วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เส้นทางสู่นักการทูต อาชีพทางเลือกของคนจบนิติศาสตร์

*บทนำ*

ไม่รู้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้แนะแนวได้หรือเปล่าเราก็ไม่แน่ใจแต่เราตั้งใจเขียนบันทึกชิ้นนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ตรงในการสอบเข้าบรรจุรับราชการเป็นนักการทูตกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะที่ยังจำสิ่งต่างๆ ได้ และเพื่อเป็นวิทยาทานกับเพื่อนๆและน้องๆ ที่สนใจสายอาชีพที่ถือว่าเป็นทางเลือกของคนที่เรียนจบนิติศาสตร์ ว่าการเรียนในคณะนี้ก็สามารถเป็นอาชีพต่างๆ ได้มากกว่าที่คิด ที่ใช้คำว่าอาชีพทางเลือกนั้นเนื่องจากสังเกตได้ว่าค่ายต่างๆทั้งกน. พรีแคมป์ ทั้ง กศป. ยังไม่เคยจัดการแนะแนวอาชีพนี้มาก่อนหรือกระทั่งตัวเองยังไม่ทราบว่าเรียนนิติศาสตร์แล้วสามารถเป็นนักการทูตได้จนกระทั่งจบปี3 แล้ว จึงคิดว่าหากทำบันทึกไว้จักเป็นประโยชน์ต่อหลายๆ คนในอนาคตเพื่อที่สามารถจะตัดสินใจและวางแผนชีวิตได้ในขณะที่ยังไม่สาย โดยจะแบ่งเป็น 3 ตอนคือ นักการทูตกับกฎหมาย การสอบ และการเตรียมตัวสอบเป็นนักการทูต

*นักการทูตเกี่ยวอะไรกับกฎหมาย*

สมัยก่อนเมื่อครั้งยังเด็กๆ เราก็เหมือนคนอื่นๆที่ตั้งใจจะเรียนกฎหมายเพราะอยากเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ (เพราะรู้จักอยู่เพียงแค่นี้)และคิดว่าจะเป็นทูตได้ก็ต้องเรียนรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเท่านั้นแต่พอโตขึ้นก็พอจะรู้ว่าเรียนนิติศาสตร์ก็สามารถเป็นนักการทูตได้ด้วย ว่าแต่หลายคนคงสงสัยว่ามันเกี่ยวอะไรกันหละ?? ขอย้อนกลับไปเมื่อตอนปี 3 เราสนใจและชอบเรียนกฎหมายระหว่างประเทศแต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า กฎหมายระหว่างประเทศจะไปประกอบอาชีพอะไรได้ อาชีพอะไรที่ต้องใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยเฉพาะคดีเมือง ซึ่งตอนนั้นไม่เคยคิดถึงอาชีพนักการทูตเลย จนมามีคดีตีความปราสาทพระวิหารที่มีการถ่ายทอดไปทั่วประเทศณ ตอนนั้น ได้เห็นท่านทูตวีรชัย พลาศรัย ในโทรทัศน์ ได้ทราบว่าท่านเป็นเอกอัครราชทูตประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์แล้วท่านได้ว่าความในศาลโลก (ICJ) ซึ่งก็เป็นสิ่งที่เราเคยทำจากกิจกรรมแข่งMoot Court ตอนปี 3 และปี 4  นั่นเอง ประกอบกับการที่เราได้ตัดสินใจสมัครเรียน Summer Course ที่  Hague Academy of International Law ที่กรุงเฮก จึงได้พบกับท่านทูตวีรชัยและได้เรียนรู้ถึงการทำงานของนักการทูตกับบทบาทการเป็นนักกฎหมายในการใช้กฎหมายระหว่างประเทศจึงเริ่มทราบว่ากระทรวงการต่างประเทศมีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายที่ดูเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง ทั้งการมีผลต่อกฎหมายภายใน การให้ความเห็นต่อร่างหรือสนธิสัญญาต่างๆ การให้สัตยาบันการอนุวัติการให้เป็นไปตามสนธิสัญญารวมถึงเรื่องการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศในด้านต่างๆอีกทั้งยังสามารถมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศในการประชุมองค์การระหว่างประเทศหรือการเป็นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ และการเป็นคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ(ILC) ด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจที่อยากจะเป็นนักการทูตเพราะเป็นอาชีพหนึ่งที่ได้ใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยตรง ซึ่งนอกจากกรมสนธิสัญญาและกฎหมายแล้วกรมอื่นๆ ก็ยังต้องการนักกฎหมายเช่นเดียวกัน เช่นกรมอาเซียน กรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น เนื่องจากมุมมองด้านกฎหมายน่าจะเป็นประโยชน์ในหลายแง่มุมซึ่งช่วยสนับสนุนภารกิจของกระทรวงได้มากกว่าที่เราคิดเหมือนกัน

*การสอบบรรจุเข้ารับราชการตำแหน่งนักการทูต*

การจะสอบเป็นนักการทูต มีอยู่เพียง 2 วิธีเท่านั้น คือ
1.สอบชิงทุนกระทรวงการต่างประเทศตอนจบมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ ( อันนี้คงจะสายไปเสียแล้ว) แต่บางปีก็อาจจะมีทุนสำหรับป.ตรีเพื่อต่อป.โทและ ป.เอกด้วยและ
2. สอบบรรจุเข้ารับราชการโดยใช้วุฒิปริญญาโดยบันทึกฉบับนี้จะเน้นการสอบในแบบที่ 2 ที่เราสอบเข้ามา

1.) วุฒิการศึกษาที่สามารถสอบได้
การสอบในแบบที่ 2 เป็นการสอบสำหรับผู้ที่มีวุฒิปริญญาตรี หรือ โท สาขาวิชารัฐศาสตร์  รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารรัฐกิจ บริหารธุรกิจวิชาการจัดการ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บัญชี ภาษา วรรณคดี ศิลปะ วัฒนธรรมประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา ศาสนา สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์หรือนิเทศศาสตร์ ก็สามารถมาสมัครได้ เรียกได้ว่าวิชาสังคมศาสตร์เกือบทั้งหมดก็สามารถมาสมัครได้เป็นการเปิดโอกาสที่กว้างมากๆ ดังนั้นในการเปิดสอบครั้งหนึ่งจึงมีคนมาสมัครจำนวนมากแต่อย่าได้กลัวไป เพราะจำนวนก็เป็นเพียงแค่ตัวเลขขู่ไว้เท่านั้น (วันสอบจริงคนอาจจะสละสิทธิ์ก็เป็นได้555) โดยจะจัดสอบรวมกันไปทั้ง ป.ตรีและโท เลยไม่แยกระดับการศึกษา

2.) การสอบทั้ง3 ภาค
การสอบเข้ารับราชการโดยทั่วไปจะมี  3 ภาคหรือ 3 ด่านด้วยกัน นั่นก็คือ ภาค ก. ภาคข. และ ภาค ค. (เขียนแค่นี้คงไม่รู้ซินะว่ามันคืออะไร) เรามาดูกันเลย

A. การสอบภาค ก. ความรู้ความสามารถทั่วไป กระทรวงการต่างประเทศจะมีลักษณะเฉพาะคือจะมีการเปิดภาค ก. ของตัวเอง ดังนั้นคนที่ผ่านภาค ก. ของก.พ. (ข้อสอบกลางในการรับราชการที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) มาแล้วไม่สามารถยื่นผลการสอบผ่านภาค ก. ของก.พ.เพื่อมาสอบภาค ข.กระทรวงการต่างประเทศเลยได้ (เหมาะมากๆ สำหรับคนที่ไม่ผ่านภาค ก. ของ ก.พ. แบบเรา 5555) โดยผู้สมัครทุกคนจะต้องสอบภาคก.ที่กระทรวงจัดขึ้นเองซึ่งภาค ก. ได้แก่ ความรู้รอบตัว(รอบโลก) 100 ข้อตอนเช้าและความรู้ภาษาอังกฤษอีก 100 ข้อตอนบ่ายโดยข้อสอบจะเป็นแบบ 4ตัวเลือก(Multiple Choices) ทั้งหมดผู้ที่สอบผ่านภาค ก. คือจะต้องมีคะแนน 60% ขึ้นไป(อันนี้น่าจะคิด 60% จากการเอา 2 พาร์ทมารวมกัน) ภาคก.จะประกาศเร็วมากเนื่องจากใช้คอมพิวเตอร์ตรวจทั้งหมด โดยผู้รอดชีวิตจากการสอบภาคก. คือประมาณ 400 คนซึ่งจะมาสู่การสอบภาค ข. หรือความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง อันหฤหรรษ์

B. การสอบภาค ข. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง
ในการสอบภาคนี้นี้ก็จะแบ่งเป็น 2 ตอนเช่นเดียวกันคือ

1. การทดสอบทักษะภาษาต่างประเทศ(เวลา 3 ชั่วโมง) โดยแบ่งเป็น4 ข้อดังนี้

1.1 เขียนเรียงความในหัวข้อที่กำหนด (40 คะแนน) :  มักจะเป็นหัวข้อสถานการณ์ปัจจุบันหรือเรื่องที่เป็นประเด็นที่น่าติดตามเช่นในปีนี้ให้เขียนเรื่อง As a Thai diplomat who is usually asked about the political situation, What will you say to foreigners when they ask “What does the future hold in Thailand?” ประมาณนี้ (จำหัวข้อเป๊ะๆไม่ได้) เราก็เขียนไปประมาณ 2 หน้าครึ่ง พูดอธิบายเหตุการณ์ปัจจุบัน พร้อมๆกับการโฆษณาประเทศไทยไปด้วยและพูดถึงอนาคต(โยงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการต่างประเทศของกระทรวงจะดีมาก)  หากใครไม่ถนัดภาษาอังกฤษในข้อนี้สามารถเขียนภาษาอื่นๆได้อีก 6 ภาษา (ภาษา UN)

1.2 ย่อความภาษาอังกฤษ(30 คะแนน) : อันนี้จะมีบทความให้ประมาณหน้าครึ่งถึงสองหน้าให้ย่อความโดยใช้ภาษาของตัวเอง ห้ามลอกประโยคหรือสำนวนในบทความมาอันนี้ไม่ต้องเขียนเยอะเพราะเป็นย่อความพยายามจับประเด็นหลักๆ ในแต่ละย่อหน้าไว้แล้วนำมาเขียนเรียบเรียงให้สวยงาม

1.3 แปลไทยเป็นอังกฤษ(15 คะแนน) : อันนี้จะมีเหมือนข่าวหรือบทความภาษาไทยโดยปกติแล้วจะประมาณ 1 หน้าขึ้นไปแต่ปีนี้ เหลือครึ่งหน้า จะทดสอบการใช้ศัพท์การต่างประเทศต่างๆ เช่น การประชุมรัฐมนตรีการต่างประเทศอาเซียน  = ASEAN Foreign Ministers Meeting เป็นต้น

