วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เก่ง Past Participle (v3) แบบเจ้าของภาษา
Past participle คืออะไร?
    Past participle ก็คือ คำกริยาช่อง 3 เช่น หรือ v3 เช่น asked; beaten; eaten;
hit; shut; used เป็นต้น
หน้าที่ของ past participle
    Past participle หรือ v3 จะทำหน้าที่ในการขยายคำนาม และทำให้คำนามนั้นถูก
กระทำหรือเป็นกรรมของ v3 นั้น เช่น

    –Things kept in my closet are nothing but my clothes.
      สิ่งต่างๆที่ถูกเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้าของฉันไม่มีอะไรนอกจากพวกเสื้อผ้า
    ประโยคนี้ kept in my closet คือ past participle ที่ขยายคำนาม things และก็
ทำให้ things เป็นกรรมของ kept in my closet นั่นคือ ‘สิ่งต่างๆที่ถูกเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า
ของฉัน

ประเภทของ past participle
    Past participle แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 
    1. Past participle แบบสำเร็จรูป
    2. Past participle แบบสร้างเอง
Past participle (v3) แบบสำเร็จรูป
    Past participle (v3) แบบสำเร็จรูปก็คือ past participle ที่นักภาษาศาสตร์กำหนด
ขึ้นมาเป็นแบบสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้ทันที Past participle (v3) แบบ
สำเร็จรูปมีอยู่ประเภทเดียว คือ past participle ที่ใช้กับกรรมของคำกริยา vt ซึ่งมีโครง
สร้างดังนี้ คำกริยา vt + object + v3 อันได้แก่คำกริยาดังต่อไปนี้
    –hear sth/sb done = ได้ยินบางสิ่ง/บางคนถูกกระทำ
      –I heard something heavy dragged along the floor.
         ฉันได้ยินบางสิ่งหนักๆถูกลากไปตามพื้น
    –make sb done = ทำให้ตัวเองได้รับการได้ยิน/เป็นที่รู้จัก/ฯ
      –They made themselves known worldwide in that movie.
         พวกเขาทำให้ตนเองเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากภาพยนตร์เรื่องนั้น
    –see sth/sb done = เห็นบางสิ่ง/บางคนถูกทำบางสิ่ง
      –We can see the beach crowded with tourists next summer.
         เราจะได้เห็นชายหาดถูกทำให้เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวในฤดูร้อนหน้า
    –want sth done = ต้องการให้บางสิ่งถูกกระทำบางสิ่ง
      –I want my work completed by Sunday.
         ผมต้องการให้งานของผมถูกทำเสร็จในวันอาทิตย์
    –have sth done = มีบางสิ่งถูกกระทำโดยบุคคลอื่นจนเสียหายหรือสูญหาย
      –I had my shoes stolen yesterday.
         
รองเท้าฉันถูกขโมยไปเมื่อวาน
    –have sth done = ให้บางสิ่งได้รับการกระทำบางสิ่งโดยบุคคลอื่น
      –I had my car fixed.
         
ฉันให้ช่างซ่อมรถให้
    –get sth done = ให้บางสิ่งได้รับการกระทำบางสิ่งโดยบุคคลอื่น
      –I’ll get my car washed.
         
ฉันจะไปให้เขาล้างรถให้
    โดยหลักการ เราไม่สามารถนำเอา v3 มาขยายความคำกริยา vt ใดๆได้ตามใจชอบ เราต้องใช้ไปตามที่นักภาษากำหนดให้นี้เท่านั้น ท่านผู้จึงต้องท่องจำให้ได้ว่า คำกริยา vt  ใดใช้ past participle (v3) มาขยายความกรรมของตนได้ และที่ใช้กันบ่อยๆก็มีอยู่ 6
คำข้างต้นนั่นแหละครับ คือ hear, make, see, want, have และ get
Past Participle (v3) แบบสร้างเอง
    นอกเหนือจาก past participle (v3) แบบสำเร็จรูปข้างต้นแล้ว เรายังสามารถสร้าง
v3 ขึ้นใช้เองได้อีกด้วย โดยใช้ในการขยายคำนาม ซึ่งทำได้ 5 รูปแบบ ดังนี้
1. การใช้ v3 วางไว้หน้าคำนาม
    –The broken glass.
      แก้วที่ถูกทำให้แตก
      
2. การใช้ v3 ขยายประธาน
    การใช้ vหรือ past participle ขยายประธานมักนิยมวาง vไว้หน้าประธานหรือ
ท้ายประโยค
 เช่น
    –Directed by his host, he walked along the hall.
      ถูกนำไปโดยเจ้าภาพ...เขาเดินไปตามโถงทางเดิน
    –He walked along the hall, directed by his host.
      เขาเดินไปตามโถงทางเดิน...ถูกนำไปโดยเจ้าภาพ
    –The box was found hidden under the roof.
      หีบได้ถูกค้นพบ...โดยถูกซ่อนอยู่ใต้หล้งคา
    –South Korean financial market closed little changed(AP)
      ตลาดทุนเกาหลีใต้ได้ปิดทำการประจำวันแล้วโดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
    อย่างไรก็ตาม บางครั้งเราสามารถวางไว้หลังประธานก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ประธานที่เป็น
สรรพนามบุรุษที่ 1, 2 หรือ 3 เช่น
    –Tom, directed by his host, walked along the hall.
      ทอม...ถูกนำไปโดยเจ้าภาพ...เดินไปตามโถงทางเดิน
3. การใช้ v3 ขยายกรรมของบุพบท

    –The dogs stay in an animal shelter built by a foundation.                        
 สุนัขทั้งหลายไปอยู่ในที่พักพิงสัตว์ที่ถูกสร้างโดยมูลนิธิแห่งหนึ่ง
4. การใช้ v3 ขยายคำนามที่ตามหลัง verb to be
    –It was a weekend spent in the country.
      มันคือวันหยุดสุปดาห์ที่ถูกใช้ไปในชนบท
5. การใช้ v3 แบบสร้างเองขยายความกรรมของคำกริยา vt
    แม้ว่าโดยหลักการ เราไม่สามารถใช้ v3 มาขยายความกรรมของคำกริยา vt ใดๆได้
เองตามใจชอบ แต่ในทางปฏิบัติ เราสามารถนำ v3 มาขยายความกรรมของคำกริยา vt ใดๆตามสถานการณ์การใช้ของเราได้  ทั้งนี้ก็เพื่อให้การใช้ vมีความยืดหยุ่น และไม่จำกัด
ตายตัวเกินไป ดังนี้

    –All of you have 
5 minutes left.
      
พวกเธอมีเวลาเหลืออีก 5 นาที

    –I still have 
some desserts left.
      
ฉันยังคงมีของหวานเหลืออยู่

    –He had spent 
the first eighteen years of his life trapped within the   
      confines of its rocky shores. 
(Sarah Morgan, The Rebel Doctor’s Bride)
      
เขาได้ใช้เวลา 18 ปีแรกของชีวิตถูกกักขังอยู่ในเกาะแก่งแห่งนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น