วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

 เก่งไวยากรณ์อังกฤษ (English grammar) 
  
ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของวิธีการคิดแบบ
วิทยาศาสตร์และตรรกวิทยา ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษจึงเปรียบเสมือนเกม
ปริศนาที่ถ้าเราสามารถไขปริศนาแรกได้แล้ว เราก็จะค่อยๆไขปริศนาที่เหลือ
ไปได้ทีละเปลาะๆเหมือนกับการเล่นเกมปริศนานั่นเอง
    เช่น ถ้าเราเข้าใจการใช้ to-infinitive, present participle และ
past participle เราก็จะเข้าใจการใช้ there, verb to be และ verb to
have ฯลฯ เป็นต้น
    การจะไขเกมปริศนาได้เราต้องมีกลเม็ด (trick) หรือมีกุญแจเพื่อใช้ไข
ปริศนาให้แตก
    คุณวงกต จันทพานิชอดีตอาจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ผู้ผันตัวเองมาเป็น
นักวิชาการอิสระด้านภาษาอังกฤษได้ใช้เวลาในการศึกษาภาษาอังกฤษมาเป็น
เวลานานหลายสิบปีจนกระทั่งได้ค้นพบกลเม็ดหรือกุญแจที่จะใช้ไขปริศนาของ
หลักไวยากรณ์อังกฤษต่างๆจนครบถ้วนทุกหลักไวยากรณ์ และได้นำมาเปิดเผย
ไว้ใน englishtrick.com ชุมชนภาษาอังกฤษแห่งนี้ อันจะทำให้ต่อไปนี้การ
ทำความเข้าใจไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของคนไทยจะกลายเป็นเรื่อง
ง่ายๆไปทันที

เพียง 5 tenses ก็เก่งภาษาอังกฤษได้แล้ว

ห้า tenses ที่ใช้บ่อย

   Present simple, present continuous, past simple, present perfect และ future simple คือ tenses ที่ใช้บ่อยมากทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน ดังนั้น จึงขอ
ให้ท่านผู้อ่านหมั่นทบทวน tense ทั้ง 5 tenses นี้ให้เข้าใจเป็นอันดีก่อนที่จะไปศึกษาอีก
7 tenses ที่เหลือ
 [tenses(B)]


                     
1. PRESENT SIMPLE TENSE
   The trick of using Present Simple is ‘fact’, so thing that is
true in your thought or in everyday life or in nature is present
simple.

   กลเม็ดหรือกุญแจของการใช้ present simple ก็คือ ‘ข้อเท็จจริง’ ดังนั้น:

   ๑. เหตุการณ์อะไรก็แล้วแต่ที่ตัวผู้ใช้เองคิดว่าเป็นจริง
   ๒. ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นปกติวิสัย (usually) เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (always) เกิดขึ้นบ่อยๆ (often) หรือข้อเท็จจริงที่เป็นจริงเสมอ (truth)
   ทั้งหมดนี้ เราใช้ในรูปของ present simple ได้ทั้งสิ้น ดังนี้
–These foods are so delicious.
–She is very attractive.
    –I’m Thai.
–James lives in Thailand with his wife.
–You look great.
–Tom seems tired.
–The light is on/off.
–They are musicians.

    Is more expensive always better?
–We always meet at Center Point on Sunday afternoon.
–Sally often calls home from work.
–The sun is the center of the solar system.
    –Some people still think the earth is flat.
2. PRESENT CONTINUOUS TENSE
    The trick of using Present Continuous is ‘is-happening’, so thing that ‘is happening’ in your mind is present continuous.
    กลเม็ดหรือกุญแจของการใช้ present continuous ก็คือ ‘กำลังดำเนิน
อยู่’ ดังนั้น เหตุการณ์อะไรก็ตามที่เราคิดว่ากำลังดำเนินอยู่ต่อหน้าหรือลับหลัง
เรา
 เราใช้ในรูปของ present continuous ได้ เช่น:
–I am clicking.
–The children are getting fat.
–I am googling the name I want to search for on the Internet.
–They are doing some shopping.
    –My roommate is talking with her guest downstairs.
    –Are you telling me that Jim is her new boyfriend?

    –I’m working for him.
–He is always making loud noise.
–The rain is pouring outside.
–The wind is blowing.
–The movie is showing in the theatre near you.
–This week the weather is changing.
–The temperature is rising today.