1.4 แปลอังกฤษเป็นไทย(15 คะแนน) : ปีนี้ถือว่าเหวอมากๆกับการแปลคำสดุดีของสุลต่านบรูไนในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯครองราชย์ครบ ๖๐ ปี การแปลคำศัพท์อย่าง Your Majesty นี่ทำให้เราต้องไล่ลำดับจากใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทใต้ฝ่าพระบาท ฝ่าพระบาท พระองค์ท่าน ซึ่งตรงนี้เป็นความละเอียดอ่อนของภาษามากต้องดูจากบริบทในบทความให้ดีๆ พาร์ทนี้ใช้เวลาเยอะมากจนเกือบทำเรียงความไม่ทัน ( ซึ่งตามปกติควรเน้นข้อคะแนนเยอะๆ ไว้ก่อนเน้อ)

2. การทดสอบความรู้สำหรับนักการทูต(100 คะแนน) จะมี 4 ข้อคือ1. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (บังคับทำ) 2. องค์การระหว่างประเทศ3. เศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ 4. กฎหมายระหว่างประเทศ  ข้อ 2-4 ให้เลือกทำเพียง2 ข้อ (อย่าทำมาหมดนะ) ซึ่งแน่นอนว่าเราเลือกทำ2 กับ 4 ดังนั้นข้อที่เราสอบจะมีดังนี้

2.1 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(40 คะแนน) : เป็นข้อที่เนื้อหากว้างมากๆ และเก็งยากมาก เพราะเราไม่ได้เรียนทางนี้มาอีกต่างหากมันก็มีหลักวิชาที่ต้องยึดเหมือนกันในทางรัฐศาสตร์ แต่ยังดีที่ส่วนมากจะเป็นคำถามปลายเปิดซึ่งต้องใช้ทักษะการชักแม่น้ำทั้ง5 โยงเข้าด้วยกันอย่างทั้งมวล (As a whole คุ้นๆมะ ทักษะแบบนี้นักกฎหมายจะถูกฝึกเฉพาะบางวิชาเท่านั้นเช่นนิติปรัชญา) แต่อย่าเขียนน้ำเยอะให้เอาเนื้อๆด้วย โดยในปีนี้ให้เขียนเรื่องนโยบายการต่างประเทศเชิงรุก ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ควรมีทิศทางอย่างไร ซึ่ง ณขณะอยู่ในห้องสอบคือ เพิ่งเคยได้ยินคำว่า “นโยบายการต่างประเทศเชิงรุก” เป็นครั้งแรก ต้องยอมรับว่า ณจุดนั้นเขียนทุกอย่างเท่าที่นึกออก เอามาเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และเรียบเรียงให้ดีๆตอนนั้นเราก็พูดถึงว่าไทยควรมีบทบาทอย่างไรในสังคมโลกนโยบายแบบนี้เอื้อประโยชน์อย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรและไทยได้แสดงถึงบทบาทเชิงรุกอย่างไรบ้างโดยมีการยกตัวอย่างที่เฉพาะเจาะจงลงไปเพื่อให้เห็นว่า ไม่ได้แค่รู้กว้างๆนะ เรายังรู้ลึกรู้จริงในบางส่วนด้วยโดยข้อนี้เขียนอธิบายไปสองหน้ากว่าๆ

2.2 องค์การระหว่างประเทศ(30 คะแนน) : ในปีนี้ถามเรื่องประเทศไทยกับการเป็นสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยประเด็นนี้เป็นประเด็นที่กระทรวงการต่างประเทศให้ความสนใจมากๆ อยู่พอดีจึงเก็งได้ไม่ยากเท่าไร โดยถามว่า ไทยจะมีวิธีการรณรงค์หาเสียงอย่างไรและไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากการเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC นี้ เรื่องรณรงค์หาเสียงนี่ยากเลยเขียนตั้งแต่การทำการเมืองภายในให้เข้มแข็ง และการแสดงถึงบทบาทและความรับผิดชอบของประเทศไทยที่เราจะสามารถทำได้ต่อเวทีระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เราก็เขียนไปประมาณ สองหน้านิดๆ เช่นเดียวกัน

2.3 กฎหมายระหว่างประเทศ(30 คะแนน) : อันนี้สำหรับคนเรียนกฎหมายมาก็คงจะเลือกทำข้อนี้ ความรู้คดีเมืองได้ใช้แน่นอนในข้อนี้โดยปีนี้ประเด็นที่เป็นที่จับตามองก็คงจะหนีไม่พ้นคดีตีความคดีปราสาทพระวิหาร ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพิ่งจะมีคำตัดสินโดยถามตรงๆ เลยว่า เนื้อหาสาระของคำพิพากษาที่คนไทยควรรู้มีว่าอย่างไรข้อนี้จะต้องทำให้ดีเพราะการเรียนกฎหมายอาจจะทำให้เราได้เปรียบในข้อนี้เพียงข้อเดียวก็เป็นได้เพราะเป็นข้อที่ใช้ศัพท์เทคนิคทางกฎหมายเยอะ เราก็ใช้วิธีการเขียนแบบมีวงเล็บภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อความโดดเด่นนิดหน่อย( ดูในบันทึกที่เราเคยเขียนได้เรื่องสาระสำคัญของคดีจะเขียนในแนวนั้น)
การสอบภาค ข.เป็นการสอบทั้งวันที่ดูดพลังเยอะมาก ดังนั้นต้องเตรียมตัวให้ดีๆพักผ่อนให้เพียงพอ ลืมบอกไปว่าตอนที่ 2 ทีเป็นความรู้สำหรับนักการทูตสามารถเขียนตอบได้  7 ภาษาคือ ไทย อังกฤษ จีน อารบิค สเปน ฝรั่งเศส รัสเซียแต่สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในภาษานั้นจริงๆมีคำแนะนำว่าอย่าเขียนตอบโดยใช้ภาษานั้น ใช้ภาษาไทยให้สละสลวยจะดีที่สุดเพราะกระทรวงการต่างประเทศก็ต้องการคนใช้ภาษาไทยได้ดีเช่นกัน การเขียนภาษาต่างประเทศโดยที่เราไม่ได้เชี่ยวชาญไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบแต่อย่างใดการเขียนภาษาอื่นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 หรือคุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศมากกว่า
การตรวจภาค ข.จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือนเพราะเป็นการเขียนตอบล้วนๆต้องใช้เวลานานในการตรวจ การประกาศผลผู้ที่ได้คะแนนมากกว่า 60% ขึ้นไปจะได้ผ่านเข้าไปสู่การสอบภาค ค.ความเหมาะสมกับตำแหน่ง ซึ่งเป็นการสอบภาคสุดท้าย โดยในตอนนี้คนจะเหลือประมาณ 100 คน (ซึ่งนับว่าเยอะสำหรับปีนี้ที่รับประมาณ50-60 คน)

C. การสอบภาค ค. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง  
ในการสอบภาคนี้ถือว่าเป็นภาคที่ตื่นเต้นมากที่สุด เพราะไม่รู้ว่าเราจะต้องเจออะไร แบบไหน ซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องมีการเข้าค่ายที่ต่างจังหวัดเป็นเวลา3 วัน 2 คืน เพื่อดูพฤติกรรมและทดสอบผ่านกิจกรรมต่างๆ แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ในปีนี้จึงมีการจัดสอบภาค ค. เพียงแค่ 2 วันที่กระทรวงการต่างประเทศโดยในวันแรก จะมีการทดสอบ 2 อย่างคือสัมภาษณ์เดี่ยว และ การพูดในที่ชุมชน (Public Speaking) (โดยตัดการอภิปรายกลุ่ม Group Discussion ออกไป) การเหลือการทดสอบแค่2 อย่างจึงทำให้มีการจัดคิวสัมภาษณ์อย่างแน่นมาก โดยจะใช้เวลาเพียงคนละ 10 นาทีเท่านั้น กรรมการคัดเลือกประกอบด้วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมต่างๆ สื่อมวลชน อาจารย์มหาวิทยาลัย ฯลฯ (ในปีนี้มี 22 ท่าน) โดยเพื่อความโปร่งใสในการสอบคัดเลือก กรรมการจะไม่เปิดโอกาสให้เราแนะนำตัวแต่จะรู้จักเราผ่านป้ายหมายเลขที่ติดอยู่ที่หน้าอกเสื้อสูทเท่านั้น

1. สัมภาษณ์เดี่ยว : คำถามที่เราโดนถามในห้องสัมภาษณ์คือ1. มีการเตรียมตัวสอบอย่างไร 2. ด้วยความเป็นนักกฎหมาย คิดอย่างไรกับรัฐธรรมนูญมาตรา190  3. กฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายภายในต่างกันอย่างไร 4. นอกจาก MLAT แล้วคุณคิดว่าควรจะมีความร่วมมือด้านกฎหมายอะไรอีกในอาเซียน 5. ทำงานอะไรบ้างที่กระทรวงยุติธรรม6. คิดอย่างไรกับการที่อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรมเดินหน้าปฏิรูปกับองค์กรอิสระ7. ปลัดกระทรวงยุติธรรมคนใดเคยเป็นนายกรัฐมนตรี(อันนี้เหวอมากคิดอะไรไม่ออกในห้องสัมภาษณ์ ออกมาค่อยร้องอ๋อ) ถ้าหากไม่ทราบก็ให้ตอบว่าไม่ทราบแต่ก็ควรมีการเสริมอย่างอื่นที่เรารู้ แต่กรณีที่ไม่สามารถไปต่อได้จริงๆ ก็ขออภัยคณะกรรมการไปตามระเบียบในข้อนี้และคำถามสุดท้ายเด็ดที่สุด 8. ภริยาทูตมีบทบาทสำคัญมากในปัจจุบันคุณคิดว่าคุณอยากได้ผู้หญิงแบบใดมาเป็นภริยาในอนาคต (ฮากันทั้งห้อง)  เมื่อถามคำถามเสร็จหมดแล้วท่านปลัดฯก็จะบอกให้เริ่ม Public Speaking ได้โดยใช้เวลา 3 นาที(มีการจับเวลาชูป้ายจริงๆ)

2. Public Speaking : ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์จะมีการเตรียมตัวประมาณ 5-10 นาที ให้เลือกหัวข้อและร่างในกระดาษแต่ไม่สามารถนำกระดาษที่เราร่างเข้าห้องสัมภาษณ์ได้ หัวข้อที่เราเลือกคือ As a Thai Ambassador in International meeting, what would you say about the political situation in Thailand? ซึ่งคล้ายๆกับหัวข้อของการสอบภาค ข. แต่หัวข้ออื่นๆ ที่ให้เลือกก็จะมี จุดแข็งของประเทศไทย การดำเนินนโยบายการต่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างไรบ้าง  คิดเห็นอย่างไรกับโลกไร้พรมแดน (Borderless) ในปัจจุบัน จุดอ่อนและจุดแข็งในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นต้น  เมื่อโดนถามคำถามเสร็จแล้วเราก็จะลืมในสิ่งที่เราร่างไว้หน้าห้องโดยปริยาย ดังนั้น 3 นาทีสุดท้ายจึงต้องพยายามพูดในสิ่งที่มีอยู่ในหัวออกมาดีๆจำไว้ว่าทุกอย่างอยู่ในหัวเราอยู่แล้ว การเตรียมตัวมาอย่างดีจะทำให้ลดอาการตื่นตระหนกได้ ตอน 1 นาทีสุดท้ายให้หาทางจบให้สวยงาม เท่านั้นแหละเป็นอันจบการสอบในห้องสัมภาษณ์ (อย่างรวดเร็วมากๆ)

