วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เฉลยหลักการใช้ Present Participle (v-ing)ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
Present participle คืออะไรและทำหน้าที่อะไร?
    Present participle ก็คือ คำกริยา + ing หรือ v-ing เช่น being; having; doing; going; coming; playing เป็นต้น โดยจะทำหน้าที่ 2 ประการคือ 1) เป็น predicative adjunct 2) เป็น adjective

    Present participle หรือ v-ing นี้ มักแฝงนัยของการ ‘กำลังเกิดขึ้น’ อยู่เสมอ ไม่ว่า
v-ing จะทำหน้าที่อะไร

    และไม่ว่า tense ที่เราใช้จะเป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต v-ing ที่เราใช้ก็จะแสดง
ว่า ‘กำลังเกิดขึ้น’ ทั้งสิ้น นั่นคือ กำลังเกิดขึ้นในอดีต หรือกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือกำลัง
เกิดขึ้นในอนาคต ตาม tense ที่เราใช้นั่นเอง
ประเภทของ present participle
    Present participle แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

    1. Present participle แบบสำเร็จรูป
    2. Present participle แบบสร้างเอง
Present Participle แบบสำเร็จรูป
    Present participle (v-ing) แบบสำเร็จรูปก็คือ present participle ที่นักภาษา
ศาสตร์กำหนดขึ้นมาเป็นแบบสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้ทันที
    Present participle (v-ing) แบบสำเร็จรูปแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
    1. คำกริยา vi + v-ing
    2. คำกริยา vt + object + v-ing
1. คำกริยา vi + v-ing

    คำกริยา vi + v-ing ก็คือคำกริยา vi แสดงกิริยาอาการต่างๆที่ได้รับการกำหนดมา
ให้ใช้คู่กับ v-ing ดังต่อไปนี้


    –come doing sth = มาพร้อมกับทำบางสิ่งไปด้วย
        –Our kids came running to us.
          ลูกๆวิ่งมาหาพวกเรา
    –go doing sth = ไปพร้อมกับทำบางสิ่งไปด้วย
        –Would you like to go fishing with us?
            เธออยากไปตกปลากับพวกเราไหม?
    –lie doing sth = นอนพร้อมกับทำบางสิ่งไปด้วย
        –I lie reading a book.
            ฉันนอนอ่านหนังสือ
    –sit doing sth = นั่งพร้อมกับทำบางสิ่งไปด้วย
        –I sit sipping my coffee.
            ฉันนั่งจิบกาแฟ
    –stand doing sth = ยืนพร้อมกับทำบางสิ่งไปด้วย
        –The boy stood eating an ice-cream.
            เด็กชายยืนกินไอสครีม
    Present participle (v-ing) ในกรณีนี้ ทำหน้าที่เป็น predicative adjunct นั่นคือ ‘คำกริยาเสริมที่ใช้ขยายความคำกริยาหลักของประโยคว่า นอกจากคำกริยาหลักจะแสดง
กิริยาอาการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ยังแสดงกิริยาอาการอย่างอื่นด้วย’

    เช่น I sit sipping my coffee. ก็แสดงว่า I ไม่ได้ sit อย่างเดียว แต่
ได้ sipping my coffee ไปด้วยนั่นเอง
    โดยหลักการ เราไม่สามารถนำเอา v-ing หรือ predicative adjunct นี้ ไปใช้กับคำ
กริยา vi ใดๆได้ตามใจชอบ หากต้องใช้ตามที่นักภาษากำหนดมาให้นี้เท่านั้น และคำกริยา
vi ที่ใช้กับ v-ing ที่ใช้กันบ่อยๆก็มีอยู่ 5 คำข้างต้นนั่นแหละครับ คือ come, go, lie, sit
และ stand

ข้อควรทราบ
    ยังมีการใช้ ‘คำกริยา + v-ing’ อยู่อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่ง v-ing จะทำหน้าที่เป็น gerund
ไม่ใช่ predicative adjunct เช่น Children like playing in the yard. = เด็กๆชอบ
การเล่นในสนามหญ้า playing ในที่นี้ทำหน้าที่เป็น gerund ที่เป็นกรรมของคำกริยา like
(โปรดดูบทความ gerund ได้ตาม link ด้านซ้ายมือนี้)
2. คำกริยา vt + object + v-ing