    –The universe is expanding.
–The world is being crazy.
–We are having fun.
    –Now I’m living in a big city.
ข้อแตกต่างของ Present Simple และ Present Continuous
    Present simple และ present continuous ต่างก็เป็น tense ที่แสดง ‘ความเป็น
ปัจจุบัน’ ด้วยกันทั้งคู่ แต่มีข้อแตกต่างกันคือ present simple เน้นที่ ‘ข้อเท็จจริงที่แฝง
นัยของความถาวรไว้’ ส่วน present continuous เน้นที่ ‘การกำลังดำเนินอยู่ที่แฝงนัย
ของลักษณะชั่วคราวหรือชั่วขณะหนึ่งไว้’
    ดังนั้น เมื่อเราใช้คำกริยาคำเดียวกันกับ tense ทั้ง 2 นี้ ความหมายของคำกริยานั้นก็จะ
มีความหมายและนัยที่แตกต่างกันทั้งๆที่เป็นคำกริยาคำเดียวกัน เช่น
    a) Some chimpanzees can think.
        ลิงชิมแปนซีบางตัวสามารถใช้หัวสมองคิดหาเหตุผลได้
    b) I am thinking.
        ผมกำลังใช้ความคิด
    ประโยค a) และ b) ใช้คำกริยา think คำเดียวกันแต่ต่าง tense กัน ผลก็คือ ‘can
think’ ซึ่งอยู่ในรูป present simple จะมีความหมายและนัยที่แสดงถึง ‘ข้อเท็จจริงและ
ความถาวร’ นั่นคือ ‘can think’ นี้ จะเป็นความถาวรที่ติดตัวลิงชิมแปนซีบางตัวตลอดไป
   ส่วน ‘am thinking’ ซึ่งอยู่ในรูป present continuous จะมีความหมายและนัยที่
แสดงถึง ‘การกำลังดำเนินอยู่และมีลักษณะชั่วขณะหนึ่ง’ นั่นคือ ‘am thinking’ นี้ จะมี
ลักษณะชั่วขณะหนึ่ง คือ อาจหยุดคิดและหันไปทำสิ่งอื่นต่อเมื่อใดก็ได้
    ลองไปดูอีกตัวอย่างครับ
    a) I live in a big city.
        ฉันตั้งรกรากเป็นการถาวรอยู่ในเมืองใหญ่
    b) I am living in a big city.
        ฉันกำลังเริ่มต้นใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่
ความหมายของ ‘ความถาวร’ ของ ‘present simple’
    ความหมายของ ‘ความถาวร’ ของ ‘present simple’ แบ่งเป็น 2 ความหมายคือ
    1) การครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน
    2) ความหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง
1) การครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน
    ความถาวรที่ ‘ครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน’ จะไม่คิดออกมาเป็นตัวเลข แต่เป็น
ที่รับรู้กันโดยนัยว่า ‘เป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน’

   เช่น I live in a big city. นั้น เมื่อเราพูดประโยคนี้ออกไป ผู้ฟังก็จะนึกภาพออกทันที
ว่า เราอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มานานแล้ว คือ ตั้งรกรากเป็นการถาวร นั่นเอง

    ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติต่างๆ แม้บางเหตุการณ์จะมีช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน
แต่ก็เป็นการ
เน้นที่การเปลี่ยนแปลง จึงใช้ในรูปของ ‘present continuous’ ไม่ใช้ในรูป
‘present simple’ เช่น The temperature is rising. The universe is expand-
ing. เป็นต้น
2) ความหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง
   ในบางสถานการณ์ความถาวรอาจหมายถึง ‘ความหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง (stative)’ โดยไม่มีช่วงระยะเวลาที่ยาวนานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ เช่น เรากล่าวชมผู้หญิงคนหนึ่ง
ว่า She is very attractive. ประโยค present simple นี้ก็จะแสดงเฉพาะข้อเท็จจริง
ที่เป็น ‘ความหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง’ ออกมา โดยไม่มีช่วงระยะเวลาที่ยาวนานเข้ามาเกี่ยว
ข้องด้วย
    อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์การใช้ present simple ก็จะแสดงนัยของ ‘ทั้งความ
หยุดนิ่งและช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน’ เช่น ถ้าเราเอาประโยค She is very attractive. ไปกล่าวชมภาพวาดโมนาลิซ่าซึ่งมีอายุหลายศตวรรษ is very attractive ก็จะแสดงนัย
ของ ‘ทั้งความหยุดนิ่งและช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน’ ออกมา
    นั่นคือ การที่ present simple จะแสดงเฉพาะข้อเท็จจริงที่เป็น ‘ความหยุดนิ่งไม่
เปลี่ยนแปลง’ เท่านั้น หรือแสดง ‘ทั้งความหยุดนิ่งและช่วงระยะเวลาที่ยาวนานด้วย’ ก็ขึ้น
อยู่กับว่าเราเอาประโยคของเราไปใช้ในสถานการณ์อะไรดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น
สรุป ‘หัวใจ’ ของ ‘present simple’
    Present simple ก็คือ ‘ข้อเท็จจริงที่แฝงนัยของความถาวรไว้’ โดยความถาวรนี้จะ
มีอยู่ 2 ความหมายคือ 1) การครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน และ 2) ความหยุดนิ่ง
ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนจะเป็นความหมายไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับประโยคที่เราใช้ในแต่ละสถาน
การณ์ 
    เช่น ถ้าประโยคที่เราใช้เป็น I live in a big city. ประโยคนี้ก็จะเป็นการแสดงถึง
ข้อเท็จจริงที่แฝงนัยของความถาวรที่ครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน
    แต่ถ้าประยคที่เราใช้เป็น She is very attractive. ประโยคนี้ก็จะเป็นการแสดงข้อ
เท็จจริงที่แฝงนัยของความถาวรที่เป็นความหยุดนิ่งไม่เปลี่ยนแปลง
    และเมื่อเราใช้ present simple ไปบ่อยๆเข้าการรับรู้ถึงนัยและความหมายดังกล่าว
นี้ก็จะค่อยๆเกิดขี้นเองโดยอัตโนมัติครับ

ความหมายของ ‘กำลังดำเนินอยู่’ ของ ‘present continuous’
    ความหมายของ ‘กำลังดำเนินอยู่’ ของ ‘present continuous’ จะครอบคลุมถึงการ ‘กำลังกระทำอยู่’ หรือ ‘กำลังเคลื่อนไหวอยู่’  หรือ ‘กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่’  ด้วย เช่น I am living in a big city. I’m working. The wind is blowing. The weather ischanging. เป็นต้น

