วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Le Passé Composé




      ใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตทั่วๆไป โดยไม่เน้นระยะเวลา

โครงสร้างของ Le Passé Composé คือ
     1. กิริยาช่วย ได้แก่ V.avoir หรือ V.être
     2. กิริยาแท้ ซึ่งเปลี่ยนเป็น Le Participe Passé (P.P.)
          ดังนั้น โครงสร้างของ Le Passé Composé คือ V.avoir/V.être + P.P.

การเปลี่ยน V. เป็น P.P.
     1. ประเภท V.gr.1 ลงท้ายด้วย -er เปลี่ยนเป็น P.P. คือ ตัด er ออกแล้วเปลี่ยนเป็น é เช่น          V.parler     >     parlé                         V.aller     >     allé                        V.manger     >     mangé

     2. ประเภท V.gr.2 ลงท้ายด้วย -ir เปลี่ยนเป็น P.P. คือ ตัด r ออก เช่น
          V.finir        >     fini                            V.réussir >     réussi                    V.punir     >     puni
     3. ประเภท V.gr.3 ไม่มีการกำหนดตายตัวว่ากิริยาทุกตัวต้องมีกฏการเปลี่ยนเช่นเดียวกัน ดังนั้นต้องใช้วิธีการจดจำ P.P. ที่สำคัญใน V.gr.3 ได้แก่
          V.avoir          >     eu                   V.être          >     été                    V.pouvoir      >     pu          V.vouloir      >     voulu              V.venir        >     venu                 V.tenir            >     tenu
          V.courir        >     couru            V.voir          >     vu                      V.savoir         >     su
          V.croire        >      cru                V.pleuvoir  >     plu                    V.lire               >     lu
          V.conna
ître  >     connu            V.devoir     >     dû                       V.attendre      >     attendu
          V.vendre      >     vendu              V.r
épondre >     répondu           V.entendre     >    entendu
          V.d
éfendre   >     défendu           V.perdre     >     perdu               V.recevoir      >     reçu
          V.vivre          >     v
écu                 V.dire          >    dit                     V.écrire           >     écrit
          V.faire           >      fait                 V.construire  >  construit        V.conduire     >     conduit
          V.prendre     >      pris                V.comprendre > compris          V.mettre          >     mis
          V.s'assoir     >      s'assis           V.mourir      >     mort               V.na
ître           >     né
          V.offrir          >      offert              V.ouvrir      >     ouvert             V.couvrir        >     couvert
          V.d
écouvrir  >      découvert       V.suivre      >     suivi                V.sourire         >     souri
          V.
éteindre    >       éteint             V.peindre    >    peint                 V.falloir           >     fallu
     โดยทั่วไปแล้ว V.ส่วนใหญ่จะใช้กับกิริยาช่วย V.avoir มีเพียงบางตัวเท่านั้นที่ใช้กับ V.être คือ
     1. กิริยาที่แสดงให้เห็นเป็นช่วงเวลาอันสั้น ได้แก่
          V.aller , V.passer , V.entrer , V.rentrer , V.partir , V.sortir , V.monter , V.tomber , V.descendre , V.rester , V.retourner , V.arriver , V.venir , V.revenir , V.devenir , V.demeurer , V.mourir , V.décéder , V.naître

     2. V.prenominal หรือ กิริยาที่มี se นำหน้า เช่น V.se promener , V.se lever , V. se laver  โครงสร้าง คือ se + V.être + P.P.

*ทุกครั้งที่ใช้ V.être เป็น V.ช่วย ต้อง accord ตามเพศและพจน์ของประธาน คือ
     1. ประธานเพศหญิง เอกพจน์เติม e หลัง P.P.
     2. ประธานเพศชาย พหูพจน์ เติม s หลัง P.P.
     3. ประธานเพศหญิง พหูพจน์ เติม es หลัง P.P.
   เช่น
          Je suis allé(e).                    Tu es allé(e).                    Il est allé.                    Elle est allée.          Nous sommes allé(e)s.     Vous êtes allé(e)s.          Ils sont allés.              Elles sont allées.
          Je me suis levé(e).             Tu t'es levé(e).                 Il est levé.                  Elle est levée.          Nous sommes levé(e)s.    Vous êtes levé(e)s.         Ils sont levés.            Elles sont levées.          