    คำกริยา vt + object + v-ing คือ คำกริยา vt ที่ได้รับการกำหนดมาให้เราสามารถ
วาง v-ing ไว้ท้ายกรรมของคำกริยา vt นั้นๆได้ และ v-ing ก็จะทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์
ขยายความกรรมนั้นๆไป
โดยอัตโนมัติ เช่น

   –I saw my mom cooking lunch.
       ฉันได้เห็นแม่ของฉันกำลังปรุงอาหารกลางวัน
   ในประโยคนี้ cooking lunch ขยายความ my mom (ซึ่งเป็นกรรมของคำกริยา saw)โดยอัตโนมัติ
    คำกริยา vt + object ที่ได้รับการกำหนดมาให้ใช้ v-ing ขยายความ object ได้ มักได้แก่คำกริยาที่แสดงประสาทสัมผัสและการรับรู้ รวมทั้งคำกริยาอื่นๆดังต่อไปนี้

คำกริยาแสดงประสาทสัมผัสและการรับรู้
–feel sth doing sth = รู้สึกได้ว่าบางสิ่งกำลังเกิดขึ้น
–hear sb/sth doing sth = ได้ยินบางคนกำลังทำบางสิ่ง/บางสิ่งกำลังเกิดขึ้น
–imagine sb doing sth = จินตนาการว่าบางคนกำลังทำบางสิ่ง

–remember sb doing sth = จดจำได้ว่าบางคนทำบางสิ่งไว้
–see sb doing sth = เห็นบางคนกำลังทำบางสิ่ง
–watch sb doing sth = เฝ้าดูบางคนกำลังทำบางสิ่ง
–smell sth doing sth = ได้กลิ่นบางสิ่งกำลังเกิดขึ้น
–understand sb doing sth = เห็นใจที่บางคนกำลังประสบกับบางสิ่ง
คำกริยาอื่นๆ
    –catch sb/sth doing sth = จับได้ว่าบางคนกำลังทำบางสิ่ง

    –find sb doing sth = พบว่าบางคนกำลังทำบางสิ่ง

    –get sb/sth doing sth = ทำให้บางคน/บางสิ่งกำลังทำบางสิ่ง

    –have sb doing sth = ทำให้บางคนทำบางสิ่ง

    –keep sb/sth doing sth = ทำให้บางคน/บางสิ่งกำลังทำบางสิ่ง

    –leave sb doing sth = ปล่อยให้บางคนกำลังทำบางสิ่งตามลำพัง

    –like sb doing sth = ยินยอมให้บางคนทำบางสิ่ง

    –mind sb doing sth = ไม่พอใจที่บางคนกำลังทำบางสิ่ง

    –prevent sb doing sth = ขัดขวางบางคนไม่ให้ทำบางสิ่ง/ไม่ให้บางสิ่ง
                                               เกิดขึ้น

    –stop sb doing sth = ขัดขวางบางคนไม่ให้ทำบางสิ่ง/ไม่ให้บางสิ่งเกิดขึ้น

    –sent sb/sth doing sth = ทำให้บางคน/บางสิ่งเคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็ว
    –set sb/sth doing sth = ทำให้บางคน/บางสิ่งทำบางสิ่ง

    –spend sth doing sth = ใช้เวลา/เงินทองทำบางสิ่ง
    –start sb doing sth = ทำให้บางคนเริ่มทำบางสิ่ง
–(can’t) bear sb doing sth = (ไม่สามารถ) ทนเห็นบางคนกำลังทำบางสิ่ง
    โดยหลักการ เราไม่สามารถสร้าง v-ing ขึ้นมาขยายกรรมของคำกริยา vt ใดๆได้เอง
แต่ต้องใช้ไปตามที่นักภาษาศาสตร์กำหนดไว้ให้เท่านั้น ท่านผู้อ่านจึงจำเป็นต้องท่องจำ
ว่า มีคำกริยา vt คำใดบ้างที่เราสามารถนำ v-ing มาขยายความกรรมของ vt นั้นๆได้
เพื่อจะได้ใช้ได้ถูกต้องในแบบเจ้าของภาษา
ลักษณะเฉพาะของ spend sth doing sth

    คำกริยา vt ที่ใช้กับ v-ing นั้น v-ing จะขยายความกรรมของ vt นั้นๆโดยอัตโนมัติ
ตามที่ถูกกำหนดมา แต่คำกริยา vt ‘spend’ จะแตกต่างจากคำกริยา vt + object +
v-ing อื่นๆตรงที่ v-ing จะทำหน้าที่ขยายทั้งกรรมและประธานของประโยคไปในเวลาเดียว
กัน ดังนี้

    –He spent his weekend staying with his family.