    นั่นคือ เหตุการณ์อะไรก็แล้วแต่ที่เข้าข่าย ‘กำลังดำเนินอยู่/กำลังกระทำอยู่/กำลังเคลื่อน
ไหวอยู่/กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่’ เราสามารถใช้ในรูป ‘present continuous’ ได้หมด

กลเม็ดการใช้ ‘present simple’ และ ‘present continuous’ ใน
เชิงปฏิบัติ
    ในการใช้จริงหรือการใช้ในเชิงปฏิบัติของ ‘present simple’ และ ‘present
continuous’ จะมีดังนี้

    ถ้าเราคิดว่าเหตุการณ์อะไรก็แล้วแต่เป็น ‘ข้อเท็จจริง’ ก็ให้เราใช้คำกริยาของเราในรูป
‘present simple’ ได้ทันที ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ PRESENT SIMPLE TENSEข้างต้น ส่วนนัยแฝงที่เป็นความถาวรอันเป็นช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน หรืออันเป็นความหยุด
นิ่งไม่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ที่รับสารจากเราจะต้องไปตีความเอาเองครับ

    และถ้าเราคิดว่าเหตุการณ์อะไรก็แล้วแต่เป็นการ ‘กำลังดำเนินอยู่/กำลังกระทำอยู่/กำลัง
เคลื่อนไหวอยู่/กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่’ ก็ให้เราใช้คำกริยาของเราในรูป ‘present conti-
nuous’ ได้ทันที ส่วนนัยแฝงที่เป็นลักษณะชั่วคราวหรือชั่วขณะหนึ่งนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ที่
รับสารจากเราจะต้องไปตีความเอาเองอีกเช่นกัน
    อนึ่ง ในภาษาอังกฤษมีคำกริยาอยู่คำหนึ่ง คือ seem ที่นิยมใช้กับ ‘present simple’ และ ‘past simple’ เท่านั้น ไม่นิยมใช้กับ ‘present continuous’ หรือ ‘continuous tense’ อื่นๆ ดังนั้น เราอย่าเผลอใช้ seem ในรูป ‘continuous’ เข้าก็แล้วกัน
    แต่ถ้าจะใช้ seem เพื่อแสดงว่ากำลังดำเนินอยู่ ก็จะไม่ใช้  ‘continuous’ กับ seem โดยตรง แต่จะใช้กับคำกริยาคำอื่นแทนดังนี้
    –It seems that he is kissing her.
3. PAST SIMPLE TENSE
    The trick of using Past Simple is ‘happened-and-finished’, so things that ‘happened and finished’ in a second, in an hour or a week ago, etc. are all past simple.
   กลเม็ดหรือกุญแจของการใช้ past simple ก็คือ ‘ได้เกิดขึ้นและได้จบสิ้น
ไปแล้ว’ ดังนั้น เหตุการณ์อะไรก็ตามที่เราคิดว่าได้เกิดขึ้นและได้จบสิ้นไปแล้ว จะ
เมื่อ 1 วินาทีที่แล้ว, 1 ชั่วโมงที่แล้ว, 1 วันที่แล้ว, 1 สัปดาห์ที่แล้ว หรือ 1 เดือน
ที่แล้ว เราก็ใช้ในรูปของ past simple ได้ทั้งสิ้น โดยจะมีวิเศษณ์แสดงเวลาใน
อดีตอยู่ในประโยค
ด้วยหรือไม่ก็ได้ ดังนี้: 
–What did you say?
Did you see that girl who just walked past us?

    –He was dead yesterday.
–I met her last month.
–I came across my old friend on Wednesday evening.
–I bought this phone two weeks ago.
    –The company was established in 2001.
–She finished her study when her parents lived abroad.
    –Mary always watched TV after dinner.
–I sometimes drank coffee in the evening.
–Sir Alex often yelled at his own players.
–He used to smoke two packs of cigarette a day.
    –Sir Alex used to be a football coach.
–Beckham and Giggs would always play football together.
–She was shocked and started to cry.
    –This morning she worked at home.
        เมื่อเช้านี้เจ้าหล่อนทำงานอยู่ที่บ้าน
        (ขณะที่พูดประโยคนี้อยู่ในช่วงบ่ายหรือเย็น คือ เลยช่วงเช้ามาแล้ว) 
วิเศษณ์แสดงเวลาในอดีตของ past simple
    เราควรทราบไว้ด้วยว่าวิเศษณ์แสดงเวลาในอดีตของ past simple เช่น yesterday
หรือ last month ฯลฯ นั้น จะถูกพิจารณาเป็นเพียงแค่ ‘จุดหนึ่งของเวลาในอดีต’ เท่านั้น
    เมื่อเราใช้ประโยคของเราในรูป past simple ออกไป ก็แสดงว่าเราได้ผ่านพ้นจุดหนึ่ง
ของเวลาของ yesterday หรือ last month ฯลฯ มาแล้ว นั่นคือ yesterday หรือ last month ฯลฯ ‘ได้เกิดขึ้นและได้จบสิ้นลงไปแล้ว’ นั่นเอง เราจึงใช้ประโยคของเราในรูป past simple
4. PRESENT PERFECT TENSE
    The trick of using Present Perfect is ‘duration-from-past-
up-to-now’, so when we use present perfect we always have
‘up to now’ in mind.