ในปีนี้ทางกระทรวงยังได้นัดผู้สมัครทุกคนที่ผ่านเข้ารอบมารับประทานอาหารร่วมกันกับปลัดกระทรวงและอธิบดีกรมต่างๆ รวมถึงพี่ๆนักการทูตที่กระทรวงการต่างประเทศในตอนเย็นวันถัดมาด้วยซึ่งก็มีการกินบุฟเฟต์และสนทนากันตามปกติตั้งแต่ 6 โมงเย็นจนถึง 4 ทุ่มเลิกงาน ถ่ายรูปและแยกย้าย อันเป็นการจบการสอบภาค ค. รอลุ้นผลในอีกไม่กี่วันถัดมา ซึ่งจะมีการเรียงลำดับคะแนนโดยรวมจากคะแนนการสอบทั้ง3 ภาค

*การเตรียมตัวสอบนักการทูต*

การสอบนักการทูต เป็นการสอบที่สามารถเตรียมการได้ หมายความว่าอย่างไรก็ตามแม้ไม่ได้เรียนความรู้ที่ต้องใช้มาโดยตรง แต่ทุกคนสามารถที่จะอ่านและทำความเข้าใจและเตรียมตัวเพื่อการสอบได้ ซึ่งเราจะแบ่งการเตรียมตัวสอบดังนี้

1. การเตรียมตัวสอบภาค ก.และภาค ข.
เราเตรียมสองภาคนี้รวมกันเลย เนื่องจากว่าถ้าหากเตรียมสอบแต่ภาคก.อย่างเดียว หากผ่านเข้ารอบไปแล้วจะเหลือเวลาเตรียมภาค ข.เพียงแค่ 1 สัปดาห์เท่านั้นซึ่งไม่ทันควรมีการเตรียมสอบทั้งสองภาคไปพร้อมๆ กันโดยเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่รู้ข่าวที่จะสมัครเลยประมาณเดือนพฤศจิกายนโดยอ่านหนังสือหลายเล่มด้วยกัน เช่น การทูตและการต่างประเทศของ ศ.ดร.อรุณ ภาณุพงศ์, กฎหมายระหว่างประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ ของ อ.จันตรี, Introduction to International Relations เล่มเล็กๆ รวมถึงเว็บกระทรวงการต่างประเทศข่าวสารนิเทศย้อนหลัง วิทยุสราญรมย์ คลิปการเสวนาเกี่ยวกับการต่างประเทศต่างๆ ตรงนี้เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ที่กว้างขึ้นจากกฎหมายระหว่างประเทศที่เรียนมา ในส่วนการหัดทำข้อสอบนั้น เราได้ข้อสอบเก่ามาจากเพื่อนซึ่งมีขายที่กระทรวงการต่างประเทศ กระนั้นแล้วเราก็ตะลุยทำโจทย์เลยโดยความรู้เริ่มจากไม่ถึง5% จริงๆ เจอข้อสอบตอนแรก เหวอมากๆ ทำความรู้รอบตัวแทบจะไม่ได้เลยมีแต่สิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน แต่อย่างที่เรากล่าวไว้ มันเตรียมตัวได้! เราพยายามทำข้อสอบย้อนหลังทุกปีเท่าที่มีแล้วจัดกลุ่มข้อสอบเป็นแต่ละหัวข้อๆ เช่น การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น BIMSTEC, ACMECS, APEC  สถิติที่สำคัญต่างๆ ของประเทศและโลก เช่นส่งออกมากที่สุด นำเข้ามากที่สุด นักท่องเที่ยวประเทศใดเยอะที่สุด วันสำคัญและเหตุการณ์สำคัญต่างๆ  บุคคลสำคัญของโลก ประวัติศาสตร์กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งเราก็ได้มีการจัดทำเป็นชีทสรุปข้อมูลที่สำคัญหรือเก็งข้อมูลที่น่าจะออกสอบในปีนั้น 1-2 วันก่อนสอบ - -“ (เพราะจะต้องทำข้อมูลให้ทันสมัยเนื่องจากบางเรื่อง มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี หรืออาจจะรายเดือน ป่าวหรอกที่จริงเพิ่งจะมาคิดทำสรุปสัปดาห์ก่อนสอบ5555) ส่วนภาค ข.ที่เตรียมไปพร้อมๆกัน นอกจากจะต้องอ่านบทความและข่าวต่างๆ แล้ว หัดเขียนเรียงความทั้งไทยทั้งอังกฤษ แบบแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ หัดแปลบทความทำให้คุ้นเคยกับศัพท์ในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งตรงนี้เราจดลิสต์คำศัพท์ที่ต้องเจอบ่อยๆ ใช้บ่อยๆ ไว้เลย เช่น collaboration, tackle, prosperity, enhance cooperation, development gap เป็นต้น โชคดีที่งานที่กองการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรมก็มีส่วนช่วยเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องมีการใช้ศัพท์แบบในข้อสอบตลอดเวลา จึงได้ฝึกเตรียมการสอบไปในตัวควบคู่กับการทำงานได้

2. การเตรียมตัวสอบภาคค.  
การเตรียมตัวสอบภาคนี้กว้างมากๆ  โดยหลังจากประกาศผลสอบภาค ข. ก็มีเวลาประมาณ 1 เดือนในการเตรียมตัวสอบภาค ค.อย่างแรกเลยคือขอคำแนะนำจากพี่ๆนักการทูตว่าจะต้องเจออะไรบ้างในการสอบภาคสุดท้ายนี้โดยเมื่อได้ข้อมูลและคำแนะนำมาแล้ว สิ่งที่เราทำทุกวันคือ 1. อ่านบทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการต่างประเทศและสถานการณ์ปัจจุบันโดยอ่านจาก The Diplomat, The Economist, National Interest, Foreign Policy, Council of Foreign Relations เป็นต้น 2. ตั้งคำถามกับตัวเองในสิ่งที่กรรมการน่าจะถามและฝึกตอบเองทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 3. ฟังข่าวภาษาอังกฤษ BBC, CNN, NPR อะไรก็ได้(อันนี้บางวันก็ไม่ได้ทำ แต่ต้องพยายามพูดบทความให้ตัวเองฟังเอง) และสิ่งที่ทำประจำสัปดาห์คือเขียนเรียงความเป็นภาษาอังกฤษ ในหัวข้อที่น่าจะโดน Public Speaking เช่น Challenges of ASEAN, of Thailand /Political Turmoil in Thailand / How to promote Thailand? เป็นต้น  โดยครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรม ฯลฯ โดยอาจจะดูจาก Speech เก่าๆที่มีอยู่ในเว็บกระทรวงมาเป็นตัวอย่างด้วย พอเขียนเสร็จก็หัดพูดจากที่เขียนนั่นแหละ โดยอาจจะอ่านก่อนให้เข้าปาก คุ้นกับเสียงคุ้นกับคำศัพท์ เสร็จแล้วก็พยายามไม่ดู และพยายามพูดให้เป็นธรรมชาติมากขึ้น (ราวกับเป็นเอกอัครราชทูตแล้วจริงๆ ) จะเห็นว่าการฝึกแบบนี้จะทำให้เราพัฒนาได้ทุกทักษะจริงๆทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งจะได้ใช้ในห้องสัมภาษณ์จริงๆ

การสอบบรรจุเข้ารับราชการเป็นนักการทูต กระทรวงการต่างประเทศครั้งนี้กินเวลานานถึง6 เดือนตั้งแต่เปิดรับสมัคร (ธันวาคม ถึงพฤษภาคม) ตอนที่เปิดรับสมัครยังคิดอยู่เลยว่าไม่น่าจะเปิดตอนนี้ เพราะตัวเองยังไม่พร้อม ภาษาก็ยังไม่ได้เก่งถึงขั้น แต่อย่างไรก็ตามการเอาชนะความไม่พร้อมต่างๆ ทำได้โดยการเตรียมตัวและความตั้งใจ  อย่าคิดว่าทำไม่ได้จนกว่าจะลองทำมัน เวลาเตรียมตัวมีน้อยนิดจึงต้องใช้เวลาที่มีอย่างคุ้มค่ามากที่สุดมีความอดทน และทุ่มเทกับมัน หากมีความฝันแล้วเราเชื่อว่าทุกคนสามารถทำตามความฝันของตัวเองได้ เพียงแต่อย่าย่อท้อต่อสิ่งต่างๆ ส่วนอาชีพนักการทูต จะมีเส้นทางชีวิตอย่างไรนั้น ต้องรอให้เราเข้าไปสัมผัสก่อนแล้วจะเขียนบันทึกให้ได้อ่านกันในโอกาสต่อไป หวังว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวสอบเป็นนักการทูตไม่มากก็น้อย แล้วเจอกัน :D

ป.ล. หาก กน. หรือ ค่าย กศป.หรือ พรีแคมป์จะมีการแนะแนวอาชีพที่ใช้กฎหมายระหว่างประเทศ หรืออาชีพทางด้านการต่างประเทศก็สามารถติดต่อได้นะครับ (Hard Sale มากก) นักการทูตก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้อาชีพอื่นๆ เลย