    –They always spend their leisure time surfing English websites.
    –The bank spent fifty million baht improving its systems.
Present Participle (v-ing) แบบสร้างเอง
นอกเหนือจาก present Participle (v-ing) แบบสำเร็จรูปข้างต้นแล้ว เรายังสามารถ
สร้าง v-ing ขึ้นใช้เองได้อีกด้วย นั่นคือ ‘present participle แบบสร้างเอง’ 
บทบาทของ ‘present participle แบบสร้างเอง ในไวยากรณ์อังกฤษ
    ‘Present participle แบบสร้างเอง’ จะมีบทบาทสำคัญก็คือ การทำให้การใช้โครง
สร้างประโยคที่มี present participle เข้ามาเกี่ยวข้องมีความคล่องตัวไม่ติดขัดด้วยข้อ
จำกัดของ ‘present participle แบบสำเร็จรูป’
    ‘Present participle แบบสร้างเอง’ จึงช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องคอยพะวงว่าการใช้
present participle ของตนจะผิดหลักไวยากรณ์หรือไม่ เพราะผู้ใช้มีทางเลือกว่าจะเลือก
ใช้ ‘แบบสร้างเอง’ หรือ ‘แบบสำเร็จรูป’ ได้ ตามสถานการณ์การใช้ของตน
    เราสามารถใช้ ‘present participle แบบสร้างเอง’ ได้ 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
      
1.  การใช้ v-ing ขยายคำนาม

การใช้ v-ing ขยายคำนามจะมีอยู่ 4 วิธีดังนี้
1.1 ใช้ v-ing นำหน้าคำนาม

      –The rising sun.
        พระอาทิตย์ที่กำลังขึ้น


1.2 ใช้ v-ing ขยายประธาน

      A man owning that shop is her father.
        ผู้ชายคนที่กำลังเป็นเจ้าของร้านนั้นเป็นบิดาของเจ้าหล่อน

1.3 ใช้ v-ing ขยายกรรมของบุพบท

       –I’m sick of him trying to flirt me.
          
ฉันเบื่อเขาที่คอยมาจีบฉัน
      –We relied on our parents sending us money every month.                เราอาศัยพ่อแม่ของเราในการส่งเงินมาให้ใช้ทุกเดือน
1.4 ใช้ v-ing ขยายคำนามที่แสดงตัวตนของประธาน

     เราสามารถ v-ing ขยายคำนามที่แสดงตัวตนของประธานได้ ดังนี้

      –My girlfriend is one of musicians playing flutes in that band.
        แฟนสาวฉันคือหนึ่งในนักดนตรีที่กำลังเล่นฟลุตในวงดนตรนั่น
          [one of musicians คือตัวตน (subjective complement) ของ My girl-    
           friend]


      –He appeared to like no man having date with his daughter.
        เขาดูเหมือนจะชอบไม่ให้มีใครมามีนัดกับลูกสาวของตน
          [to like no man คือตัวตน (subjective complement) ของ He]
2.  การใช้ v-ing แสดงการกระทำของประธานที่เกิดขึ้นพร้อม
  กับกริยาหลักของประโยค
    แม้ว่าเราจะไม่สามารถนำเอา v-ing หรือ predicative adjunct ไปใช้กับคำกริยา vi
ใดๆได้ตามใจชอบ ดังได้กล่าวไว้ใน present participle แบบสำเร็จรูป แต่เราก็สามารถ
ใช้ present participle แสดงการกระทำของประธานที่เกิดขึ้นพร้อมกับกริยาหลักของ
ประโยคได้ โดยสามารถใช้ได้กับทั้งประธานของทั้งคำกริยา vi และคำกริยา vt

    การใช้ ‘present participle แบบสร้างเอง’ ในข้อนี้ present participle จะทำหน้า
ที่เป็น ‘คุณศัพท์’
 เช่นเดียวกับการใช้ในข้อ 1.