   กลเม็ดหรือกุญแจของการใช้ present perfect ก็คือ ‘
ช่วงระยะเวลาจาก
อดีต
ที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน’ และในขณะที่เราจะใช้ present perfect ก็ให้
นึกถึงคำว่า ‘จนถึงปัจจุบัน’ ไว้ในใจก็จะทำให้การใช้ present perfect ของ
เราง่ายขึ้น เพราะคำว่า ‘จนถึงปัจจุบัน’ แทนความหมายยาวๆของ ‘ช่วงระยะ
เวลาจากอดีตที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน’ ได้พอดี
   เหตุการณ์ที่ใช้กับ present perfect (has/have + v3) มีดังนี้

   ๑. เหตุการณ์ที่ดำเนินมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น
       –We have remembered your account.
         จนถึงปัจจุบันเราจำบัญชีชื่อผู้ใช้ของคุณได้แล้ว
       –They haven’t arrived yet.
         จนถึงปัจจุบันพวกเขายังมากันไม่ถึงเลย

      
–My bus hasn’t left the terminal.
            ถึงตอนนี้รถโดยสารที่ฉันจะเดินทางไปด้วยก็ยังคงไม่ออกจากสถานี
       –There has been flooding in some areas of the north.
           จนถึงปัจจุบันยังคงมีสภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ของภาคเหนือ
       –I have lived in a big city for fifteen years.
           จนถึงปัจจุบันฉันพำนักอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่เป็นเวลา 15 ปีแล้ว
       –He has married her since 2005.
            เขาแต่งงานกับเจ้าหล่อนมาตั้งแต่ปี 2005 มาจนถึงปัจจุบัน
       –How long have you lived here?
            จนถึงปัจจุบันคุณอาศัยอยู่ที่นี่มานานเท่าใดแล้ว?
       –Have you done your homework yet? 
            จนถึงปัจจุบันเธอทำการบ้านเสร็จรึยัง? 


       –Have you seen Nick recently?
            เมื่อเร็ว ๆ นี้จนถึงปัจจุบันเธอได้เจอะเจอนิคบ้างไหม?
       –I have been here for 2 weeks.
            จนถึงปัจจุบันฉันอยู่ที่นี่มา 2 สัปดาห์แล้ว

       –This is the first time we have met.
            จนถึงปัจจุบันนี่เป็นครั้งแรกที่เราได้พบกัน
       –This morning she has worked at home.            ตลอดทั้งช่วงเช้านี้เจ้าหล่อนทำงานอยู่ที่บ้าน            (ต้องใช้ present perfect เพราะขณะที่พูดประโยคนี้ยังอยู่ในช่วงเวลาของ this morning
              อยู่ ถ้าพูดประโยคนี้ในช่วงบ่ายหรือเย็นก็จะใช้ในรูป past simple นั่นคือ This morning
              she worked at home)


   ๒. เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
       –I have tried that game.
         จนถึงปัจจุบันฉันได้เคยลองเล่นเกมนั้นมาแล้ว
       –I have clicked on this website before.
            จนถึงปัจจุบันฉันเคยคลิ๊กเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้มาก่อนแล้ว
       –I have clicked on this website twice.
            จนถึงปัจจุบันฉันเคยคลิ๊กเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้แล้วสองครั้ง
      –I have clicked on ‘englishtrick.com’ many times.
จนถึงปัจจุบันฉันเคยคลิ๊กเข้ามาเยี่ยมชม englishtrick.com แล้วหลายครั้ง
       –I have never cooked before until today.
            จนถึงปัจจุบันฉันยังไม่เคยทำอาหารมาก่อน จนกระทั่งวันนี้

       –Have you ever been to Phuket?
            จนถึงปัจจุบันคุณเคยไปภูเก็ตมารึยัง?
       –She has been to the states twice.
            จนถึงปัจจุบันเจ้าหล่อนเคยไปสหรัฐฯมาแล้ว 2 ครั้ง

    ๓. เหตุการณ์ในอดีตที่ดำเนินมานั้นได้จบสิ้นลงก่อนปัจจุบัน แต่ยังมีผลปรากฏ
อยู่ในปัจจุบัน
 ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์ใดในอดีตที่ดำเนินมา และได้จบสิ้นลงก่อน
ปัจจุบัน และมีผลปรากฏให้เห็นอยู่ เราก็พูดประโยค present perfect ออกมา
ได้ตามผลที่ปรากฏให้เห็นอยู่นั้น ดังนี้
       –They have arrived.
            จนถึงปัจจุบันพวกเขาได้มาถึงกันแล้ว
            (ผลที่ปรากฏให้เห็นอยู่ก็คือ  ‘พวกเขากำลังทักทายกับเจ้าภาพ’ หรืออะไรทำนองนี้)


       –I have sent my email.
         จนถึงปัจจุบันฉันได้ส่งอีเมวล์ของฉันไปแล้ว
            
(ผลที่ปรากฏให้เห็นอยู่ก็คือ  ‘email กำลังเดินทางไปถึงผู้รับ’ หรืออะไรทำนองนี้)
       –I have finished my breakfast.
            ฉันทานอาหารเช้าเสร็จพอดี
          
