วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2558

Sino-Portuguese ตึกแถวสไตล์จีน-โปรตุเกสในจังหวัดภูเก็ต

วันนี้นำเรื่องราวเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสไตล์จีนๆมาเป็นไอเดียในการตกแต่งภายในบ้าน และอาจนำไปประยุกต์ใช้เป็นแบบในการสร้างบ้านในต่อๆไปได้ ซึ่งคราวนี้มีหนุ่ม Interior Design (นักเขียนรับเชิญ) มาแนะนำไอเดีย ให้ข้อมูลและเล่าเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับ “ตึกแถวสไตล์จีน-โปรตุเกส” Sino-Portuguese แค่หัวข้อก็น่าสนใจแล้ว ใช่มั๊ยหล่ะ งั้นมาดูในรายละเอียดกัน ณ บัดนาว
“หากใครได้เคยเดินทางไปจังหวัดภูเก็ตแล้ว คงเคยเห็นอาคารที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะที่ไม่เหมือนที่ไหน อาคารที่มีรูปแบบดังกล่าวเรียกว่า สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส Sino Portuguese”
ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบนี้จะเป็นรูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมยุโรบโดยชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายในแหลมมลายู และได้นำเอาเทคนิค วิทยาการในรูปแบบของตนมาเผยแพร่ และได้ให้ช่างชาวจีนที่อยู่ในพื้นที่นำผังดังกล่าวไปสร้างต่อ ลักษณะสถาปัตยกรรมจึงผิดเพี้ยนไปจากรูปแบบเดิม โดยมีปรุงแต่งสถาปัตยกรรมให้เข้ากับความเชื่อและรสนิยมและปรับตัวอาคารให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศอีกด้วย
สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส เป็นอาคาร 2 ชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งทีอยู่อาศัย ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอยเป็น 5 ส่วน ด้านหน้าสุดเป็นร้านค้าหรือสำนักงาน ถัดเข้าไปเป็นห้องรับแขก ห้องพักผ่อน ห้องอาหารและห้องครัว
ภายในมีลานโล่งมีการเจาะช่องแสงจากด้านบนเพื่อการระบายอากาศพร้อมบ่อน้ำบาดาลสำหรับให้ไอน้ำระเหยขึ้นมาทำให้อากาศภายในเย็นสบาย ซึ่งมีเรียกว่า “ฉิ่มแจ้” คือการเจาะช่องอากาศกลางตัวบ้านนั่นเอง
จากรูป – แบบดั้งเดิมขอสถาปัตยกรรมจีนที่มีการนำมาประยุกต์ใช้ในสไตล์จีนร่วมสมัยแบบ Sino-Portuguese
ส่วนชั้นสองเป็นห้องนอน ด้านหน้าอาคารเป็นทางเดินมีส่วนของชั้นสองคลุมอยู่ตลอดแนวเชื่อมทุกอาคารให้เป็นทางเดินที่ต่อเนื่องกัน เรียกว่า อาเขต  นับเป็นสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับ สภาพภูมิอากาศอีกทั้งยัง แสดง ให้เห็นถึงความเอื้ออาทร ของเจ้าของบ้านกับผู้สัญจร ที่ชั้นสองด้านหน้าอาคารเน้นการ เจาะช่องหน้าต่างเป็น ซุ้มโค้งคูหาละสามช่อง ขนาบข้างด้วยเสาแบบกรีก และโรมัน บนพื้นผนังตกแต่งด้วยลายปูนปั้นทั้งแบบจีน และ ตะวันตก ผสมกันอย่างลงตัว สามารถเดินชมได้ทั่วทั้งถนนถลาง ดีบุก พังงา กระบี่และเยาวราชนอกจากนี้ย่าน โคมเขียว โคมแดงในอดีตที่ซอยรมณีย์ก็มีตึกสีสันสวยแปลกตากว่าถนนไหนๆ

ยอดมนุษย์
vadgo.jpg (12849 bytes)

วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama)

                การค้นหาเส้นทางเดินเรือจากยุโรปมายังเอเซีย เริ่มโดน ดีแอส และ ดีโอโก แคม แต่ภาระนี้ได้สำเร็จลงโดย วาสโก ดา กามา นักเดินเรือชาวโปรตุเกส
               วาสโก ดา กามา ได้ตั้งต้นจากลิสบอน และแล่นเรือไปยังหมู่เกาะเคปเวอร์ด โดยแล่นไปทางใต้อ้อมแหลมกู้ดโฮป ไปตามชายฝั่งตะวันออกไกลไปทางเหนือจนมาถึงมาลีนดี (คีนยา) เขาได้ข้ามมหาสมุทรอินเดีย   และในปีค.ศ. 1498 ก็ได้บรรลุ ถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย   และในปี ค.ศ.1499 เขาก็เดินทางกลับโปรตุเกส และได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ เขาเดินทางไปอินเดียอีกสองครั้ง ในปี ค.ศ.1502 และค.ศ. 1524.

