วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เทคนิคเดาสำนวนฝรั่งเศสใน PAT7.1 อย่างเซียนๆ (Comment deviner l’expression française dans le PAT7.1)

เทคนิคเดาสำนวนฝรั่งเศสใน PAT7.1 อย่างเซียนๆ (Comment deviner l’expression française dans le PAT7.1)

เมื่อพูดถึงข้อสอบ PAT ภาษาฝรั่งเศส ในเรื่องของคำศัพท์ การอ่าน บทสนทนา (Acte de Parole) หรือว่าจะเป็นไวยากรณ์ มันก็ยังเป็นที่สามารถเดาได้ง่าย เพราะอย่างน้อยมันก็ผ่านหน้าผ่านตาทุกคนกันบ้างละน่า แต่ยังไงซะ เราเชื่อว่ามันต้องมีเรื่องนึง ที่ทุกคนส่วนใหญ่ต้องอ้าปากค้าง เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่เคยเจอมาก่อน หรือเห็นแล้วสตั๊นไป 2740 วินาที (เอ่ออออ) นั่นก็คือ…

“สำนวนภาษาฝรั่งเศส” หรือที่เราเรียกว่า
“Les expressions françaises” นั่นแหละ
(บางทีอาจจะเรียกว่า proverbes ได้เช่นกัน)

เชื่อว่าพูดถึงสำนวนภาษาฝรั่งเศส ใครๆมันก็ต้องบอกว่ายากหมดแหละ ขนาดเราเป็นคนสอนเอง ยังจำได้ไม่หมดเลย เพราะสำนวนภาษาฝรั่งเศสมันมีเยอะมากกกกกกกกกกกกกก แต่เราคิดว่า มันก็ต้องมีเทคนิคเอาตัวรอด หรือท่าไม้ตายปะวะ? ไม่งั้นมัวแต่มานั่งท่องจำ ก็ตายห่ากันหมดเลยน่ะสิ
แต่เอาล่ะ มันจะมีข้อสอบ PAT ที่ออกเรื่องสำนวนภาษาฝรั่งเศสเนี่ยแหละ อยู่ทั้งหมด 2 แบบหลักๆเลยคือ

1.) ขีดเส้นใต้สำนวนตรงโจทย์ แล้วมีประโยค keyword ให้เราเดาต่อ

ข้อสอบแพทเทิร์นแบบนี้ มันก็จะง่ายขึ้นมาหน่อยกับการทำข้อสอบคือจะมีสำนวนมาให้ แล้วมีประโยค keyword มาให้เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการเดา ในกรณีที่แบบเห้ยย มันเป็น unseen อ่ะเรามาลองดูตัวอย่างกันเล็กๆน้อยๆ
– Tu ne vois plus Jean-Charles ?
– Ah non, depuis qu’il est devenu directeur, il a la grosse tête. Il ne parle plus aux vieux copains !
Qu’est-ce que cela veut dire les mots soulignés ?
1) il a mal à la tête
2) il est furieux
3) il est très occupé
4) il est prétentieux
เมื่ออ่านจากโจทย์ได้แล้ว ก่อนอื่นเลยให้เราหาประโยค keyword เพื่อนำไปซึ่งคำตอบก่อน นั่นก็คือประโยคที่ว่า“Depuis qu’il est devenu directeur, il ne parle plus aux vieux copains” ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่น่าจะแปลได้อยู่แล้ว นั่นก็คือ “ตั้งแต่ที่กลายมาเป็นผู้อำนวยการ เขาไม่คุยกับเพื่อนเก่าๆอีกเลย” แสดงว่าไอ้ Jean-Charles เนี่ย มันทำไม มันปวดหัวหรอ ? มันโกรธหรอ ? มันไม่ว่างหรอ ? ดูแถๆยังไงก็ไม่รู้ ที่มันเข้าคีย์เวิร์ดจากประโยคมากที่สุดก็คือ มันหยิ่งนั่นแหละ เนื่องจากสำนวน avoir la grosse tête มีความหมายเท่ากับคำว่า être prétentieux หรือหยิ่งยโสนั่นเอง