(ผลที่ปรากฏให้เห็นอยู่ก็คือ  ‘ฉันอิ่ม’ หรืออะไรทำนองนี้)
       –I have just lost my pen.
            ฉันเพิ่งทำปากกาหายไปพอดี
            (ผลที่ปรากฏให้เห็นอยู่ก็คือ  ‘ฉันไม่มีปากกาใช้’ หรืออะไรทำนองนี้)
       –I have already bought my new shoes.
            ฉันซื้อรองเท้าคู่ใหม่มาเรียบร้อยแล้ว            (ผลที่ปรากฏให้เห็นอยู่ก็คือ  ‘ฉันมีรองเท้าคู่ใหม่ใช้’ หรืออะไรทำนองนี้)
วิเศษณ์แสดงเวลาในอดีตของ present perfect
    Present perfect สามารถใช้กับวิเศษณ์แสดงเวลาในอดีต ดังนี้ just, finally, lately, recently, for 2 weeks และ since 2005 เป็นต้น
    เราจะใช้วิเศษณ์แสดงเวลาในอดีตเหล่านี้ในกรณีที่เราต้องการระบุว่า ‘ช่วงระยะเวลาใน
อดีตนั้นๆย้อนกลับไปเริ่มต้น ณ เวลาใดในอดีตก่อนจะดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน’
    เช่น ถ้าเราเลือกใช้ just กับประโยค present perfect ของเรา ก็แสดงว่า ‘ช่วงระยะ
เวลาในอดีตของเราย้อนกลับไปแป๊บเดียวก่อนจะดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน’ เพราะ just หมาย
ถึง ‘เพิ่งเกิดขึ้น’ นั่นเอง
    แต่ถ้าเราใช้ for 2 weeks ก็แสดงว่า ‘ช่วงระยะเวลาในอดีตของเราย้อนกลับไป 2 อาทิตย์ก่อนจะดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน’
    และถ้าเราใช้ since 2005 ก็แสดงว่า ‘ช่วงระยะเวลาในอดีตของเราย้อนกลับไปถึงปี
ค.ศ. 2005 ก่อนจะดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน’
    เมื่อเป็นดังนี้ วิเศษณ์แสดงเวลาในอดีตที่ใช้กับ present perfect จึงถูกพิจารณาเป็น ‘ช่วงระยะเวลาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน’ ไม่ใช่แค่ ‘จุดหนึ่งของเวลาในอดีต’ เหมือน past
simple
    สรุปก็คือ เมื่อเรานำวิเศษณ์แสดงเวลาในอดีตใดๆมาใช้กับ present perfect วิเศษณ์
แสดงเวลาในอดีตนั้นๆก็จะมีความหมายสอดคล้องกับหัวใจของ present perfect ไปด้วย นั่นคือ ‘ช่วงระยะเวลาจากอดีตที่ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน’ นั่นเอง
    นอกจากนี้ยังมีคำวิเศษณ์อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ ever, already และ yet โดย ever ใช้เน้น
ย้ำว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ‘เคย’ ทำอะไรมาบ้าง
    ส่วน already ใช้เน้นย้ำว่าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ทำบางสิ่ง ‘เสร็จเรียบร้อยแล้ว’
    และ yet จะใช้ในกรณีที่ present perfect เป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธ เพื่อเน้นถึง
ความเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธนั้นๆ
5. FUTURE SIMPLE TENSE ปุ่มลิ้งค์ไป facebook
    There are 4 tricks of using Future Simple:

    
1. We use ‘will’ to give ‘information that will happen in the future’ to someone.
    มีกลเม็ดอยู่  กลเม็ดในการใช้ future simple ดังนี้
    ๑. เราใช้ ‘will’ เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดย ‘will’ จะมีความหมายตรงกับคำว่า ‘จะ’ ในภาษาไทย เช่น:
She will come.
The dog will follow her as usual.
We will send this message to you.
They will catch the next train.
It will happen someday.
There will be rain.
Our market share will grow after we launch our new products.
    –Keep the handlebar straight ahead or you will lose you balance.
       จับแฮนด์จักรยานให้ตรงไปข้างหน้า...มิฉะนั้นเธอจะเสียการทรงตัวได้

    การใช้ ‘will’ เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนี้ มักเป็นที่นิยม
ใช้ เนื่องจากใช้ง่าย และสถานการณ์ต่างๆในอนาคตก็มักจะเข้าทางการใช้ ‘will’ อยู่บ่อยๆ
    นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ will ในกรณีที่เราตัดสินใจที่จะทำบางสิ่งขึ้นมาอย่างปัจจุบัน
ทันด่วน
ได้ เช่น
    –Bye, oh, I will phone you.
      สวัสดีนะ...อ้อ...แล้วจะโทรไปหานะ
    –I think I will start reading this book.
      ฉันคิดว่าฉันจะเริ่มอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วล่ะ
    A: How about this stuff?
         แล้วของพวกนี้จะทำอย่างไรดี?
    B: Let me see. I will keep it in the box.                
         ขอคิดหน่อย...ฉันจะเก็บมันไว้ในกล่องก็แล้วกัน
    2. We use ‘present continuous with adverb of future time’ to tell that we ‘plan to do something in the future’.

    
๒. เราใช้ ‘present continuous’ เพื่อแสดงว่าเรา ‘วางแผนที่จะทำบางสิ่ง
ในอนาคต’ โดยมักใช้ร่วมกับ ‘วิเศษณ์แสดงเวลาในอนาคต’ เช่น:
We are buying it tomorrow.
เราวางแผนที่จะซื้อมันพรุ่งนี้
I’m calling you later. Bye.
ดิฉันวางแผนที่จะโทรหาคุณวันหลัง สวัสดีนะคะ
She is coming at five o’clock.
เจ้าหล่อนวางแผนที่จะมาตอนห้าโมง
am sending this message to you after I have read it.
ผมวางแผนที่จะส่งข้อความนี้ให้คุณหลังจากที่ผมได้อ่านมันแล้ว

๒.๑  การใช้ present continuous เพื่อแสดงถึงสิ่งที่ ‘กำลังจะ’ เกิดขึ้น
           เราสามารถใช้ present continuous เพื่อแสดงว่า ‘บางสิ่งกำลังจะเกิดขึ้นใน
    อีกไม่กี่อึดใจข้างหน้า’ โดยเฉพาะการใช้กับคำกริยาที่แสดงการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น
    go, come, leave และ move เป็นต้น ดังประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
           –The bus is leaving.
               รถโดยสารกำลังจะออกแล้ว
           –They are moving.
               พวกเขากำลังจะเคลื่อนออกไปแล้ว
           –Are you coming?
               เธอกำลังจะมาหรือไม่ล่ะ?
    3. We use ‘be going to + infinitive’ to tell that we ‘have intention of doing something in the future’.