ตูร์เดอฟร็องส์

ตูร์เดอฟร็องส์ (Tour de France)
ชื่อท้องถิ่นเลอตูร์เดอฟร็องส์
(Le Tour de France)
ภูมิภาคฝรั่งเศสและประเทศใกล้เคียง
วันที่7 ถึง 26 กรกฎาคม (ค.ศ. 2009)
ประเภทStage Race (Grand Tour)
General DirectorChristian Prudhomme
ประวัติ
แข่งขันครั้งแรกค.ศ. 1903 (พ.ศ. 2446)
จำนวนการแข่งขัน96 (ค.ศ. 2009)
ผู้ชนะคนแรกฝรั่งเศส โมรีซ กาแรง
ผู้ชนะล่าสุดสเปน อัลเบอร์โต้ คอนทาดอร์(2009)
Most career Yellow Jerseysเบลเยียม เอดดี เมิกซ์ (96) (111 overall incl. half stages)
ชนะแต่ละช่วงมากที่สุดเบลเยียม เอดดี เมิกซ์ (34)

Bradley WigginsCadel EvansAndy SchleckCarlos SastreAlberto ContadorÓscar PereiroMarco PantaniJan UllrichBjarne RiisMiguel InduráinPedro DelgadoStephen RocheGreg LeMondLaurent FignonJoop ZoetemelkBernard HinaultLucien van ImpeBernard ThévenetLuis OcañaEddy MerckxJan JanssenRoger PingeonLucien AimarFelice GimondiGastone NenciniFederico BahamontesCharly GaulJacques AnquetilRoger WalkowiakLouison BobetHugo KobletFerdinand KublerFausto CoppiJean RobicWorld War IIGino BartaliRoger LapébieSylvère MaesRomain MaesGeorges SpeicherAntonin MagneAndré LeducqMaurice de WaeleNicolas FrantzLucien BuysseOttavio BottecchiaHenri PélissierLéon ScieurFirmin LambotWorld War IPhilippe ThysOdile DefrayeGustave GarrigouOctave LapizeFrançois FaberLucien Petit-BretonRené PottierLouis TrousselierHenri CornetMaurice Garin
Bicycle-icon.png ตูร์เดอฟร็องส์ (ฝรั่งเศสTour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากร็องด์บุกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
ตูร์เดอฟร็องส์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ
การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L'Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส
ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศส
การแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ

สีเหลือง (maillot jaune - yellow jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุด

สีเขียว (maillot vert - green jersey) สำหรับผู้ที่มีคะแนนรวมสูงที่สุด (the leader of the points classification)

สีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges - polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains

สีขาว (maillot blanc - white jersey) สำหรับผู้ที่ทำเวลารวมได้น้อยที่สุดสำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 26 ปี

สีรุ้ง (maillot arc-en-ciel - rainbow jersey) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (World Cycling Championship) ซึ่งมีกฎว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่

เสื้อแบบพิเศษ สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด และชนะการแข่งขันช่วงย่อย และจ้าวภูเขา

ผู้ชนะเลิศ[แก้]

รายชื่อผู้ชนะเลิศตั้งแต่ครั้งแรกในภาษาอังกฤษอยู่ทางด้านขวา
ก่อนหน้าที่แลนซ์ อาร์มสตรอง นักแข่งจักรยานชาวอเมริกันจะถูกตัดสิทธิ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 จากข้อหาใช้สารกระตุ้น เขาเป็นผู้ที่ชนะการแข่งขันตูร์เดอฟร็องส์มากที่สุด คือ 7 สมัยติดต่อกัน ปัจจุบันผู้ที่ชนะการแข่งขันมากที่สุดเป็นสถิติร่วมระหว่างนักแข่ง 4 คน คือ มีเกล อินดูเรน (สเปน) ชนะ 5 สมัยติดต่อกัน แบร์นาร์ อีโนล (ฝรั่งเศส) ชาก อองเกอตีล (ฝรั่งเศส) และเอดดี เมิกซ์ (เบลเยียม) ชนะคนละ 5 สมัย

ผู้ชนะเลิศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991[แก้]