10 คุณประโยชน์จากการเรียนกฎหมาย

10 คุณประโยชน์จากการเรียนกฎหมาย
      คุณรู้หรือไม่ว่า มากาเร็ต แทตเชอร์, บารัค โอบาม่า และมหาตะมะคานธี มีอะไรที่เหมือนกัน?  น่าสนใจมากที่พวกเขาต่างก็เป็นผู้นำของโลกที่เรียนกฎหมายทั้งสิ้น  โดยกฎหมายเป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่เก่าแก่ที่สุดในโลกสาขาหนึ่ง เป็นสาขาที่ได้รับการยอมรับมากและมีโอกาสทางการทำงานสูง อย่างไรก็ตาม การเรียนกฎหมายไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องอยู่ในศาลหรือเป็นทนายเสมอไป คุณสามารถทำงานที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในบริษัทเอกชนหรือทำงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ได้ 
      ดังนั้น ลองมาดูกันค่ะว่าการเรียนกฎหมายนั้นมีข้อดีและประโยชน์อะไรให้กับคุณบ้าง แล้วทำไมสาขานี้ถึงได้เป็นที่ต้องการของนักเรียนทั่วโลก
10 คุณประโยชน์สำคัญ
1.เป็นการวางรากฐานสำคัญที่สามารถนำไปใช้ในการเรียนสาขาอื่นๆ
มีสาขาและหลักสูตรมากมายที่สามารถนำมาปรับใช้หรือประยุกต์เอากฎหมายเข้าไปด้วย เช่น ธุรกิจ หรือ บัญชี ซึ่งการผสมผสานนี้มีพลังอย่างมากและทำให้คุณกลายเป็นผู้ที่เหนือกว่าคนอื่นๆในสายงานเดียวกัน
2.มีเส้นทางอาชีพมากมายรออยู่
นอกจากคุณจะสามารถทำงานเป็นทนายแล้ว คุณยังสามารถทำงานในสายสื่อสาร, วิชาการ, การค้าและอุตสาหกรรม, สังคมสงเคราะห์, การเมืองและอื่นๆอีกมาก คุณจะพบว่าการเรียนกฎหมายทำให้คุณสามารถไปไหนก็ได้อย่างที่ต้องการ
3.มีความมั่นคงทางการเงิน
การเรียนจบกฎหมาย อาจจะไม่ได้เป็นการรับประกันความสำเร็จในอนาคตหรือเงินเดือนสูงๆ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ใกล้เคียง เพราะยิ่งคุณมีความเชี่ยวชาญในสายกฎหมายมากเท่าไหร่ ความมั่นคงทางการเงินและปริมาณเงินเดือนก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่กับคุณเอง
4.ได้รับทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ใช้เหตุผลและการคิดวิเคราะห์
ความรู้และทักษะที่คุณได้รับจากการเรียนกฎหมายในการวิเคราะห์สถานการณ์หรือเหตุการณ์ทั้งสองฝ่าย หรือ การแก้ไขปัญหาด้วยการมองสองด้านนั้น ทำให้คุณเป็นผู้ที่แก้ไขปัญหาโดยการหาวิธีที่ดีที่สุดที่ตั้งอยู่บนเหตุผลอย่างมีวิจารณญาณ
5.พลังในการเปลี่ยนแปลง
คุณจะเป็นผู้ที่มีความยุติธรรมอย่างแรงกล้า และปรารถนาที่จะสร้างและพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ดังนั้น คุณสามารถนำกฎหมายไปช่วยเหลือให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนั้นได้
6.ความเคารพนับถือ
นักเรียนสาขากฎหมายมากมายที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมต่างๆ และพวกเขากลายเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของโลกที่ได้รับการยอมรับและเคารพนับถือ  งานของคุณอาจจะไม่ง่ายนักแต่สิ่งที่คุณทำนั้น สมควรแก่การได้รับการเคารพยกย่องจากสังคม
7.การตระหนักถึงสิทธิและความรับผิดชอบ
พลเมืองทุกคนย่อมต้องตระหนักหรือทราบถึงสิทธิของมนุษย์และความรับผิดชอบของการเป็นพลเมือง การไม่รู้หรืออ้างว่าไม่รู้นั้นเป็นข้อห้ามในการเป็นมนุษย์ ซึ่งการเรียนกฎหมายจะทำให้คุณทราบถึงเหตุผลเบื้องหลังว่าทำไมเราทุกคนต้องมีสิทธิเหล่านี้กำกับอยู่
8.พัฒนาความมั่นใจในตนเอง
การเรียนกฎหมายจะเป็นการสร้างพลังของประสบการณ์ นักเรียนกฎหมายมักจะต้องทำงานเป็นกลุ่มและเข้าร่วมแบ่งปันความเห็นหรือโต้แย้งกันในประเด็นต่างๆอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นสถาพแวดล้อมที่ดีในการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
9.สร้างทักษะการสื่อสารและการปรับตัวที่ดี เหมาะกับการทำงานที่หลากหลาย
นักเรียนกฎหมายจะได้พัฒนาทักษะในการหาเหตุผลของคำตอบ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะทางการสื่อสาร, การแก้ไขปัญหาและการคิดนอกกรอบเป็นอย่างมาก  ส่งผลให้นักเรียนที่จบออกไปสามารถประยุกต์กับสถานการณ์ต่างๆในสายอาชีพทุกสายอาชีพได้เป็นอย่างดี
10.ท้าทายสติปัญญา
นี่คือเหตุผลว่าทำไมการเรียนกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมาตรฐานของการเรียนสาขานี้ต้องสูงและมีคุณภาพ นักเรียนจำเป็นต้องมีการแข่งขันอยู่ตลอด ซึ่งถ้าคุณเป็นผู้ที่ชอบท้าทายขีดจำกัดของสมองของคุณแล้วละก็ ประโยชน์ข้อนี้ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับคุณ

น้องๆม.4,5,6 ที่อยากเรียนนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ คลิกเลย!!!!!!!!!! [ No. 56580 ]




"ค่ายพิชิตโดม # 7 ติวสอบตรงนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ "

โดยพี่ๆนิติมธ.เกียรตินิยม Geniuslawtu รุ่นที่ 7
เปิดรับสมัครน้องๆม.4,5,6 ทั่วประเทศ
ดูแลน้องๆครบทุกวิชาที่ใช้ในการสอบตรง
1.GAT
2.เรียงความ
3.ย่อความ
4.ภาษาอังกฤษ
5.วิชากฎหมาย

ระยะเวลาเข้าร่วมโครงการ
(ตั้งแต่สมัครเรียนจนถึงวันสอบตรงและสอบสัมภาษณ์)

**ชั่วโมงเรียนกว่า 92 ชั่วโมง


ค่าใช้จ่าย      2,200บาท





รายละเอียด



www.geniuslawtu.com






www.facebook.com/geniuslawtuclub




โทร 089-1668677 (line,whatsapp) ,

085-3532799 ( BB: 2113CC1A)



พี่ๆทีมงาน GLTU ความสามารถระดับประเทศ!!!!


Double Click on image to Enlarge.



1.พี่ส้มโอ GLTU

พี่ส้มโอ GLTU : สอนวิชา "ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย"

ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บัณฑิต (เกียรตินิยม)
- ประกาศนียบัตร ผลการเรียนดีเด่น ของคณะนิติศาสตร์ มธ.
ปริญญาโท นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สาขา กฎหมายเอกชน
- เนติบัณฑิตไทย
- ประกาศนียบัตรทนายความ


Double Click on image to Enlarge.


2.พี่นิ้ม GLTU

พี่นิ้ม GLTU : สอนวิชา "กฎหมายพิเศษ"

(กฎหมายรัฐธรรมนูญ,กฎหมายปกครอง,กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา,กฎหมายระหว่างประเทศ ,กฎหมายภาษีอากร,กฎมายล้มละลาย ,กฎหมายแรงงาน)

ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บัณฑิต (เกียรตินิยม)
- ประกาศนียบัตร ผลการเรียนดีเด่น ของคณะนิติศาสตร์ มธ.
ปริญญาโท นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สาขา กฎหมายธุรกิจ
- ประกาศนียบัตรทนายความ



Double Click on image to Enlarge.




3.พี่น้อยหน่า GLTU

พี่น้อยหน่า GLTU : สอนวิชา "การกฎหมายแพ่งและพาณิชย์"

ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บัณฑิต (เกียรตินิยม)
- ประกาศนียบัตร ผลการเรียนดีเด่น ของคณะนิติศาสตร์ มธ.
ปริญญาโทนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สาขา กฎหมายภาษีอากร
- ประกาศนียบัตรทนายความ



Double Click on image to Enlarge.


4. พี่ส้มเฉย GLTU
พี่ส้มเฉย GLTU : สอนวิชา "กฎหมายอาญา"
ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บัณฑิต (เกียรตินิยม)
- ปริญญาโท นิติเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
- ประกาศนียบัตร ผลการเรียนดีเด่น ของคณะนิติศาสตร์ มธ.
- เนติบัณฑิตไทย
- ประกาศนียบัตรทนายความ



Double Click on image to Enlarge.


5.พี่กิ๊ก GLTU

พี่กิ๊ก GLTU : สอนวิชา "GAT" , วิชาภาษาอังกฤษ

ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บัณฑิต
- ประกาศนียบัตร ผลการเรียนดีเด่น ของคณะนิติศาสตร์ มธ.
ปริญญาโท นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สาขา กฎหมายระหว่างประเทศ
ปริญญาเอก นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สาขา กฎหมายระหว่างประเทศ


Double Click on image to Enlarge.



6.พี่อุ๋ย GLTU

พี่อุ๋ย GLTU : สอนวิชา "เรียงความ-ย่อความ"

ปริญญาตรี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เตรียมตัวเพื่อเรียน “นิติศาสตร์” กับครูพี่ทาม์ย
           สำหรับน้องๆ ที่สนใจคณะนิติศาสตร์ นั้น การเตรียมตัวก็ไม่ต่างจากคณะอื่นๆ มากนักครับ นั่นคือเรามีอยู่3 ก็อก นั่นคือ ก๊อกแรก คือ “การสอบตรง” ทั้งนี้เพราะในแต่ละมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะที่ธรรมศาสตร์ รับมากถึง 60% ของจำนวนรับทั้งหมด เป็นต้น ก๊อกสอง คือ “แอดมิชชั่น” อันนี้รอนานหน่อย แต่หลายๆ มหาวิทยาลัยก็จะเปิดรับเฉพาะการแอดมิชชั่นเพียงอย่างเดียว เช่นจุฬาฯ ในบางปีก็ไม่เปิดรับตรงเลย ส่วนก๊อกสามนั้น ปลายทางแล้วถ้ายังไม่ได้ในมหาวิทยาลัยรัฐ ไม่เป็นไรเป้าหมายในการเป็นนักกฎหมายยังคุกรุ่นอยู่ ก็สามารถเลือกในเส้นทางนี้ นั่นคือ 1.มหาวิทยาลัยเปิด เช่นรามคำแหง (ซึ่งมีชื่อเสียงมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศในด้านนิติศาสตร์) ก็จะมีทางเลือกซึ่งน่าสนใจ 2 ทางคือ การเรียนที่อื่นๆ ไปด้วย แล้วเรียนที่รามไปด้วย (อันนี้เด็ก มธ. มักจะทำกัน ถ้าขยันก็จบ ไม่ขยันก็ไม่จบ เรียนรามก็ไม่ได้ว่าง่ายนะครับ) หรือจะอีกทางคือเรียนรามอย่างเดียวเลย 2.มหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งในปัจจุบันแทบทุกที่จะมีเปิดสอนนิติศาสตร์ และยังมีหลักสูตรนานาชาติที่ ABAC อีกด้วย
 
           ทีนี้พี่ทาม์ยจะขอเล่าเฉพาะใน 2 ก๊อกแรกก่อนละกันครับ เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่ดีให้กับน้องๆ ที่อยากเรียนในมหาวิทยาลัยปิด ดังนี้ครับ
 
1. การรับตรง
 
1.1 การรับตรงของธรรมศาสตร์ => รับค่อนข้างเยอะ คือรับ 300 คนจากจำนวนรับทั้งหมดต่อปี 500 คน นั่นคือรับตรงเป็นสัดส่วนสูงมากถึง 60% ทั้งนี้ในวิชาที่รับตรงนั้น ประกอบด้วย
(รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.2btopic.com/TU/law.html )
 
1.1.1) วิชาความรู้ทางกฎหมายและทักษะในการใช้กฎหมาย มีสัดส่วนสูงมากถึง 40%
     ซึ่งในวิชานนี้ถือได้ว่าเป็นวิชาที่มีสัดส่วนสูงมากที่สุด เป็นหัวใจของการรับตรงก็ว่าได้ เพราะเป็นทักษะที่ค่อนข้างตรงสาย ทั้งนี้แนวข้อสอบที่ออกจะออกเป็น Multiple Choice ในเนื้อหาตามชื่อวิชา ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเนื้อหาการสอบย่อมออกสูงกว่าที่เรียนๆ กันในวิชาสังคมศึกษาในโรงเรียนอย่างแน่นอน เพราะมันจะมีความละเอียดมากกว่า ซับซ้อนมากกว่า หรือเนื้อหามันสูงกว่าระดับ ม.ปลายทั่วไปนั่นเอง ... แต่ทว่าหากน้องคิดที่จะเริ่มเตรียมตัวแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเรียนเก่งหรือไม่เก่ง จะเรียนไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอย่างที่บอก วิชานี้ออกสูงเกินหลักสูตร ดังนั้นที่เรียนๆ มากันทั้งหลายนั้น แทบจะเป็นศูนย์ ก็ต้องมาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่นั่นเอง ดังนั้นน้องที่เตรียมตัวก่อน ย่อมได้เปรียบ เพราะตัวบทกฎหมายมันเป็นทักษะเชิงตรรกะ คือ Input ยังไง Output อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง (ตามระบบกฎหมายไทย) พูดง่ายๆ คือเรียนซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญมากขึ้นนั่นเอง (ดังนั้นน้องส่วนใหญ่จึงมักเรียนซ้ำหลายรอบ เนื่องจากเป็นเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยเจอ และสูงเกินหลักสูตรนั่นเอง แต่ทั้งนี้การจะเรียนซ้ำหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล ที่ต้องประเมินตนเองครับ)
 