    และการใช้ในข้อ 2. นี้มักนิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูดครับ
    2.1 การใช้ v-ing กับประธานของคำกริยา vi 
 
    เราสามารถใช้ v-ing กับประธานของคำกริยา vi เพื่อแสดงการกระทำของประธาน
ที่เกิดขึ้นพร้อมกับกริยาหลัก (คำกริยา vi) ของประโยคได้ ดังนี้
    –She was on the phone to her friend, watching TV.

    ประโยคนี้มีความหมายว่า ‘เจ้าหล่อนคุยโทรศัพท์กับเพื่อนพร้อมกับกำลังดูโทรทัศน์ไป
ด้วย’ ขอให้สังเกตว่าหน้า watching TV จะต้องมีเครื่องหมาย comma (,) อยู่ด้วย เพื่อ
แสดงว่า watching TV แสดงการกระทำของ She ไม่ใช่ her friend

    ดังนั้น ถ้าเราไม่ใส่ comma หน้า watching TV  เช่น

    –She was on the phone to her friend watching TV.

ก็จะกลายเป็นว่า watching TV ขยายความ her friend แทน ตามการใช้ในข้อที่ 1.3
    อย่างไรก็ตาม ถ้าคำนามที่อยู่หน้า watching TV นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการ watching
TV เลย เราก็ไม่จำเป็นต้องใส่ comma ก็ได้ เช่น

    –She played with her dog watching TV.
      เจ้าหล่อนเล่นกับเจ้าตูบขณะที่ตัวเองกำลังดูโทรทัศน์ไปด้วย

     
กระนั้นก็ดี นักภาษศาสตร์มักจะแนะนำว่า เราควรจะวาง v-ing ไว้หน้าประโยคจะเป็น
การดีที่สุดเพื่อแสดงว่า v-ing นั้นเกี่ยวข้องกับประธานโดยตรงไม่ใช่คำนามคำอื่นดังนี้

    –Watching TV, she played with her dog.

    แต่เจ้าของภาษาเองไม่ค่อยเชื่อคำแนะนำนี้ซักเท่าไหร่ จึงมักนิยมวาง v-ing ไว้ท้าย
ประโยค ดังประโยคตัวอย่างต่อไปนี้

    –He stood up, smiling at me.

    –I’m being on YouTube listening to music.

    –I looked out of the window, thinking of you.

    –They’re on the bus talking to each other.

    –
I will be right here waiting for you. (Richard Marx)
    ถ้าเราจะใช้ตามเจ้าของภาษาไม่ใช้ตามนักภาษาศาสตร์แนะนำ เราต้องระวังอย่าให้การ
ใช้ v-ing ของเราเกิดความกำกวมว่าขยายประธานหรือคำนามคำอื่นกันแน่ เช่น

    –He was having dinner with his girlfriend being on the phone.
    ประโยคนี้ being on the phone จะขยายความ his girlfriend ไม่ใช่การขยาย
ความหรือการแสดงกิริยาอาการของประธาน He
    ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้ being on the phone แสดงกิริยาอาการของประธาน He
เราก็ต้องใช้ว่า

    –He was having dinner with his girlfriend, being on the phone.

หรือ

    –Being on the phone, he was having dinner with his girlfriend.

ก็จะเป็นการชัดเจนว่า v-ing ขยายความประธาน he อย่างแน่นอน
    อนึ่ง v-ing มักไม่นิยมวางไว้หลังคำสรรพนามบุรุษที่ 1, 2 และ 3 เราจึงไม่ควรใช้ว่า
He being on the phone was having dinner with his girlfriend.

    2.2 การใช้ v-ing กับประธานของคำกริยา vt

    การใช้ v-ing กับประธานของคำกริยา vt นั้นมักนิยมวาง v-ing ไว้หน้าประโยค ดัง
ประโยคตัวอย่างต่อไปนี้

    –Reading a newspaper, I had breakfast.
      กำลังอ่านหนังสือพิมพ์...ฉันทานอาหารเช้าไปด้วย
    –Scolding the naughty boy, the old lady hit him.
      กำลังดุด่าเด็กชายซุกซนไป...สุภาพสตรีสูงอายุตีเด็กคนนั้นไปด้วย
    –Laughing at his teammates, the boy kicked the ball.
      กำลังหัวเราะให้กับเพื่อนร่วมทีม...เด็กชายเตะลูกฟุตบอวล์ไปด้วย
    –Walking along the street, I saw an accident.
      กำลังเดินไปตามถนน...ฉันได้เห็นอุบัติเหตุ 