    
๓. เราใช้ ‘be going to + infinitive’ เพื่อแสดงว่าเรา ‘ตั้งใจที่จะทำบาง
สิ่งในอนาคตโดยได้มีการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าแล้ว’ ดังนี้:


      –I am going to buy it.
         
ฉันตั้งใจที่จะซื้อมัน
 
    การใช้ be going to + infinitive จะแตกต่างจากการใช้ will ในแง่ที่ว่า be going
to + infinitive เป็นความตั้งใจที่เป็นการตัดสินใจไว้ล่วงหน้าแล้ว ส่วน will เป็นการตัด
สินใจแบบปัจจุบันทันด่วน ดังนี้ I’m going to buy it. = ตัดสินใจล่วงหน้ามาแล้วว่า
จะซื้อ ส่วน I will buy it. = เห็นปุ๊บตัดสินใจซื้อทันที

    ลองดูประโยคตัวอย่างอื่นๆของ ‘be going to + infinitive’ ต่อไปครับ

       –I’m going to call you later. Bye.
         
ดิฉันตั้งใจที่จะโทรหาคุณวันหลัง สวัสดีนะคะ
She is going to come at five o’clock.
เจ้าหล่อนตั้งใจที่จะมาตอนห้าโมง
       A: How about the lunch, boss?
            เรื่องอาหารกลางวันเอาอย่างไรดีครับ...หัวหน้า?
       B: I’m going to order it on delivery.
            ผมตั้งใจจะสั่งให้ร้านเอามาส่งให้
    และเราสามารถใช้ ‘present continuous แสดงเวลาในอนาคต’ และ ‘be going to
+ infinitive’ แทนที่กันได้ โดยมีความหมายแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย ดังนี้:

       –I am sending this message to you after I have read it.                                    
ผมวางแผนที่จะส่งข้อความนี้ให้คุณหลังจากที่ผมได้อ่านมันแล้ว       –I am going to send this message to you after I have read it.             
ผมตั้งใจที่จะส่งข้อความนี้ให้คุณหลังจากที่ผมได้อ่านมันแล้ว


    ๓.๑ การใช้ be going to เพื่อคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตที่เราแน่ใจ
         ว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
           เมื่อเราเห็นว่าเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้าเรามีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เช่น  เราเห็นเพื่อนเรากำลังหัดขี่จักรยานอยู่ ทันใดนั้น จักรยานก็เริ่มเป๋ไปเป๋มาทำท่าจะล้มแน่ๆ
    เราก็สามารถตะโกนเตือนเพื่อนเรา
ด้วย be going to + infinitive ได้ทันที ดังนี้     
           –Look out! You are going to lose you balance.
              ระวัง! เธอกำลังจะเสียการทรงตัวแน่ๆเลย
           อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการคาดการณ์ทั่วๆไปที่ไม่เน้นว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
    เราสามารถใช้ will ได้ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อที่ ๑ ดังนี้  

           –You will lose you balance.
               
เธอจะเสียการทรงตัวได้
    4. We use ‘present simple’ to tell that ‘timetable, schedule, program
or plan are formally fixed to happen in the future’.


    ๔. เราใช้ ‘present simple’ เพื่อแสดงว่า ‘ตารางเวลา, กำหนดการ, แผนงานได้ถูก
กำหนดไว้อย่างเป็นทางการให้เกิดขึ้นในอนาคต’ เช่น:
Tomorrow is my first working day.
ตามกำหนดการ...พรุ่งนี้คือวันทำงานวันแรกของผม
Bus leaves the terminal every fifteen minutes.
ตามกำหนดการ...รถโดยสารจะออกจากสถานีทุกๆ 15 นาที
The next bus leaves at one-fifteen.
ตามกำหนดการ...รถเที่ยวต่อไปจะออกเวลาบ่ายโมงสิบห้านาที
The final match is on Sunday evening.
ตามกำหนดการ...นัดชิงชนะเลิศจะแข่งกันตอนกลางคืนวันอาทิตย์
The monthly meeting is on Tuesday afternoon.
ตามกำหนดการ...การประชุมประจำเดือนจะมีวันอังคารตอนบ่าย
This TV programme starts at 9 o’clock.
ตามกำหนดการ...รายการโทรทัศน์นี้เริ่มตอน 3 ทุ่ม


การใช้ tense เชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ
    การใช้ tense จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1) การใช้ tense เชิงทฤษฎี และ 2) การใช้
tense เชิงปฏิบัติ