1.1.2) ภาษาอังกฤษ มีสัดส่วน 10%
     วิชานี้ดูเหมือนจะง่าย แต่เอาเข้าจริงต้องเตรียมตัวให้ตรงจุดนะครับ เพราะน้องส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะกี่รุ่นต่อกี่รุ่นเนี่ย ก็มักจะเข้าใจว่า อ่อ สอบภาษาอังกฤษ ก็เรียนหรือเตรียมตัวภาษาอังกฤษตัวเดียว ใช้เหมือนกันได้หมด แต่ทว่าเอาเข้าจริงมัน "ไม่ใช่" เพราะข้อสอบแต่ละยุด มีจุดประสงค์ในการชี้วัดต่างกัน ดังนั้นจะออกข้อสอบเหมือนกันไม่ได้อยู่แล้ว ตามหลักการ (ซึ่งไม่ใช่แค่วิชาภาษาอังกฤษด้วยนะ วิชาอื่นๆ ก็เช่นกันเช่น คณิตศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้นก่อนจะสอบที่ไหน อย่างไรควรศึกษาให้ดีก่อน ใช่ว่าจะถูลู่ถูกังเตรียม ไม่ลืมหูลืมตานะครับ) เพราะว่าการเตรียมสอบ GAT หรือ ONET หรือสอบตรงกลาง ข้อสอบก็จะไม่เหมือนกัน ดังนั้นภาษาอังกฤษของนิติศาสตร์ มธ.ก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้องออกเฉพาะตัว (ทั้งนี้เพราะคณะเป็นผู้ออกข้อสอบและจัดสอบเอง) ซึ่งต้องเตรียมให้ดี และทริกง่ายๆ ที่พี่ทาม์ยจะแนะนำคือ ลองคิดง่ายๆ ว่า ภาษาอังกฤษสอบตรง มธ. ออกโดย มธ. เพราะงั้นมันก็น้องๆ TU-GET น่ะแหละครับ แค่ตัดบางส่วนออก (เพราะฉะนั้นมันไม่เหมือน GAT หรือ ONET แน่นอน) คือยังไง ก็คือมักจะออกเกี่ยวกะบทความ เพราะเค้าอยากรู้ว่า จริงๆ แล้วเนี่ย น้องๆมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษเป็นอย่างไรบ้างนั่นเอง
 
1.1.3) GAT มีสัดส่วน 30%
    ต้องเป็นรอบสอบในเดือน ตุลาคม เท่านั้น และจากสัดส่วนแล้วอย่าลืมนะครับว่ามัน "สูง" จริงๆ ดังนั้นต้องเตรียมให้ดี ทั้งนี้เพราะเตรียมครั้งนี้ก็ยังสามารถเอาไปใช้ยื่นได้ในแอดมิชชั่นอีกด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป
    และแน่นอนว่า หากอยากสอบติดก็ต้องทำคะแนนส่วนนี้ให้ได้คะแนนสูงๆ ไว้ก่อน และแน่นอนควรทำให้ได้เกิน 250 คะแนน จาก 300 คะแนนครั (ไม่ได้ขู่นะ แต่เป็นแบบนี้จริง โดยควรทำในส่วนวิเคราะห์ให้เต็ม 150 ก่อนเพื่อเป็นฐาน แล้วทำภาษาอังกฤษเพิ่มอีก 100 คะแนน)
 
1.1.4) วิชาเรียงความ/ย่อความ มีสัดส่วน 20%
     วิชานี้ไม่ยากและไม่ง่าย ถ้าน้องเป็นคนที่มีทักษะในการจัดลำดับความคิดที่ดี เพราะในส่วนของวิชาเรียงความนั้นจะแสดงให้เห็นถึงทัศนคติโดยรวมๆ ของน้องๆ ถือได้ว่าเป็นคำถามจิตวิทยาพอสมควร แต่ทว่าคำถามจะถามไม่ยากมาก เช่น นักกฎหมายที่ดีควรเป็นอย่างไร เป็นต้น คำถามเรียงความของนิติศาสตร์จะไม่ซับซ้อนและไม่ยากเท่ากับรัฐศาสตร์ ดังนั้นตรงนี้ต้องดูความคิดของตัวเองก่อนว่าตรงกับ Nature ของพวกนิติศาสตร์และธรรมศาสตร์รึเปล่านั่นเอง อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากของเด็กไทย คือเขียนเรียงความไม่เป็น เขียนวกไปวนมา อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ตรงนี้ต้องปรับปรุงและเตรียมตัวให้ดี
     ส่วนการย่อความ ก็ต้องมีทักษะในการจับใจความสำคัญที่ดี (ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานในข้อสอบ GAT วิเคราะห์และภาษาอังกฤษ รวมไปจนถึงการทำหน้าที่นักกฎหมายที่ดีต่อไปในอนาคต) เพราะบางปีออกบทความมากว่า 10 หน้า ให้ย่อเหลือเพียงหน้าเดียวเป็นต้น
 
(ส่วนในคอร์สเตรียมสอบของ TOPIC คือ LAW + ILT + GAT NETWORK + GAT ENG หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.2btopic.com/TU/law.html )
 
      ทั้งนี้น้องอย่าลืมนะครับว่า ทุกวิชาที่ใช้สอบตรงของธรรมศาสตร์นั้นมีความสำคัญที่จะ "ทิ้ง" ไม่ได้แม้แต่วิชาเดียว ทั้งนี้เพราะธธรรมศาสตร์มีระบบการตรวจที่ค่อนข้างแปลก คือจะตอบเป็นขั้นๆ ซึ่งตามในประกาศอย่างเป็นทางการคือ จะคัดผู้ที่ทำคะแนนสอบใน 3 ข้อแรกข้างต้นนั้นสูงสุดจำนวน 1,200 คนแรก เพื่อนำมาตรวจข้อสอบเรียงความและย่อความ แต่ทว่าจริงๆ แล้ว คณะจะเริ่มคัดกรองเป็นส่วนๆ ซึ่งเชื่อกันว่าจะเริ่มตัดกันตั้งแต่วิชา GAT ก่อนว่ามีคะแนนผ่านเกณฑ์หรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ตรวจส่วนอื่นต่อ ถ้าผ่านก็ดูวิชาต่อไปคือวิชากฎหมาย (ซึ่งก็จะพิจารณาเฉพาะวิชากฎหมาย ไม่เอา GAT มารวมแล้ว) จากนั้นถ้าผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ไปต่อ เหมือนบ้านเอเอฟเลย 55 จากนั้นก็มาดูต่อที่ภาษาอังกฤษว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ จากนั้นท้ายที่สุด ก็จะเอาน้องขั้นสุดท้ายจำนวน 1,200 คนมาตรวจเรียงความและย่อความ ซึ่งในขั้นนี้ก็จะพิจารณาเฉพาะการเรียงความและย่อความอย่างเดียวเลย (มีน้องหลายคนประมาท ไม่สนใจเรียงความ/ย่อความ เพราะคิดว่าน่าจะทำส่วนอื่นได้ดีแล้ว และคงจะเกลี่ยๆ กันก็น่าจะติด แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น บางคนเก่งมาก แต่เรียงความไม่ดีก็ตก ก็มีมาแล้ว และมีอยู่ทุกปี) จากนั้นก็มักจะประกาศผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ประมาณ 500 คน แล้วก็สัมภาษณ์ โดยในการสัมภาษณ์ก็เช่นกัน พิจารณาตัดคนว่าติดหรือไม่ติดจากเฉพาะ "คะแนนสัมภาษณ์" เท่านั้น ไม่เอาที่สอบๆ มา มารวมในการพิจารณาตัดสินเลย (ซึ่งจะไม่เหมือนระบบของ จุฬาฯ ที่เรียงคะแนนจากสูงสุดลงต่ำสุดเลย)
      ดังนั้นการเตรียมตัวในทุกขั้นตอนนั้น ห้าม "หลุด" เป็นเด็ดขาด ต้องเตรียมให้ดีทุกๆ ขั้นตอนนั่นเอง ซึ่งก็อย่างที่บอก ไม่ยาก และก็ไม่ง่ายครับ อยู่ที่ความมุ่งมั่น พยายามและความตั้งใจล้วนๆ
 
1.2 สำหรับการรับตรงของจุฬาฯ --> แล้วแต่ปีครับ บางปีรับตรง บางปีไม่รับ ต้องรอดูประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ทว่าในช่วงปี 2553 - 2554 ที่ผ่านมา จุฬาฯได้เปิดสอบตรงในคณะนิติศาสตร์ โดยใช้สัดส่วนคือ
1.2.1) คะแนนสอบวิชา GAT 20%
1.2.2) คะแนนสอบวิชา PAT 1 (คณิตศาสตร์) หรือ PAT7 (ภาษาต่างประเทศ) แล้วแต่ว่าน้องจะเลือกวิชาไหนอีก 20%
1.2.3) วิชาพื้นฐาน (จัดสอบโดยจุฬาฯ) ในวิชาภาษาไทย สังคม และภาษาอังกฤษ อีกวิชาละ 20%
 
(รายละเอียดเพิ่มเติม --> http://www.2btopic.com/chula/law.html )
 
1.3 สำหรับการรับตรงของ มช. => มีรับตรงทุกปี คือ 1.โครงการเรียนดี (รับทั่วประเทศ) อันนี้ต้องดูรายละเอียดในแต่ละปีอีกครั้ง 2.โควต้า จากนักเรียนใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ดังนั้นหากเป็นน้องที่อยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือก็ใช้สิทธิ์ได้เลย โดยจะสอบในวิชาพื้นฐาน ไทย คณิต วิทย์ อังกฤษ สังคม โดยเป็นข้อสอบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง สอบเหมือนกันทุกคณะ แล้วแต่ว่าจะเอาคะแนนไปยื่นคณะอะไร
 
1.4 การรับตรงของมหาวิทยาลัยอื่นๆ => การรับตรงนั้นจะคล้ายกับจุฬาฯ คือมักจะใช้คะแนน GAT + PAT1 หรือ PAT7 หรือวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์, ไทย, สังคม , อังกฤษ ซึ่งต้องติดตามรายละเอียดในแต่ละมหาวิทยาลัย ในแต่ละปีอีกครั้ง ทั้งนี้เพราะในมหาวิทยาลัยอื่นๆ นั้นยังไม่ค่อยมีความแน่นอนในการเปิดรับตรงนั่นเอง
 