อ่ะทีนี้ลองมาดูอีกข้อนึงละกัน
จากข้อสอบ PAT เดือนตุลาคม 2552
“Actuellement, il y a beaucoup de bruit dans les grandes villes. Il faut s’y faire
Que signifie l’expression soulignée ?
1) aimer cela
2) continuer cela
3) s’habituer à cela
4) se débarrasser de cela
เทคนิคอันสุดแสนจะซิมเปิ้ลของเราเลยก็คือ หาประโยคคีย์เวิร์ดก่อน นั่นก็คือประโยคที่ไม่ได้ขีดเส้นใต้นั้นแหละ ก็คือ “Actuellement, il y a beaucoup de bruit dans les grandes villes” และแน่นอนว่าเราก็ต้องมาดูในตัวเลือกที่เขามีให้มาว่า เอ้ะ จะตอบอะไรดีหว่าาาาา?
ข้อนี้เค้าวัดกันที่สำนวนที่อยู่ในรูปของกริยานั่นเอง ซึ่งถ้าหากเราเอาตัวเลือกต่างๆมาต่อกับประโยคคีย์เวิร์ดอ่ะลองมาดู
ข้อที่ 1. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องรักมัน – แย่มาก ไม่ถูกแน่นอน
ข้อที่ 2. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องดำเนินมันต่อไป – ใครห้ามตอบนะ ประโยคโคตรไม่ make sense
ข้อที่ 3. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องคุ้นเคยชินกับมัน – ดูดีอยู่นะ อ่ะลองดูข้อสุดท้าย
ข้อที่ 4. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องเอาตัวรอดจากมัน – อย่างกับเสียงดังอันนั้นเป็นระเบิดฮิโรชิม่า บ้าป่าว เกินไป
สรุปแล้วข้อที่มันน่าจะถูกต้องมากที่สุด มันก็คือข้อที่ 3 เพราะว่าสำนวน s’y faire แปลว่า คุ้นเคยชิน หรือ s’habituer นั่นเองคร้าบบบ

2.) ไม่มีอะไรมาให้เลย มีแต่สำนวน proverbes แล้วถามความหมายเลย 

อันนี้ถือว่าเป็นไม้ตายเลยทีเดียว เพราะมันไม่มีอะไรมาให้เลยนอกจากประโยคในรูปของสำนวนนั้นๆ แล้วก็ถามคำถามว่า “สำนวนดังกล่าวหมายถึงอะไร?” โอโหหหหหห สำนวนภาษาไทยบางอันยังไม่รู้เลย ให้มาท่องภาษาฝรั่งเศส งามไส้แล้วไหมล่ะ อ่ะ ลองมาดูข้อสอบตัวอย่างสักนิดหน่อยแล้วกัน แล้วมาดูกันว่า เทคนิคจะมีอะไรกันบ้าง
“Tu campes sur tes positions.” Cela veut dire que……. (ข้อสอบ PAT กรกฎาคม 2552)
1) tu fais du camping sur le terrain précis
2) tu acceptes de modifier ton opinion
3) tu fais les choses dans le bon ordre
4) tu refuses de changer d’avis
จากข้อสอบ แน่นอนว่ามันต้องแปลเป็นอะไรที่แบบไม่ใช่ความหมายเดียวกันกับที่สำนวนเค้ามีมาให้แน่นอน ถ้าหากเราไม่รู้จริงๆ ให้ดูที่สำนวน แล้วแปลตรงตัวไปก่อน จากสำนวนที่เค้าให้มามันคือ camper sur tes positions แปลตรงตัวก็ ตั้งแคมป์ในตำแหน่งของเธอ ถ้าเราลองคิดดูว่าตั้งแคมป์มันก็เหมือนปักหลัก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการโยกย้าย ยินยอมที่จะอยู่บนจุดยืนของตนเอง ดังนั้น ประโยคที่น่าจะ make sense กับสำนวนที่ให้มามากที่สุดคือ ข้อ 4 นั่นเอง เพราะว่า camper sur tes positions = refuser de changer d’avis