การแข่งขันครั้งที่ปี ค.ศ.ผู้ชนะเลิศ
78-821991-1995 มีเกล อินดูเรน (5 ปีติดต่อกัน)
831996 บียานร์น รีส์*
841997 แยน อุลริช
851998 มาร์โก แพนตานี
86-921999-2005ไม่มีผู้ชนะ ( แลนซ์ อาร์มสตรอง ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากใช้สารกระตุ้น)
932006 โอสการ์ เปเรย์โร ( ฟลอยด์ แลนดิส ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากใช้สารกระตุ้น[1])
942007 อัลเบอร์โต คอนทาดอร์
952008 คาร์ลอส ซาสเตร
  • ในปี 2007 บียานร์น รีส์ ยอมรับว่าได้ใช้สารกระตุ้นระหว่างการแข่งขันทำให้ผู้จัดการแข่งขันปฏิเสธที่จะยอมรับสถานะผู้ชนะเลิศของเขา ทว่าสหพันธ์จักรยานสากล (Union Cycliste Internationale - UCI) แถลงว่าหมดเวลาที่จะตัดสิทธิ์เขาจากการเป็นผู้ชนะเลิศ จึงเพียงแต่ขอร้องให้เขาคืนเสื้อสีเหลืองที่แสดงสถานะของการเป็นผู้ชนะเลิศ [2]



                                                                                                                                                                     
ซิกมุนด์ ฟรอยด์
Sigmund Freud, by Max Halberstadt, 1914
วันที่เกิดSigismund Schlomo Freud
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1856
Freibergโมราเวีย ออสเตรีย-ฮังการี(ปัจจุบันคือ สาธารณรัฐเช็ก)
วันที่เสียชีวิต23 กันยายน ค.ศ. 1939 (83 ปี)
ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร
เมืองที่อาศัยออสเตรีย, สหราชอาณาจักร
เชื้อชาติออสเตรีย
กลุ่มวัฒนธรรมยิวอัชเคนาซิ
สาขาประสาทวิทยา
ปรัชญา
จิตเวชศาสตร์
จิตวิทยา (สำนักคิดจิตวิเคราะห์)
จิตบำบัด
วรรณกรรม
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยเวียนนา
สถาบันการศึกษาที่เรียนมหาวิทยาลัยเวียนนา
งานที่เป็นที่รู้จักจิตวิเคราะห์
มีอิทธิพลต่อJohn Bowlby
Viktor Frankl
Anna Freud
Ernest Jones
คาร์ล ยุง
Melanie Klein
Jacques Lacan
Fritz Perls
Otto Rank
Wilhelm Reich
ได้รับอิทธิพลจากArthur Schopenhauer
Friedrich Nietzsche
Jean-Martin Charcot
Josef Breuer
รางวัลที่ได้รับรางวัลเกอเธ
วุฒิบัณฑิตราชสมาคมแห่งลอนดอน
ศาสนาอศาสนา

ความคิด[แก้]

จิตไร้สำนึก[แก้]

ดูบทความหลักที่: จิตไร้สำนึก
มโนทัศน์จิตไร้สำนึกเป็นศูนย์กลางการบรรยายจิตของฟรอยด์ ฟรอยด์เชื่อว่า กวีและนักคิดผิวขาวรู้ถึงการมีอยู่ของจิตไร้สำนึกมานานแล้ว เขามั่นใจว่า จิตไร้สำนึกได้รับการรับรองอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในสาขาจิตวิทยา อย่างไรก็ดี มโนทัศน์ดังกล่าวปรากฏขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในงานเขียนของฟรอยด์ ครั้งแรกถูกเสนอมาเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์การกดเก็บ เพื่ออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นต่อความคิดซึ่งถูกกดเก็บ ฟรอยด์ระบุชัดเจนว่า มโนทัศน์จิตไร้สำนึกอาศัยทฤษฎีการกดเก็บ เขาตั้งสมมุติฐานวัฏจักรที่ความคิดถูกกดเก็บ แต่ยังคงอยู่ในจิต โดยนำออกจากความรู้สึกตัวแต่ยังเกิดผลอยู่ แล้วกลับมาปรากฏในความรู้สึกตัวอีกครั้งภายใต้กรณีแวดล้อมบางประการ สมมุติฐานดังกล่าวอาศัยการสืบค้นผู้รับการรักษา traumatic hysteria ซึ่งเปิดเผยผู้รับการรักษาที่พฤติกรรมของผู้ป่วยไม่สามารถอธิบายได้โดยไม่อ้างอิงถึงความคิดที่พวกเขาไม่มีสติ ข้อเท็จจริงนี้ ประกอบกับการสังเกตว่า พฤติกรรมเช่นนั้น มนุษย์อาจชักนำให้เกิดได้โดยการสะกดจิต ซึ่งความคิดจะถูกใส่เข้าไปในจิตของบุคคล แนะนัยว่า แนวคิดเกิดผลอยู่ในผู้รับการรักษาดั้งเดิม แม้ว่าผู้รับการทดลองจะไม่ทราบถึงความคิดนั้นก็ตาม

ฝัน[แก้]