2. สุดท้าย การสอบแอดมิชชั่น => แอดมิชชั่น จะใช้คะแนนยื่นดังนี้ คือ GPAX 20%, ONET 30%, GAT 40%, PAT1/PAT7 30% (ซึ่งในปี 2556 8าดว่าจะปรับ GAT เป็น 30% และ PAT1/PAT7 เป็น 20%)
 
ซึ่งจะเป็นได้ว่าวิชาที่น่าจับตามอง และต้องเตรียมตัวให้ดีนั่นคือ GAT นั่นเอง
 
ดังนั้นคอร์สเตรียมตัวของเรา => GAT NETWORK + GAT ENG + PAT1 + ONET ครับ
(รายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
 
"สู้ๆ นะครับ พี่ทาม์ยยังเป็นกำลังใจให้ และ TOPIC ก็ยังมีทุกคำตอบให้น้องอยู่เสมอครับ ด้วยความยินดี ^^"

เรียน "นิติ ธรรมศาสตร์" อย่างคนมีกึ๋น

ตอนนี้กำลังเรียนคณะอะไร สาขาอะไรอยู่?
นิติศาสตร์ ในชั้นปริญญาตรีที่มี มธ ไม่มีสาขาเป็นที่แน่นอนครับ โดยคณะจะกำหนดสาขาขึ้นมา และให้เราเลือกวิชาเลือกให้ครบตามที่คณะกำหนดก็จะได้สาขานั้นครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวิชาเลือกเอง แต่การเลือกสาขาในชั้นปริญญาตรีไม่มีผลอะไรมาก เพราะไม่ว่าเรียนสาขาไหนก็จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์เหมือนกันหมด ความถนัดเฉพาะทางค่อยไปเน้นตอนปริญญาโทครับ
แต่ว่า มีคนชอบแซวว่าผมเรียนสาขากฎหมายอาชญากรสงคราม ^ ^' เนื่องจากมีอาจารย์พ่อเป็นคนญี่ปุ่นกับเยอรมัน

สาขาที่เรียน เรียนอย่างไร เรียนอะไรบ้าง
เนื่องจากผมไม่มีสาขาเป็นพิเศษเลยข้อพูดในภาพรวมนะกั๊บ

วิชาพื้นฐาน
- ตอนเข้าปีหนึ่งทุกคนที่เข้ามาในธรรมศาสตร์จะต้องเรียนวิชาพิ้นฐานก่อน ซึ่งโดยส่วนมากจะเน้นหนักที่ปรัชญาและประวัติศาสตร์ มีภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คอม กับวิทย์กายภาพด้วย แต่ผมไม่ได้เรียนภาษาอังกฤษเพราะคะแนนสอบตรงเกินเกณฑ์ต้องเรียน แต่ว่าการที่ไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษอาจจะไม่ใช่ข้อดีเสมอไป เพราะจะกลายเป็นชนกลุ่มน้อยทันทีครับ เหงา..

วิชาบังคับของคณะ
- คือเรียนวิชาทุกอย่างที่จำเป็นกับการเป็นนักกฎหมายในอนาคต ทั้งสายมหาชน สายอาญา สายแพ่งและพานิช ประมวลเรียนน้านนานที่สุดคือแพ่ง เพราต้องเรียน สัญญาชนิดต่างๆ กฎหมายครอบครัว กฎหมายมรดก สายมหาชนก็เรียนกฎหมายปกครอง รัฐธรรมนูญ

ที่ธรรมศาสตร์จะไม่ใช้การสอนแบบเนติบัณฑิต ที่ธรรมศาสตร์จะสอนหลักทฤษฎีก่อน เพื่อให้แน่น แต่ที่เนติบัณฑิตซึ่งเป็นเลเวลต่อไปจะเน้นฎีกาและคำพิพากษาซึ่งเป็นภาคปฎิ บัติ การวัดผลไม่มีการสอบเก็บคะแนน หรือมิดเทอมใดๆ ทั้งสิ้น สอบไฟนอล 5 ข้อ 100 คะแนนข้อเขียนทุกวิชา ไม่มีการตัดเกรดแบบ A-F แต่ตัดเกรดเป็นคะแนนดิบ ได้ต่ำกว่า 60 ลงซ่อมใหม่สถานเดียวไม่มีข้อยกเว้น  จะแปลงเป็นเกรดเวลาเอาไว้เรียนต่อก็อิงเกณฑ์ ไม่อิงกลุ่ม(คือ ถ้าได้ 85 คะแนนเป็นต้นไปจะได้ A)
ถามว่าเป็นวิธีวัดเกรดที่โหดและเสียเปรียบหรือ เปล่า? คำตอบคือ โหดมาก และเสียเปรียบมาก แต่ว่าถ้ามองในแง่ของการรักษาคุณภาพและความเร้าใจ วิธีนี้ดีที่สุดแล้วครับ

วิชาเลือก
- จะไปท่องนอกคณะหรือในคณะก็ได้ ส่วนมากผมเลือกเรียนวิชานอกคณะเพราะอยากรู้อะไรหลายๆ อย่างครับ อย่างเช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ปรัชญาการเมือง ส่วนวิชาในคณะก็ขึ้นอยู่กับความสนใจ ส่วนมากจะเป็นวิชาเฉพาะทางทางกฎหมาย อย่างเช่น นิติเวช (ถ้าเป็นภาคซัมเมอร์สอนโดยคณาจารย์ภาควิชานิติเวช ศิริราชพยาบาล :D) กฎหมายองค์กรระหว่างประเทศ กฎหมายภาษีอากร กฎหมายญี่ปุ่น

วิชาอึด AKA วิชาไม่ได้เลือกแต่เรียนเพราะเกรงใจอาจารย์
- ที่คณะนิติที่ธรรมศาสตร์จะมีสอนภาษาญี่ปุ่นในสไตล์นักนิติศาสตร์โดยอาจารย์ ชิโอริ ทามุระ (ผู้ชายครับ..) อ. ญี่ปุ่นที่คณะ สำหรับนักศึกษาที่เรียนสายศิลป์ญี่ปุ่นมาก่อน โดยจะแทรกศัพท์กฎหมายลงไปตอนเรียนด้วย เรียนฟรี คณะออกเงินให้ แต่เนื่องจากไม่มีการเก็บเป็นหน่วยกิจ และอาจารย์ที่พูดเร็วมากก คนอึดเรียนจึงน้อย แต่ถ้าเข้ามาก็เรียนเถอะนะ.. โซขอ..

นอกจากภาษา ญี่ปุ่น ที่คณะจัดภาษาเยอรมันให้อีกนะครับ แต่เนื่องจากเจ้าของบล็อกเรียนญี่ปุ่นไปเลย จึงโดนประกาศิตว่า "อย่าเรียนเลย" จากอาจารย์ครับ -[]-

สาขาที่เรียนเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง

- เยอะมาก ทั้งแต่รัฐบรุษยันทรราช (อุ๊ย..) นายก นักการเมือง อบต ผู้มีอิทธิพล ผู้พิพากษา ทนายความ นักการตลาด ผู้ว่าราชการ ผู้ว่ารถไฟใต้ดิน คนดูและลิขสิทธิ์ให้วอลท์ดิสนีย์ อาจารย์คนนึงในคณะเคยพูดว่านิติศาสตร์เป็นวิชาเล่นแล่แปรธาตุจะให้ดีก็ได้ เลวก็ได้ จะให้กฎหมายเป็นนักบุญช่วยคนหรือฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก็ยังได้ ดูอย่างศิษย์เก่าที่เป็นนายกที่ก็มีคาแรคเตอร์ ผสมปนเปไปทั้งสัญญา ธรรมศักดิ์, สมัคร สุนทรเวช, สมชาย วงศ์สวัสดิ์, ชวน หลีกภัย (ไม่ต้องอธิบายต่อแล้วใช่มิ? - -')

สำหรับผมคนเรียนนิติศาสตร์ เหมือนเป็นเจไดครับ จะเข้าดาร์คไซด์หรือเป็นคนดีก็แล้วแต่จะเลือก แต่ว่าให้ทำใจไว้เลยว่า เรียนคณะนี้ในอนาคตมีโอกาสกลับมาฟาดฟันกับเพื่อนร่วมรุ่นร่วมคณะสูงมากครับ


เท่าที่คิดตอนนี้ งานที่ผมจะไม่ทำแน่ๆ คือผู้พิพากษาหรืองานราชการครับ.. ไม่ถูกกับระบบราชการจริงๆ ง่ะ

บอกเคล็ดลับการเรียนในสาขานี้อย่างคนมีกึ๋นมา 1 ข้อ
- อ่านเรื่อยๆ เหนื่อยก็พัก อย่าหักโหม
เรียน คณะนี้และมหาลัยนี้การแข่งขันสูงมาก แต่คนที่ชิวสุดๆ ก็มี เดินทางสายกลางดีกว่า ไปมีชีวิตอย่างวัยรุ่น ออกไปท่องเที่ยวก่อนที่จะสาย อ่านหนังสือไม่ต้องอ่านแต่กฎหมายอย่างเดียวก็ได้ อ่านเยอะๆ นิยาย เรื่องสั้น ฟิควาย อ่านไปเหอะ เพราะกฎหมายมันปรากฎในทุกที่จริงๆ บางทีความรู้ที่เอามาตอบข้อสอบไม่ได้มาจากแค่ประมวลนะจ๊ะ


อยากบอกน้องๆ ที่จะเลือกคณะนี้ว่า??
- อย่าเลือกคณะนี้เพราะพ่อแม่บอกให้เลือก ต้องขู่ไว้ก่อน โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองที่ชอบบังคับลูกให้เรียนนิติทั้งๆ ที่ลูกไม่ชอบ เพราะถ้าไม่มีแม้แต่แรงบันดาลใจแค่เศษเสี้ยว "ทน" เรียนคณะนี้ไม่ได้ครับ จริงๆ นะ = =
- อย่าเลือกคณะนี้เพราะอยากดู Oasis เหมือนเจ้าของบล็อก -[]-
- คณะนี้ในมหาวิทยาลัยต้องมีใจรักจริงๆ ไม่ได้เรียนง่ายๆ ยิ่งเรียนยิ่งรู้สึกว่าชีวิตมีแต่ตรรกะและความเครียด บางทีก็ผิดหวังเพราะกฎหมายบางอย่างโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญมีแต่ในทางทฤษฎี เวิ้นเว้อไปเรื่อยๆ เอาความสุขความสดใสของชีวิตไปเยอะมาก

หลาย ครั้งหลายหนที่อยากเลิกเรียน ไม่เอาแล้ว ไม่เรียนต่อแล้ว ก่อนหน้านี้ไม่นานก็คิดอย่างนั้น แต่ว่าพอเรียนไป ได้กำลังใจดีๆ มาจาก (**เซนเซอร์**) เรียนๆ ไปก็ตกหลุมรักกับการใช้ตรรกะไปแล้วล่ะ สรุปคือเรียนคณะนี้ต้องอึดและมีใจรักจริงๆ

สำหรับน้องๆ หลายคนที่หวั่นไหวกับการเรียนรังสิต ขอบอกว่าอย่างหวั่นไหว จิตวิญญาณธรรมศาสตร์อยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องอาศัยสนามบอลหรือตึกโดมที่ท่าพระจันทร์ ชีวิตที่รังสิตชิวจริงแต่ในแง่หนึ่งก็เป็นการฝึกความรับผิดชอบของตัวเองใน ตัว นิติไม่มีเช็คชื่อ ใส่ไปรเวทเรียนได้ อาจารย์ไม่แคร์ (แต่ไม่ได้ความว่าไม่สนใจนะครับ)เพราะฉะนั้นความรับผิดชอบต่อตัวเองสำคัญ มากๆ ชีวิตที่รังสิตก็มีความสุขดีด้วยครับ เหมือนเมืองมหาลัย ปั่นจักรยานรอบมหาลัย ตลาดนัดของกินอร่อย ว่างๆ ก็ขึ้นรถเมล์ไปดูหนังที่ฟิวเจอร์ เป็นชีวิตที่อิสระและมีความสุขจริงๆ ครับ

ป. ล. วันนี้ไปรับข้อสอบ take home วิชาเลือกศัพท์กฎหมายเยอรมันให้เขียน essay 10 หน้าให้มี   6 topic เกี่ยวกับการเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐเยอรมันนีกับรัฐธรรมนูญราช อาณาจักรไทย

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า หากเรียนกับอาจารย์ต่างชาติไฟแรงและคนน้อยๆ อย่าไปโชว์พาวให้มากนัก..

