทร์ 2 ดวง ท้องฟ้ายามค่ำคืนก็คงจะประหลาดล้ำ
If she were/was here, I would propose.
สมมติว่าถ้าเจ้าหล่อนมาอยู่ที่นี่นะ ผมก็จะขอเจ้าหล่อนแต่งงาน
could call her, if I had her phone number.
ผมจะโทรหาเจ้าหล่อน ถ้าเพียงแต่ว่าผมมีเบอร์ของเจ้าหล่อนเท่านั้น
    ขอให้ผู้อ่านสังเกตด้วยว่า ‘การใช้ if-sentence ที่เป็นการสมมติหรือจินตนาการให้
บางสิ่งเกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน’ นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดให้ประโยคเหตุ (if clause) ใช้กับ past simple ทั้งๆที่เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบัน  ทั้งนี้ก็เพื่อ
แสดงว่า นี่เป็นเรื่องของการสมมติหรือจินตนาการที่บิดเบี้ยวไปจากข้อเท็จจริง การใช้
tense ในประโยคเหตุ (และประโยคผล) จึงบิดเบี้ยวไปจากหลักการใช้ tense ทั่วไปด้วย นั่นคือแทนที่จะเป็น present simple ก็กลายเป็น past simple ไป
    ดังนั้น เมื่อมีการใช้ if-sentence ที่แสดงความเป็นปัจจุบันในรูป past simple ทั้ง
ผู้สื่อและผู้รับสื่อก็จะเข้าใจตรงกันทันที
ว่า if-sentence นี้เป็นเรื่องของการสมมติหรือ
จินตนาการขึ้นมา ไม่ใช่เรื่องของข้อเท็จจริง
    และนี่ก็คือตรรกะในแบบของภาษาอังกฤษครับ!!!

3. If-sentence ที่เป็นการสมมติให้เหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เกิด
  ขึ้นให้เกิดขึ้น
    ถ้าเราต้องการกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆที่เป็นการสมมติให้เหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เกิดขึ้นให้
เกิดขึ้น เราจะใช้ if-sentence และ tenses ในรูปดังต่อไปนี้
If I had known that movie was fun, I would have watched it.
ถ้าบังเอิญผมรู้ว่าหนังเรื่องนั้นสนุก ผมก็น่าจะได้ดูมัน ไม่ใช่ไม่ได้ดูอย่างนี้
If I had set my alarm clock, I could have woken up early.
ถ้าบังเอิญผมตั้งนาฬิกาปลุกไว้ ผมก็คงตื่นเช้า ไม่ตื่นสายอย่างนี้
If I had got some advice, I might have bought that stock.
ถ้าบังเอิญผมได้รับคำแนะนำ ผมก็คงซื้อหุ้นตัวนั้นไว้ ไม่ใช่ไม่ได้ซื้ออย่างนี้
   If he had shot himself, he wouldn’t have arranged his birthday party.
        ถ้าบังเอิญเขาเจตนายิงตัวตายนะ เขาก็คงไม่เตรียมจัดงานวันเกิดไว้อย่างนี้ดอก
             (= ผู้พูดคิดว่า he ไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่อาจถูกคนอื่นฆ่า แล้วมีการจัดฉากว่าเป็นการฆ่าตัวตาย)

    การใช้ if-sentence ในข้อ 3 นี้ เราสามารถเอา had มาวางไว้หน้าประโยคและตัด if ออกได้ดังนี้
Had I known that movie was fun, I would have watched it.ถ้าบังเอิญผมรู้ว่าหนังเรื่องนั้นสนุก ผมก็น่าจะได้ดูมัน ไม่ใช่ไม่ได้ดูอย่างนี้


หลักการใช้ if-sentence ในสถานการณ์การใช้จริง

    ในสถานการณ์การใช้จริง การใช้ if-sentence ในข้อ 1 และ 2 ซึ่งต่างก็เป็นการกล่าว
ถึงเงื่อนไขต่างๆที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ผู้ใช้แต่ละท่านอาจไม่จำเป็นต้องใช้เหมือนกัน นั่นคือ บางคนอาจเลือกใช้ if-sentence ในข้อ 1 มากล่าวถึงเหตุการณ์นั้น ส่วนบางคน
ก็อาจเลือกใช้ if-sentence ในข้อ 2 มากล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันนั้นก็ได้ เช่น