อ่ะให้อีกข้อนึงง่ายๆ
Dévorer un livre, c’est ……..  (ข้อสอบ PAT กรกฎาคม 2552)
1) lire un livre en prenant un repas
2) lire un livre de recette passionnante
3) mordre un livre qui ne nous plaît pas
4) lire avec beaucoup d’intérêt un livre qui nous passionne
คิดไม่ออก ก็แปลมันตรงตัวเลย ก็คือ dévorer un livre แปลว่ากลืนเขมือบหนังสือ เออ แต่สำนวนบ้านไหนมันจะแปลตรงตัวขนาดนั้นหล่ะ? มันน่าจะแปลให้ความหมายมันสละสลวยกว่านี้ก็คือข้อ 4 เพราะว่ากลืนเขมือบหนังสือ เหมือนเราเสพหนังสือ กินหนังสือเข้าไปเลย ไม่ได้หมายความว่าอ่านหนังสือในขณะทานอาหาร อ่านหนังสือสูตรอาหาร หรือว่าจะกัดกินหนังสือที่เราไม่ชอบอ่าน ก็แย่แล้ว ดังนั้น dévorer un livre = lire avec beaucoup d’intérêt un livre qui nous passionne

อ่ะแถมๆให้อีกข้อเผื่อยังไม่เกท
“Cette affaire a fait beaucoup de bruit.”
Que veut dire l’expression en gras ?
1) On a beaucoup parlé de cette affaire
2) Cette affaire nous fait mal aux oreilles
3) On a entendu du bruit pendant cette affaire
4) Cette affaire a provoqué une explosion
อ่ะแปลตรงตัวก่อนเลยว่า สิ่งๆนี้มันทำเสียงอึกทึกครึกโครมมาก พอแปลได้แบบนี้แล้วเราจึงมาไล่ดูในตัวเลือกของเรา โดยที่ห้ามตอบตัวเลือกที่แปลเหมือนที่เราแปลตรงตัว แต่ให้เทียบโดยใช้การเปรียบเทียบเอานั้นแหละ ดังนั้น ข้อที่ 2, 3, 4 โคตรจะแปลตรงตัว คือ มันทำให้เจ็บหู พวกเราได้ยินเสียงดัง หรือเรื่องสิ่งนี้มันทำให้เกิดการปะทุระเบิด โอโห โคตรจะตรงเกินไปไหมพี่ ดังนั้นข้อที่ไม่ได้แปลตรงตัวเหมือนตามที่เราแปลตอนแรกก็คือข้อ 1 ที่ถูกต้อง เพราะว่า มันทำให้เกิดเป็นเรื่อง talk of the town นั่นเองจ้า (faire beaucoup de bruit = on a beaucoup parle de cela)

สรุปคือเทคนิคในการเดาสำนวนภาษาฝรั่งเศสคือ

1. ในกรณีที่มีประโยคคีย์เวิร์ดมาให้ ให้หาประโยคคีย์เวิร์ดแล้วแปลประโยคคีย์เวิร์ดนั้น แล้วหาประโยคที่เข้าความหมายกับประโยค
2. ในกรณีที่ไม่มีอะไรมาให้เลย ให้แปลสำนวนนั้นแบบตรงตัว ตรงความหมายไปก่อน แล้วหลังจากนั้น ให้หาคำแปลของประโยคนั้น ที่ไม่ได้แปลตรงตัว หรือให้หาประโยคที่เปรียบเทียบแล้วเมคเซ้นส์มากที่สุด เกทหรือเปล่า ถ้ายังไม่เกท ขึ้นไปอ่านตัวอย่างนะ (ตัวอย่าง dévorer un livre ดีมากๆ ลองทำความเข้าใจ)

จบไปแล้วกับบทความง่ายๆ ที่จะให้ทุกคนๆที่เตรียมตัวสอบนั้น ได้รับเทคนิคท่าไม้ตายในการพิชิตข้อสอบ PAT ภาษาฝรั่งเศสในพาร์ทของสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหลายแหล่ในภาษาฝรั่งเศสนะครับ แล้วเจอกันใหม่ entry หน้า
บั้ยบายยยยย
โจม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น