ดูบทความหลักที่: ฝัน
ฟรอยด์เชื่อว่า หน้าที่ของฝันคือ การรักษาการนอนหลับโดยแสดงภาพความปรารถนาที่สมหวัง ซึ่งหาไม่แล้วจะปลุกผู้ฝัน[7]

พัฒนาการความต้องการทางเพศ[แก้]

ฟรอยด์เชื่อว่า libido หรือความต้องการทางเพศนี้พัฒนาขึ้นในปัจเจกบุคคลโดยการเปลี่ยนแปลงวัตถุ กระบวนการซึ่งประมวลโดยมโนทัศน์การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ (sublimation) เขาแย้งว่า มนุษย์เกิดมา "วิตถารหลายรูปแบบ" หมายความว่า วัตถุใด ๆ ก็เป็นแหล่งความพึงพอใจได้ เขายังแย้งต่อไปว่า เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้น พวกเขาจะติดข้องในวัตถุต่าง ๆ ผ่านขั้นพัฒนาการของเขา ได้แก่ ขั้นปาก ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของทารกในการเลี้ยงดู ขั้นทวารหนัก ยกตัวอย่างเช่น ความพึงพอใจของเด็กเล็กในการถ่ายที่กระโถนของตน แล้วมาสู่ขั้นอวัยวะเพศ ในขั้นอวัยวะเพศนี้ ฟรอยด์ยืนยันว่า ทารกชายจะติดข้องต่อมารดาของตนเป็นวัตถุทางเพศ (รู้จักในชื่อ ปมเอดิเพิส) ระยะซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการขู่ว่าจะตอน (castration) ซึ่งส่งผลให้เกิด ปมการตอน อันเป็นแผลที่ร้ายแรงที่สุดในชีวิตวัยเยาว์ของเขา[8] ในงานเขียนภายหลังของเขา ฟรอยด์ได้ตั้งสมมุติฐานถึงสถานการณ์ที่เทียบเท่ากับปมเอดิปุสในทารกหญิง โดยเป็นการติดข้องทางเพศอยู่กับบิดาของตน[9] เรียกว่า "ปมอิเล็กตรา" ในบริบทนี้ แม้ว่าฟรอยด์จะมิได้เสนอคำดังกล่าวเองก็ตาม พัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นแฝงอยู่ก่อนพัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นสนใจเพศตรงข้าม เด็กต้องการได้รับความพึงพอใจในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละขั้นเพื่อที่จะก้าวสู่ขั้นพัฒนาการต่อไปอย่างง่ายดาย แต่การได้รับความพึงพอใจน้อยหรือมากเกินไปอาจนำไปสู่การติดข้องในขั้นนั้น และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมถดถอยกลับไปยังขั้นนั้นในชีวิตภายหลังได้[10]

อิด อัตตาและอภิอัตตา[แก้]

ดูบทความหลักที่: อิด อัตตาและอภิอัตตา
"อิด" (id) เป็นส่วนของจิตใจที่ไร้สำนึก หุนหันพลันแล่นและเหมือนเด็กซึ่งปฏิบัติการบน "หลักความพึงพอใจ" และเป็นแหล่งที่มาของแรงกระตุ้นและแรงขับพื้นฐาน อิดแสวงความต้องการและความพึงพอใจทันที[10] ส่วนอภิอัตตา (superego) เป็นองค์ประกอบทางศีลธรรมของจิตใจ ซึ่งพิจารณาว่า ไม่มีกรณีแวดล้อมพิเศษใดที่สิ่งที่ถูกต้องทางศีลธรรมอาจไม่ถูกต้องต่อสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น อัตตา (ego) ที่ปฏิบัติการอย่างเป็นเหตุเป็นผล พยายามรักษาสมดุลระหว่างการแสวงความพึงพอใจของอิดและการเน้นศีลธรรมของอภิอัตตาซึ่งปฏิบัติไม่ได้จริง อัตตาเป็นส่วนของจิตใจที่โดยปกติสะท้อนโดยตรงในการแสดงออกของบุคคลมากที่สุด เมื่อรับภาระหนักเกินไปหรือถูกคุกคามจากหน้าที่ของอัตตา มันจะใช้กลไกป้องกันตนเอง ซึ่งรวมถึงการปฏิเสธ การกดเก็บและการย้ายที่ มโนทัศน์นี้โดยปกติแสดงภาพโดย "แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง"[11] แบบจำลองนี้แสดงบทบาทของอิด อัตตาและอภิอัตตาตามความคิดเกี่ยวกับ ภาวะรู้สำนึกและไม่รู้สำนึก
ฟรอยด์เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างอัตตากับอิดว่าเหมือนสารถีกับม้า โดยม้าเป็นพลังงานและแรงขับ ส่วนสารถีคอยชี้นำ[10]