99 สิ่งที่ได้เรียนรู้ในช่วง 1 ปีของชีวิตนักศึกษานิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์

 
 

1.นักเรียนเกือบครึ่งที่สอบตรงติด จะสละสิทธิเอาไปที่อื่น

2.นักเรียนที่แอดมิดชั่นเข้ามาส่วนใหญ่ ไม่ได้เลือกคณะนี้ไว้อันดับแรก
 
3.เชื่อเถอะ ไม่ว่าปากจะกัดจิกจุฬาฯมากแค่ไหน ลึกๆแล้วทุกคนก็รักจุฬาฯเหมือนกัน (เฉพาะนิสิตที่หน้าตาดี)
 
4.จิตวิญญาณธรรมศาสตร์(หรือจะเรียกว่าอะไรก็เถอะ)คือสิ่งที่นักศึกษาทุกคนบอกว่ามี แต่บอกไม่ได้ว่าคืออะไร
 
5.นิติฯ เป็นคณะที่คนในมหาลัยหมั่นไส้ และรังเกียจมากที่สุดคณะหนึ่ง
 
6.นิติฯ ปกครองโดยระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จแบบฟาสซิสต์ โดยคณะกรรมการนักศึกษาของคณะ
 
7.สันทนาการไม่ใช่ทุกอย่างของคณะ พอใกล้สอบพวกที่เต้นแร้งเต้นกาบ้าๆบอๆพวกนั้น ก็หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านเหมือนกัน
 
8.บางครั้งก็ดูเหมือนว่า เพื่อนเราบางคน ไม่เหมาะที่จะเรียนกฎหมายเอาซะเลย
 
9.การขี่จักรยานไปเรียนทุกวันไม่ใช่เรื่องคลาสสิคหรือโรแมนติค เพราะแดดแรงจนเหลือแต่บรรยากาศรันทด
 
10.การที่ไม่เคยเข้าไปอ่านหนังสือในหอป๋วย ไม่ได้ทำให้คุณได้เกรดแย่กว่าคนที่เข้าบ่อยๆ
 
11.อย่าวัดดวงกับอาจารย์ในวิชาที่เช็คชื่อ เพราะอาจารย์จะชนะเสมอ
 
12.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ แจกซาร่าให้ผู้ป่วยไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคอะไรจริง (วันนั้นข้อเท้าแตก)
 
13.ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ แต่กองบริการศึกษา สามารถเช็คชื่อนักศึกษาหนึ่งพันคนในห้องบรรยายได้
 
14.นักศึกษาโครงการช้างเผือกที่เป็นนักกีฬาบางคน เรียนเก่งกว่านักศึกษาที่สอบติดเข้ามาซะอีก
 
15.ถนนตั้งแต่โรงกลางถึงหอป๋วยจะปิดในช่วงเช้าถึงสาย ให้ผ่านเฉพาะรถโดยสารในมหาลัยเท่านั้น
 
16.AIT หรือสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเช่าที่ของธรรมศาสตร์ในอัตราปีละหนึ่งร้อยบาท แถมมีเนื้อที่ใหญ่กว่ามหาลัยถึงสองเท่า
17.ร้านโชว์ห่วยแถวสะพานสูงขายบุหรี่ถูกกว่า 7-11 หนึ่งบาท

18.ตึกคณะสายศิลป์-สังคม มีลักษณะเป็นตึกสามปีก โดยแชร์กันคณะละหนึ่งปีก มีแค่บัญชีเท่านั้นที่มีสองปีก 
 
19.ไม่มีคลื่นโทรศัพท์ในห้องน้ำของทุกตึกในกลุ่มอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ (SC)
 
20.เนตที่ห้องคอมฯชั้นสองตึกคณะนิติฯ แรงขนลุก
 
21.หอ B6 คือเวนิสแห่งธรรมศาสตร์รังสิต มีขายทุกอย่างตั้งแต่กางเกงยีนส์ เบียร์ บุหรี่ จนไปถึงถุงยาง
 
22.แม้จะดูถูกคณะสายสุขศาสตร์มากแค่ไหน ก็ต้องยอมรับว่าสาวแพทย์หน้าตาดีกว่าสาวบัญชีเยอะ
 
23.กิจกรรมคณะส่วนใหญ่ แม้ผลงานจะออกมาน่าพอใจ แต่ก็มีอันต้องผิดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุกครั้งไป

24.เวลาทำการของสำนักทะเบียนฯไม่มีพักเที่ยง แต่เจ้าหน้าที่จะพักเที่ยงเองตามอัธยาศัย บางทีอาจจะกลับมาบ่ายสาม

 
25.ถ้าต้องขึ้นรถเมล์กลับบ้านในเวลาหลังเที่ยง ให้นั่งแถวทางซ้ายของรถ แดดจะไม่ส่อง
 
26.(จากข้อบน) และพยายามอย่าขึ้นป้ายโรงกลาง ให้ไปขึ้นตั้งแต่ป้ายประตูเชียงราก จะได้ไม่ต้องแย่งที่นั่งกับคนอื่น
 
27.ตลาดนัด ไม่ใช่ตลาดดูตัวอย่างที่เข้าใจกัน เพราะถ้าไม่มากับเพื่อนกลุ่มใหญ่ๆ ก็มากับแฟน
  
28.ร้านชายสี่หมี่เกี๊ยวที่โต้รุ่ง มีประวัติว่าพบแมงสาปในหม้อ
 
29.ถ้าคิดว่าน้ำปั่นที่อินเตอร์โซนอร่อย ลองไปกินที่วจ.หรืออินเตอร์ปาร์ก แล้วจะเปลี่ยนใจ
 
30.ไม่หิวจริงๆ อย่าขอข้าวเพิ่มที่ครัวอินเตอร์ เพราะจะอิ่มจนอ้วก
 
31.บัตรนักศึกษาสำคัญกว่าบัตรประชาชน ยกเว้นคุณจะเป็นคนเที่ยวกลางคืน ซึ่งถ้าคุณมีใบขับขี่แล้ว บัตรประชาชนจะหมดค่าทันที
 
32.คณบดีคณะศิลปศาสตร์ เป็นคณบดีที่เรื่องมากที่สุดในมหาลัย
 
33.กางเกงขาสั้นเป็นแฟนชั่นของสาวๆที่นี่ แต่ขอร้อง ถ้าขาไม่สวย "อย่าใส่"
 
34.การใส่ชุดนักศึกษาชายเต็มยศ(ผูกไท)ไปเรียน เป็นการทำตัวเป็นจุดเด่นโดยไม่จำเป็น
 
35.พอเข้ามาเรียนแล้ว จะพบว่าชีวิตการเรียนที่นี่ไม่ต่างจากรามฯเท่าไหร่
 
36.ฟิวเจอร์ปาร์กรังสิต มีนิกเนมว่า "ด่านสกัดลาว" เพราะรถทัวร์จากอีสานต้องมาจอดแวะที่นี่
 
37.ถ้าคุณเลือกที่จะนอนหอนอกมหาลัย และเต็มใจจะเดินทางสักสามสี่ป้ายรถเมล์ การเลือกหอแถวม.กรุงเทพ ก็เป็นความคิดที่ไม่เลว
 
38.เชียร์ลีดเดอร์ผู้ชาย ไม่จำเป็นต้องเป็นเกย์ทุกคน
 
39.(จากข้อบน) ถึงจะยั่งงั้นส่วนใหญ่ก็เป็น 5555+

40.คุณสามารถเห็นเสื้อใน หรือเสื้อผ้าผู้หญิงแขวนบนราวตากผ้าในหอชายได้ ที่ B7 ชั้นสูงๆหน่อย 

 
41.สะพานลอยหน้าอินเตอร์ปาร์ก มีเหตุผลในการสร้าง เพราะมีเด็กนิติฯเมาแล้วโดนรถชนตายเมื่อสองปีก่อน
 
42.ฟาง พิชญา มิสทีนไทยแลนด์ ได้คะแนนวิชาแพ่งหลักทั่วไป 35/100 คะแนนโดยทำแค่สองข้อ (ข้อละ 20 คะแนน)
 
43.ถ้าขี้เกียจล้างส้วมที่หอ แนะนำให้ไปเข้าที่ตึกไหนก็ได้แถบ SC เผลอๆจะสะอาดกว่าที่หออีก
 
44.นักศึกษาบางคนเข้ามาเพื่อเรียนอย่างเดียว บางคนเข้ามาเพื่อทำกิจกรรมอย่างเดียว แต่ก็มีบางคนที่ไม่ได้ทำทั้ง
สองอย่าง
 
45.ใครเคยบอกว่าตึกเอสไอมีแต่ซุปเปอร์คาร์จอดอย่าไปเชื่อ อยู่มาเทอมนึง เห็นพอร์ชป้ายแดงแค่ครั้งเดียว เด็กเอสไอรึเปล่าก็ไม่รู้
 
46.Aquatic หรือศูนย์กีฬาทางน้ำ ในมหาลัย เป็นสระว่ายน้ำที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย (อย่างน้อยก็ตอนนี้)
 
47.รถ NGV เป็นวัตถุเคลื่อนที่ได้ที่น่ากลัวที่สุดในมหาลัย ไม่มันขับชนเรา ก็เราขับชนมัน
 
 

 
 
48.ลานจอดรถตรงข้ามบร.4 เป็นพื้นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ที่ไม่อยากเห็นภาพบัดสีบัดเถลิง
 
49.อย่าขี่จักรยาน รถป๊อป มอไซค์ หรือขับรถเปิดกระจก ผ่านถนนหลังบร.4 ตรงข้ามหอแพทย์ เพราะจะได้รับกลิ่นอันไม่น่าพึงประสงค์
 
50.รถ Yahama Vino กับ Honda Dio ZX ที่มหาลัยเอามาขายให้นักศึกษา เป็นรถมือสองจากญี่ปุ่น แม้สภาพจะดูใหม่กิ๊กก็ตาม