    A: If we buy mom this scarf, she will be so pleased.
        ถ้าเราซื้อผ้าพันคอนี่ให้แม่ แม่คงยินดีมาก
    B: If we bought mom this scarf, she would be so pleased.
        สมมติว่าถ้าเราซื้อผ้าพันคอนี่ให้แม่ แม่ก็น่าจะยินดีมาก

    ในสถานการณ์การซื้อผ้าพันคอให้แม่นี้ A มีความเชื่อว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ถ้าซื้อ
ผ้าพันคอไปแล้ว แม่จะต้องยินดีมาก จึงใช้ if-sentence ในข้อที่ 1

    ส่วน B กลับมีความรู้สึกไม่แน่ใจนักว่า ถ้าซื้อผ้าพันคอไปแล้วแม่จะยินดีมากหรือไม่
เพราะ B อาจจะเห็นว่าแม่มีผ้าพันคออยู่หลายผืนแล้วก็ได้ จึงได้เลือกใช้ if-sentence ที่เป็นการสมมติในข้อที่ 2 แทน

    การใช้ if-sentence ที่ต่างกันในสถานการณ์เดียวกัน ณ เวลาเดียวกันนี้ อาจเกิดขึ้น
ได้ และก็ถือว่าเป็นการใช้ที่ถูกต้องทั้งคู่ อันขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้ใช้แต่ละคน

    ดังนั้น เวลาเราไปเจอคนอื่นใช้ if-sentence ในข้อที่ 1 ในสถานการณ์หนึ่งๆ แล้ว
เราเกิดสงสัยว่าในสถานการณ์นั้นจะใช้ if-sentence ในข้อที่ 2 ได้หรือไม่ ก็ขอตอบ
เลยว่าใช้ได้ครับ

    ในทางกลับกัน ถ้าเราไปเจอคนอื่นใช้ if-sentence ในข้อที่ 2 ในสถานการณ์หนึ่งๆ แล้วเราเกิดสงสัยว่าในสถานการณ์นั้นจะใช้ if-sentence ในข้อที่ 1 ได้หรือไม่ ก็ขอตอบ
เลยว่าใช้ได้อีกเช่นกันครับ
    อย่างไรก็ตาม ถ้าเงื่อนไขของสถานการณ์นั้นเป็นจริงเสมอ ก็มักใช้กับ if-sentence ในข้อที่ 1 เท่านั้น เช่น
   –If it rains, the streets are flooded.
        ถ้าฝนตก น้ำก็จะท่วมถนนเป็นประจำ
   –If we freeze water, it will change into ice.
        ถ้าเราทำในน้ำถึงจุดเยือกแข็ง น้ำก็จะเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งเสมอ

    ในขณะเดียวกัน ถ้าเงื่อนไขของสถานการณ์นั้นเป็นการสมมติที่เหนือธรรมชาติ ก็มักใช้กับ
if-sentence ในข้อที่ 2 เท่านั้น เช่น

    –If I were bird, I could fly.
        สมมติว่าถ้าผมเป็นนก ผมก็คงบินได้
    –If I were him, I would invest in emerging market.
        สมมติว่าถ้าผมเป็นเขานะ ผมก็คงลงทุนในตลาดเกิดใหม่
    ส่วนการใช้ if-sentence ในข้อที่ 3 ซึ่งเป็นการกล่าวถึงเงื่อนไขต่างๆที่เป็นการสมมติ
ให้เหตุการณ์ในอดีตที่ไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้นนั้น มีการใช้อยู่วิธีเดียวเท่านั้น คือ 
    If + had + v3, + would/could/might + have + v3
จึงไม่มีลักษณะของการใช้ต่างเกิดขึ้น
   การใช้ if-sentence ก็ง่ายๆอย่างนี้แหละ ไม่มีอะไรซับซ้อน ดังนั้น ขอให้ท่านผู้อ่านลงมือใช้กันได้เลยครับ
   อ้อ...อย่าลืมนะครับว่า เมื่อใดก็ตามที่เราจำเป็นต้องใช้ if-sentence ขึ้น
มาอย่างฉับพลันทันทีและเกิดลืมว่าประโยคเหตุ (if clause) และประโยคผล (result clause) ใช้กับ tense อะไร ก็ขอให้นึกถึงประโยคพื้นฐานทั้ง 3 ประโยคนี้
1) Do you mind if I smoke?
2) If I were you, I would call her.
3) I would have watched that movie.
แล้วเราก็จะนึกออกทันทีว่าประโยคเหตุ และประโยคผล ต้องใช้กับ tense อะไร