    อย่างไรก็ตาม เราจะวางไว้ท้ายประโยคก็ได้เช่นกัน ดังนี้
    –I had breakfast, reading a newspaper.
      ฉันทานอาหารเช้า...พร้อมกับอ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วย

    –I saw an accident, walking along the street.
      ฉันได้เห็นอุบัติเหตุ...ขณะกำลังเดินไปตามถนน
   การกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน
    บางครั้งการใช้ present participle หรือ v-ing อาจไม่แสดงถึงการกระทำที่เกิดขึ้น
พร้อมกับคำกริยาหลักของประโยค แต่อาจแสดงถึงการกระทำของประธานที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง
กับคำกริยาหลักของประโยค
ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำกริยาที่เราเลือกมาใช้เป็น present
participle นั้นมีนัยความหมายว่ามักเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการกระทำอื่นนั่นเอง เช่น
    –Arriving home, the boy had something to eat hungrily.
      พอมาถึงบ้าน เด็กชายก็หาอะไรกินอย่างหิวโหย
ประโยคนี้จะมีความหมายว่า ‘เด็กชายกลับมาถึงบ้านก่อน แล้วจึงค่อยหาอะไรกิน’
    อย่างไรก็ตาม บางการกระทำหรือบาง v-ing อาจมีนัยความหมายในตัวเองว่าเป็นการ
กระทำที่เกิดขึ้นพร้อมกับคำกริยาหลักของประโยค เช่น
    –I am in the swimming pool, making a phone call.
ประโยคนี้แสดงว่า making a phone call เกิดขึ้นพร้อมกับ was in the swimming
pool ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน เราก็ต้องใช้คำบุพบท
before หรือ after มาช่วย
 ดังนี้
    –I am in the swimming pool before making a phone call.
      ผมอยู่ในสระว่ายน้ำ ก่อนที่จะขึ้นมาโทรศัพท์
    –I am in the swimming pool after making a phone call.
      ผมอยู่ในสระว่ายน้ำ หลังจากที่ได้ทำการโทรศัพท์แล้ว
    และในกรณีของ after นี้จะใช้ having + v3 แทนคำบุพบท after ก็ได้ โดยมักนิยม
วางไว้ข้างหน้า และคำกริยาในประโยคหลักก็ต้องเป็น past simple เสมอ ดังนี้
    –Having made a phone call, I was in the swimming pool.
      หลังจากได้ทำการโทรศัพท์ ผมก็ลงไปอยู่ในสระว่ายน้ำ
   การกระทำหลายการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน
    บางครั้งการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันอาจมีหลายการกระทำก็ได้ เช่น
–Arriving home, the boy had something to eat hungrily, getting sleepy.
พอมาถึงบ้าน เด็กชายก็หาอะไรกินอย่างหิวโหย แล้วก็รู้สึกง่วงนอน
   การลดรูป past continuous ลงเป็น present participle

    เราสามารถลดรูปของ past continuous ลงเป็น present participle ได้ดังนี้

    –He whistled while he was ironing. (past continuous)
    –He whistled, ironing. (present participle)

    โดยการลดรูปนี้มีเงื่อนไขว่าประธานของประโยคต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งในที่นี้คือ
he แต่ถ้าประธานของประโยคเป็นบุคคลคนละคนกัน เราไม่สามารถลดรูปได้ดังนี้

    –The doorbell rang while he was ironing. (past continuous)

    ประโยคนี้ประธานของประโยคเป็นบุคคลคนละคนกันคือ the doorbell กับ he เราจึง
ไม่สามารถลดรูปได้ ถ้าลดรูปลงเป็น present participle ก็จะผิดหลักไวยากรณ์ทันที ดังนี้

    The doorbell rang, ironing.
3. การใช้ v-ing แบบสร้างเองขยายความกรรมของคำกริยา vt

    แม้ว่าโดยหลักการ เราจะไม่สามารถนำเอา v-ing มาขยายความกรรมของคำกริยา vt
ใดๆได้ตามใจชอบ นอกเหนือจากที่นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดไว้ให้เราแล้ว