1. การใช้ tense เชิงทฤษฎี
    การใช้ tense เชิงทฤษฎี คือ การทดสอบว่าเรามีความรู้เกี่ยวกับ tense มากน้อยเพียง
ใด ตามสถานการณ์ที่ได้รับการกำหนดไว้เป็นการเฉพาะบนหน้ากระดาษข้อสอบ การใช้
tense เชิงทฤษฎีจึงมีกรอบแคบๆตามสถานการณ์ที่ได้รับกำหนดไว้นั้น ผู้ตอบจึงไม่มี
ทางเลือกอื่น นอกจากเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ทั้งๆที่ในความเป็นจริง คำตอบที่ถูกอาจจะ
มีมากกว่าหนึ่งคำตอบก็ได้ เช่น
1) The sun………….in the east.
    a) rise     b) rises      c) rose       d) is rising
    เราจะเห็นได้ว่าในบรรดาคำตอบทั้ง 4 ข้อนี้ ทั้งข้อ b), c) และ d) ล้วนแล้วแต่ถูกต้อง
ทั้งสิ้น แต่เนื่องจากนี่คือการวัดผลว่าเรามีความรู้เกี่ยวกับ tense มากน้อยเพียงใดตามสถาน-
การณ์แคบๆที่ถูกกำหนดมานี้ ซึ่งก็คือ พระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก (in the east) อัน
เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นจริงเสมอ (truth) ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องที่สุดตามกรอบกำหนดนี้จึง
ต้องเป็น present simple เราจึงต้องเลือกข้อ b) rises เท่านั้น
2. การใช้ tense เชิงปฏิบัติ
    การใช้ tense เชิงปฏิบัติจะแตกต่างไปจากสถานการณ์แคบๆที่ถูกกำหนดมาบนหน้า
กระดาษข้อสอบเป็นอย่างยิ่ง เช่น เราอาจกำลังยืนดูพระอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้า ดังนั้น
คำตอบที่ถูกต้องที่สุดในสถานการณ์จริงก็คือ is rising หาใช่ rises แต่ประการใดไม่
นั่นคือ คำตอบที่ถูกต้องที่สุดในสถานการณ์จริงนี้ก็คือ The sun is rising. นั่นเอง
    และในสถานการณ์จริงนี้ คำตอบที่สุดก็อาจจะไม่ได้มีเพียงคำตอบเดียวด้วย เช่น เมื่อเรา
เห็น The sun is rising. นี้ เราอยากให้เพื่อนๆของเราได้ร่วมรับรู้ด้วย เราจึงอาจส่งรูป
ภาพพร้อมข้อความไปให้เพื่อนของเราดังนี้ The sun was rising. ซึ่งก็ถือว่าเป็นคำตอบ
ที่ถูกต้องที่สุดตามสถานการณ์ที่เป็นจริงด้วยเช่นกัน
    ดังนั้น การใช้ tense เชิงปฏิบัติหรือการใช้ในสถานการณ์จริง จึงเน้นที่การสื่อความ
หมายให้ผู้อื่นได้เข้าใจเป็นสำคัญ นั่นคือ ถ้าผู้รับสารจากเราเข้าใจสิ่งที่เราพูดหรือเขียน ก็
เท่ากับเราได้บรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้ tense แล้ว
กฎการใช้ภาษาอังกฤษในเชิงปฏิบัติ
    การใช้ภาษาอังกฤษในเชิงปฏิบัติมีกฎอยู่ว่า ผู้ใช้จะเป็นผู้ถูกต้องเสมอ ถ้าการใช้นั้นยึด
หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษหลักใดหลักหนึ่งไว้ ส่วนผู้รับสารจากผู้ใช้มีหน้าที่เพียงประการ
เดียวเท่านั้น คือ ต้องตีความสิ่งที่ผู้ใช้ใช้ให้ออก
    เช่น ในกรณีของการใช้ tense ถ้าผู้ใช้ใช้ว่า The sun is rising. ก็เป็นการใช้ที่ยึด
หลักไวยากรณ์ของ present continuous ไว้ ดังนั้น ผู้รับสารจากผู้ใช้จึงมีหน้าที่ต้องตี
ความให้ออกว่า The sun is rising. หมายถึงอะไร

    และการใช้ตามกฎนี้ก็เป็นการใช้ที่เจ้าของภาษายึดถือกันอยู่นั่นเอง แต่พวกเราไม่เคยรับ
รู้มาก่อน เพราะถูกฝังหัวแต่เรื่องกฎการทำข้อสอบมาโดยตลอด จนไม่กล้านำภาษาอังกฤษ
ที่เรียนมาไปใช้ในชีวิตจริง

การใช้ tense ในเชิงปฏิบัติของเจ้าของภาษา 
    เราลองไปดูว่าการใช้ tense ในเชิงปฏิบัตินั้น เจ้าของภาษาเขาใช้กันอย่างไร ดังนี้:
    การใช้ tense ในเชิงทฤษฎี การ ‘เสียชีวิต (pass away, dead, die)’ ได้ถูกกำหนด
ให้ใช้กับ past simple เสมอ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นและได้จบสิ้นไปแล้ว เช่น
    –She passed away.
    –He was dead yesterday.
    แต่การใช้ tense ในเชิงปฏิบัติ นอกจากเจ้าของภาษาจะกล่าวถึงการ ‘เสียชีวิต’ ใน
รูปของ past simple เป็นปกติแล้ว ยังใช้ในรูปของ present simple และ present
perfect ด้วยดังนี้
    a) Philip died from toxic drug mixture. (New York Post)
         ฟิลิปได้เสียชีวิตจากส่วนผสมของสารเสพติดที่เป็นพิษ
   
    ประโยค a) นี้เป็นการใช้ tense ในเชิงทฤษฏีตามปกติ เจ้าของภาษาจึงใช้ die ในรูป
ของ past simple นั่นคือ died
    b) Philip dies(BBC)
         ฟิลิปเสียชีวิต
   