                 
    ประโยคทั่วไปของ Le passé composé เป็นดังนี้
                    V.adoniser (ตกแต่งอย่างสวยงาม)                              V.endolorir (ทำให้บาดเจ็บ)
       J'ai adonisé.                    Nous avons adonisé.               J'ai endilori.               Nous avons endolori.
       Tu as adonisé.               Vous avez adonisé.                   Tu as endolori.         Vous avez endolori.
 Il / Elle a adonisé.         Ils / Elles ont adonisé.              Il / Elle a endolori.     Ils / Elles ont endolori.

                    V.partir (ออกเดินทาง)                                             V.s'ébahir (ตะลึง พูดไม่ออก)
       J'ai parti(e).          Nous sommes parti(e)s.     Je me suis ébahi(e).   Nous nous sommes ébahi(e)s.
       Tu as parti(e).      Vous êtes parti(e)s.            Tu t'es ébahi(e).         Vous êtes ébahi(e)s.
       Il a parrti.              Ils sont partis.                     Il s'est ébahi.               Ils se sont ébahis.
       Elle a partie.         Elles sont parties.               Elle s'est ébahie.         Elles se sont ébahies.

กฏการ accord 
     นอกจากการต้อง accord ตามพจน์และเพศของประธาน ในกลุ่มกิริยาที่กระจายกับ กิริยาช่วย V.être แล้ว ยังมีกฏการ accord กฏอื่นอีก คือ
    
      1. ตามปกติ V.ที่ใช้ V.avoir ช่วย จะไม่ accord ตามประธาน แต่หากว่ามีกรรมตรงวางอยู่ด้านหน้า V.avoir แล้ว ตัว P.P. ต้อง accord ตาม เพศและพจน์ของกรรมตรง เช่น
          Nous avons vu les enfants.     ---     Nous les avons vus.
          Il a vendu sa voiture.                 ---    Il l'a vendue.
          Mes valises! Je les ai oubliées.
     2. V.monter , V.descendre , V.entrer , V.sortir , V.passer ปกติแล้ว V.เหล่านี้ใช้ V.être ช่วย แต่หากว่ามีกรรมตรงตามหลัง V.เหล่านี้ จะต้องเปลี่ยน V.ช่วยเป็น V.avoir แทนแล้วไม่ต้อง accord เช่น
Elle est montée.(หล่อนได้ขึ้นไป)                  --- Elle a monté l'escalier.(หล่อนขึ้นบันได)
Nous sommes sortis.(พวกเราได้ออกไป)   ---  Nous avons sorti de l'argent.(พวกเราได้นำเงินออกมา)
*Elle est montée dans la voiture.     ประโยคนี้ไม่เปลี่ยนV.ช่วยเพราะว่ามี preposition ขั้นระหว่าง V. และกรรมตรงจึงไม่ต้องเปลี่ยน V.ช่วย

     3. V.pronominal (มี se นำหน้า) หากว่ามีกรรมตรงตามมา ไม่ต้องมีการ accord เช่น
          Elle s'est lavée. (หล่อนอาบน้ำ)
          Elle s'est lavé les mains. (หล่อนล้างมือของตัวเอง)
          Elle se les est lavées. (หล่อนล้างมัน) มีการ accord ตามกรรมตรงของประโยค แต่ไม่ accord ตามประธาน
*ใน V.pronominal ไม่ต้องมีการแสดงความเป็นเจ้าของในประโยคนั้น เพราะว่า V.pronominal มีสถานะเป็นการทำด้วยตัวเองอยู่แล้ว

     4. V.pronominal ที่มาจาก V.ปกติที่ตามหลังด้วย à ไม่ต้อง accord เช่น 
          V.parler à     ---     V.se parler
          V.écrire à     ---     V.s'écrire
          V.donner à  ---     V. se donner 

คำบอกเวลา ได้แก่
          hier (เมื่อวานนี้) , dernier / dernière (ที่ผ่านมาแล้ว) , en + ปี (ปีที่ผ่านมาแล้ว เช่น en 1989) , déjà (แล้ว) , il y a + เวลา (เวลาที่ผ่านมาแล้ว)  
    Le passé récent คือ อดีตที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ หมาดๆ แปลได้ว่า "เพิ่งจะ"
โครงสร้างของ temps นี้คือ
          V.venir de + inf.     =     เพิ่งจะ...
เช่น
                                   V.se brosser (แปรงฟัน)                                                      
       Je viens de se brosser.          Nous venons de se brosser.   
       Tu viens de se brosser.         Vous venez de se brosser.     
Il / Elle vient de se brosser.   Ils / Elles viennent de se brosser.  

เป็นต้น
*V.venir de + inf.   =  เพิ่งจะ
  V.venir de + สถานที่   =   มาจาก                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น