    แต่ในทางปฏิบัติ เราสามารถนำเอา v-ing มาขยายความกรรมของคำกริยา vt ใดๆก็
ได้ 
โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าขยายความแล้ว v-ing นั้นขยายความกรรมของคำกริยา vt นั้น
จริงๆไม่ใช่ขยายความประธานของประโยค
 ดังนี้

    –Earlier CCTV pictures showed 
Lily arriving at Waterloo station at
      about 5 pm the same day. 
(The Guardian)
      
กล้องวงจรปิดก่อนหน้านี้ได้แสดงว่าลิลีกำลังมาถึงสถานีวอเตอะร์ลูตอน 5 โมงเย็นในวันนั้น
    ตามปกติ นักภาษาศาสตร์ไม่ได้กำหนดให้กรรมของคำกริยา show ใช้กับ v-ing
ได้ แต่เราสามารถใช้ได้ ถ้าใช้แล้ว v-ing ขยายความกรรมของ show จริงๆดังประโยค
ตัวอย่างข้างต้น นั่นคือ arriving ขยายความกรรมคือ Lily อย่างแน่นอน ไม่ได้ขยาย
ความประธานคือ CCTV pictures
    ลองดูประโยคตัวอย่างอีก 2 ประโยคเป็นแนวทางครับ
    –Armed police guide a woman carrying a child to safety. (NYDailyNews)
      ตำรวจอาวุธพร้อมมือชี้ทางให้ผู้หญิงที่กำลังอุ้มเด็กให้ไปสู่ที่ปลอดภัย

    –As they walked, John spied only a few people moving among the      
      
massive buildings(K. P. Alexander, Artifice: Episode One)
        ขณะที่พวกเขาเดิน...จอห์นสังเกตเห็นผู้คนเพียง 2-3 คนเท่านั้นท่ามกลางมวลหมู่อาคารมโหฬารนั้น
   ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านจะใช้ v-ing มาขยายความกรรมของคำกริยา vt ใดๆ
เอาเอง ก็ต้องดูให้แน่ว่า v-ing ของเราขยายความกรรมนั้นจริงๆดังประโยค
ตัวอย่างที่ให้ไว้ข้างต้นครับ

ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ present participle แบบสร้างเอง
กับ to-infinitive แบบสร้างเอง


    บางการใช้ของ present participle (v-ing) แบบสร้างเอง กับ to-infinitive
(to-inf) แบบสร้างเอง จะมีลักษณะคล้ายกัน เช่น การใช้ v-ing และ to-inf ขยาย
ความประธาน เป็นต้น แต่การใช้นี้จะมีความหมายแตกต่างกัน ดังนี้

A) A man owning that shop is her father.
       ผู้ชายคนที่กำลังเป็นเจ้าของร้านนั้นเป็นบิดาของเจ้าหล่อน


B) A man to own that shop is her father.
       ผู้ชายคนที่เป็นเจ้าของร้านนั้นเป็นบิดาของเจ้าหล่อน


ประโยค A) และ B) มีข้อแตกต่างกันดังนี้

    ถ้าเราเลือกใช้ v-ing เพื่อขยายประธาน ก็แสดงว่าเราต้องการเน้นว่า ‘กำลังเกิดขึ้น’ ดังนั้น owning that shop จึงมีความหมายว่า ‘
ที่่กำลังเป็นเจ้าของร้าน’
    แต่ถ้าเราเลือกใช้ to-inf ก็แสดงว่าเราไม่ต้องการเน้นว่า ‘กำลังเกิดขึ้น’ ดังนั้น to own that shop จึงมีความหมายว่า ‘ที่เป็นเจ้าของร้าน’


สรุป 

   เนื้อหาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือ เคล็ดลับการใช้ present par-ticiple ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบสร้างเองในแบบที่เจ้าของภาษารู้

   ดังนั้น เมื่อถึงตรงนี้ก็แสดงว่า ท่านผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับ present
participle ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบสร้างเองในระดับเดียวกับเจ้าของ
ภาษาแล้ว

   ถ้าเช่นนั้น จะมัวรอช้าอยู่ทำไม จงรีบนำออกไปใช้ให้เป็นที่ล่ำลือกัน
เถิดว่า พวกเราคนไทยเก่งภาษาอังกฤษแล้ว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น