    ประโยค b) นี้เป็นการใช้ที่แตกต่างออกไปแล้ว ผู้รับสารจึงต้องตีความ โดยตีความได้
ว่า
เจ้าของภาษา (BBC) ต้องการให้ข้อเท็จจริง (fact) จึงใช้การ ‘เสียชีวิต (die)’ ในรูป
ของ present simple นั่นคือ dies
    c) Things to do after your dog has died(Patricia B. McConnell)            
         สิ่งที่ควรทำหลังจากสุนัขของคุณได้เสียชีวิตไปแล้ว
   
    ประโยค c) นี้ตีความได้ว่าเจ้าของภาษาต้องการเน้นว่าการ ‘เสียชีวิต (die)’ ได้จบสิ้น
ลงก่อนเวลาปัจจุบัน แต่ยังมีผลปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
 นั่นคือ สุนัขที่ตายไปแล้วนั้น ไม่ได้อยู่
กับเราแล้ว ณ เวลาปัจจุบัน 
การใช้ tense จึงออกมาในรูปของ present perfect นั่นคือ
has died

    d) Is there some reason that my coffee isn’t here? Has she died or     
        something? (The Devil Wears Prada)        
          มีคำอธิบายหรือเปล่าที่กาแฟของฉันไม่วางอยู่ตรงนี้? คนชงตายไปแล้วหรืออะไรทำนองนี้ใช่ไหม?


    เช่นเดียวกัน ประโยค d) นี้ตีความได้ว่าเจ้าของภาษาต้องการเน้นว่าการ ‘เสียชีวิต
(die)’ ได้จบสิ้นลงก่อนปัจจุบัน แต่ยังมีผลปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
 นั่นคือ คนชงกาแฟคงตาย
ไปแล้วมั้ง จึงไม่มีถ้วยกาแฟชงมาวางไว้อย่างที่ควรจะเป็น การใช้ tense จึงออกมาในรูป
ของ present perfect นั่นคือ has died
    อนึ่ง ประโยค d) นี้เป็นการพูดประชดประชันในแบบภาษาอังกฤษ โดยการนำเอา
present perfect มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในเชิงปฏิบัตินั่นเอง
    นี่ล่ะครับ...การใช้ภาษาอังกฤษในเชิงปฎิบัติที่ขอให้เรายึดหลักไวยากรณ์หลักใดหลัก
หนึ่งไว้ แล้วการใช้ของเราก็จะถูกต้องเสมอ ไม่มีใครสามารถมาหักล้างได้ นอกจากตีความ
ไปตามที่ใช้มา ดังเจ้าของภาษาได้สำแดงให้ดูเป็นตัวอย่างนี้
    เมื่อเป็นดังนี้ เวลาเราจะใช้ tense ในเชิงปฏิบัติหรือในสถานการณ์จริง เราจึงไม่จำเป็น
ต้องไปกังวลถึงเรื่องความถูกผิดเหมือนกับตอนทำข้อสอบ ขอเพียงให้เราเลือก tense ที่เรา
คิดว่ามีความเหมาะสม
กับสถานการณ์จริงในขณะนั้นขึ้นมาใช้ ก็เป็นอันถูกต้องสมบูรณ์แบบ
แล้วครับ

การตีความของผู้รับสารมีโอกาสเกิดขึ้นเสมอ
    เราได้รู้แล้วว่า การใช้ tense ในเชิงปฏิบัตินั้น ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับการใช้ tense ในเชิงทฤษฎีเสมอไป อันขึ้นอยู่กับสถานการณ์การใช้ของผู้ใช้แต่ละคนเป็นตัวกำหนด และ
เราก็ไม่ได้อยู่ในฐานะของผู้ส่งสารหรือผู้ใช้แต่เพียงประการเดียวเท่านั้น แต่อยู่ในฐานะผู้รับ
สารด้วย การตีความการใช้ tense ของเจ้าของภาษาจึงมักเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ดังที่ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นไว้แล้วข้างต้น

    จำไว้นะครับว่า การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น ถ้าเราไม่รู้จักการใช้ในเชิงปฏิบัติ และไม่
รู้จักการตีความ เราก็จะสงสัยอยู่มิวายว่าทำไมเจ้าของภาษาถึงใช้อย่างนั้น ทำให้เราเข้าไม่
ถึงภาษาอังกฤษและไม่สามารถสัมผัสกับอรรถรสทางภาษาของภาษาอังกฤษได้
    และเมื่อใดที่เราเข้าถึงอรรถรสทางภาษาของภาษาอังกฤษได้ เราก็จะตระหนักได้ทันทีว่า
‘ภาษาอังกฤษนั้นสนุกมากๆ’ ไม่แพ้ภาษาไทยของเราเลยทีเดียว เพียงแต่สนุกกันคนละแง่
คนละมุมเท่านั้นเอ

สรุป
    ทั้ง 5 tenses ที่กล่าวมาข้างต้นครอบคลุมช่วงเวลาทั้งเวลาในอดีต, ในปัจจุบัน, ใน
ปัจจุบันที่เป็นผลมาจากอดีต และในอนาคตได้อย่างครบถ้วน ทั้ง 5 tenses จึงเป็น
tenses หลักของการใช้ tenses ในภาษาอังกฤษ ส่วนอีก 7 tenses ที่เหลือเป็นเพียง
องค์ประกอบปลีกย่อยหรือส่วนเติมเต็มของการใช้ tenses เท่านั้น

    ดังนั้น กลเม็ดการใช้ past simple, present simple, present continuous, present perfect และ future simple ข้างต้น จึงมากเพียงพอที่จะทำให้เราเก่งภาษา
อังกฤษได้ในแบบเดียวกับเจ้าของภาษาแล้ว โดยไม่มีความจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้ง 12 tenses
พร้อมกันไปในคราวเดียวแต่ประการใด
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น