51.น้ำดื่มโดม สุดยอดน้ำดื่มแห่งโลกา ราคาห้าบาท มีที่มาจากงานบอลเมื่อสองสามปีก่อน ที่น้ำดื่มที่ไว้แจกบนแสตนด์ ต่อมากลายเป็นน้ำดื่มประจำมหาวิทยาลัย
 
52.ห้องอาหารประชาชน หรือ The People เป็นร้านอาหารที่หรูที่สุดในธรรมศาสตร์ แต่บริการห่วยแตก และราคาไม่น่าอภิรมณ์ ไม่ค่อยมีคนเข้า แปลกที่ยังไม่เจ๊ง
>> เจ๊งแล้ว มี Anna House แทน แพงเหมือนเดิม แต่อร่อยย
 
53.แทบเป็นไปไม่ได้ที่คุณจะไม่เห็นเชียร์ ฑิฆัมพร ในธรรมศาสตร์รังสิตเลย เพราะคุณมีโอกาสเห็นเธอได้ตั้งแต่เช้าที่ตึกเรียน จนกลางคืนในทีวี
 
54.ช่องโทรทัศน์ของสำนักทรัพย์ฯ เอา VCD และ DVD ของหนังใหม่ และเก่าหลายเรื่องมาฉาย ระวังเสียอารมณ์ถ้าเจอDVD ที่แปลแบบชุ่ยๆ
  
55.วันสอบตรง โดยเฉพาะของนิติฯ ถ้าคุณเป็น staff จะพบความจริงอันน่าเหลือเชื่อว่า เด็กบางคนมาถึงตึกสอบตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง
 
56.(จากข้อบน) แม้จะประกาศไว้โดยละเอียดว่า จะประกาศผลสอบทางอินเตอร์เนตเท่านั้น แต่วันประกาศผลก็ไม่วายจะมีผู้ปกครองมาดูผลที่มหาลัย
 
57.อย่าให้ภาพลักษณ์ของเด็กสถาปัตย์หลอกคุณได้ เพราะนี่คือหนึ่งในคณะที่มีค่าเล่าเรียนสูงที่สุดในมหาลัย
 
58.แม้ระเบียบว่าด้วยเครื่องแบบนักศึกษาชายจะระบุว่ากางเกงขายาวสีกรมท่า แต่อย่าได้ใส่เชียว เพราะคนทั้งมหาลัยจะคิดว่าคุณเป็นนิสิตจุฬาฯ
 
59.ชุมนุมพุทธฯ ของธรรมศาสตร์ เป็นสายธรรมกาย
 
60.ยุงธรรมศาสตร์ คาดว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในอะเมซอน หรืออาจเป็นยุงทดลองของ AIT ที่หลุดออกมา มันสามารถกัดทะลุกางเกงยีนส์ หรือแม้กระทั่งคัทชูได้
 
61.ถ้าต้องทำกิจกรรมคณะ/มหาลัย ที่ต้องใช้อุปกรณ์หนักเช่น คัทเอาท์ ไม่ต้องลงทุนซื้อ หาเพื่อนอยู่ถาปัดแล้วให้มันตบมาให้
 
62.อย่าตกใจถ้าเดิน/ขี่จักรยานผ่านหอพระตอนกลางคืนแล้วได้ยินเสียงดนตรีไทย เพราะชุมนุมดนตรีไทยตั้งอยู่ที่นั่น และพวกนั้นชอบเล่นกันมืดๆ
 
63.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ เป็นอาจารย์
 
มหาวิทยาลัยที่ออกโทรทัศน์บ่อยที่สุดในโลกก็ว่าได้
 
64.รองเท้าแตะที่ราคาเกิน 59 บาท สามารถใส่เดินเข้าหอป๋วยได้ แต่ถ้าเป็นแบบหนีบหมดสิทธิ
 
65.ค่าแท๊กซี่จากหมอชิตมาหน้า SC รวมค่าโทลล์เวย์แล้ว อยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 210 บาท
 
66.ถ้าคิดจะไปหาเพื่อนที่จุฬาฯแบบประหยัดโดยนั่ง ปอ.29 ไปแนะนำให้เลิกคิด เพราะมีคนทำสถิติไว้ 3 ชั่วโมง 49 นาทีจากรังสิต
 
67.ร้านชิตังเม หน้าหอทรงพิเชษฐ์ มักจะมีเมนูแปลกๆเป็นอาหารแนะนำ ตั้งแต่นกกระจอกเทศยันจระเข้ ลองไปกินได้ถ้าไม่ถือสาแม่ครัวมารยาททราม

68.ตึกโดมบริหารหรือโดมเปลือยเมื่อเปิดไฟยามค่ำคืนจะสะท้อนกับสระน้ำด้านหน้าเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ
 
69.ห้องบรรยายพันคนที่บร.4 เพดานด้านบนถูกลอกสีเพื่อเตรียมทาสีใหม่ แต่ยังไม่เห็นทาสักที จนผิวเพดานร่วงใส่หัวนักศึกษาหลายรอบแล้ว

70.นักศึกษารหัส 50 อาจไม่มีโอกาสได้พบตำนานแห่งผับบาร์แถบเชียงราก เพราะมีข่าวว่าปิดบริการมาร่วมสัปดาห์แล้ว
 
71.ถ้าพอจะมีเงินติดตัวยามเจ็บป่วย อย่าบอกหมอเวรวอร์ด ER ที่รพ.มธ.ว่าใช้สิทธิประกันภัยนักศึกษา เพราะอาจต้องรอจนทนพิษบาดแผลไม่ไหว ตายอยู่ตรงนั้น
 
72.(จากข้อบน) ถ้าค่อนข้างมีเงินใช้ แนะนำให้ไปใช้บริการโรงพยาบาภัทร-ธนบุรี ที่อยู่ห่างออกไปจะดีกว่า
 
73.ตัว*** หรือตัวเงินตัวทอง มีอยู่ทั่วไปในบริเวณมหาลัย แต่พบเห็นได้ยาก ยิ่งถ้าใครเห็นตอนกำลังว่ายน้ำอยู่ นับว่าโชคดีมาก
 
74.การทาซอฟเฟลไม่ได้ช่วยกันยุง แถมเรียกยุงมามากขึ้นเพราะผิวหนังจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น (ยุงมองเห็นด้วยความร้อน)
 
75.เวรยามทุกจุดของธรรมศาสตร์ผลัดเวรตอน 7 โมงเช้า และ 1 ทุ่มของทุกวัน
 
76.นักเรียนประถมธรรมศาสตร์ หรือนักเรียนมัธยมธรรมศาสตร์ คลองหลวง คือเด็กแซ๊ป สก๊อย ดีๆนี่เอง
 
77.ทันทีที่ตึกสถาปัตย์สร้างเสร็จ มันจะกลายเป็นตึกที่หรูที่สุดแทนตึก SMEs ทันที มีข่าวลือว่ามีสระว่ายน้ำในตึกคณะด้วย
 
78.ธรรมศาสตร์ รังสิต กำลังจะมีตึกกิจกรรมนักศึกษา หลังจากนักศึกษาเรียกร้องกลับท่าพระจันทร์โดยอ้างเรื่องตึก 
กิจกรรม
 
79.(จากข้อบน) นอกจากนี้ยังมีการผุดหอพักใหม่รอบมหาลัย เพราะมีเสียงบ่นเรื่องหอไม่พอ
 
80.การออกจากห้องสอบก่อนชาวบ้าน เหมือนตอนม.ปลาย ไม่ใช่เรื่องน่าอายสำหรับการเรียนมหาวิทยาลัย
 
81.รถตู้ท่าพระจันทร์-รังสิต ไม่เคยออกรถตามตารางเวลา อาศัยว่ารถเต็มเมื่อไหร่ก็ออกเมื่อนั้น
 
82.วง TU Folk Song เล่นดีกว่า TU Band
 
83.ร้านเนต Aggie ที่บร.1 ค่าชม.แพงมาก แต่ปริ้นท์ถูก แผ่นละ 2 บาทเท่าป๋วย แต่ใช้กระดาษ Double A
 
84.วิชา TU153 มีชื่อวิชาว่า General Concept of Computer แต่ขอโทษ คุณจะไม่มีทางได้แตะคอมฯ จนกว่าจะถึงคาบWorkshop ที่มีแค่คาบเดียว
 
85.บางครั้งการรอคิวซักผ้าที่เครื่องหยอดในหอ อาจยาวนานกว่าการส่งซักที่ร้านซักรีด
 
86.หอ B4 หญิง เป็นหอที่ขึ้นชื่อว่า หอรวมดาว เพราะสาวสวยสิงอยู่หลายคน (ของเขาดีจริง)
 
87.หนังสือ คู่มือสอบตรงคณะนิติศาสตร์ ของ GOK ไม่ใช่ของธรรมศาสตร์ เป็นของเอกชนสั่งพิมพ์ที่โรงพิมพ์ธรรมศาสตร์เฉยๆ
 
88.ก๋วยเตี๋ยว ที่บร.4 เป็นก๋วยเตี๋ยว custom made คือสั่งได้ตั้งแต่เส้น น้ำ เครื่อง ว่าจะใส่อะไรบ้าง
 
89.กาแฟ ร้าน Meet Dome ที่ชั้นสอง SC เป็นกาแฟที่แรงที่สุดในมหาลัย
 
90.การใส่เสื้อที่บ่งบอกว่าคุณเป็นประชากรธรรมศาสตร์ออกนอกมหาลัย ทำให้คุณหน้าตาดีขึ้น 10-30%
 
91.ตึก O.P.D.(อาคารผู้ป่วยนอก)ของรพ.มธ. ดูหรูหราไฮโซมาก แต่ถ้าพิจารณาดีๆ สภาพมันจะเหมือนโรงพยาบาลสนามในสงคราม
 
92.อมธ. ไม่ใช่หน่วยงานของนักศึกษาที่มีอำนาจมากที่สุดในมหาลัย ชุมนุมเชียร์ต่างหาก
 
93.(จากข้อบน)อมธ.หรือองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนิกเนมว่า "อนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"
 
 
94.การใส่เสื้อเชียร์จุฬาฯเดินในธรรมศาสตร์เป็นเรื่องสนุก แล้วก็มีคนทำกันเยอะแยะ
 
95.บริเวณหน้ายิม 2 (อนุสาวรีย์อาจารย์ปรีดี) มีสิ่งมหัศจรรย์สามอย่าง คือ 
1.ปีระมิดแก้วของลูฟว์ 
2.สโตนเฮนจ์ในอังกฤษ
 3.หอไอเฟลในปารีส (ไม่เชื่อไปมองหาดู)

96.ปั๊มน้ำมันตรงข้ามตึกเอสไอ ปิดสามทุ่ม (เมื่อก่อนนะ ตอนนี้ไม่รู้เปิดรึยัง)
 
97.เหมือนที่ท่าพระจันทร์ มีคนคิดว่าแท้งค์น้ำตรงประตูเชียงราก คือตึกโดม
 

 
98.อีกสถิตินึงจากท่าพระจันทร์ มีรุ่นพี่ขับรถวนรอบสนามหลวงตอนห้าโมงเย็น ใช้เวลาต่อหนึ่งรอบที่สามชั่วโมง !!!!!
 
 99. ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน