ประเทศไทย มีอนุสาวรีย์พระมหากษัตริย์อยู่มากมายหลายแห่ง แต่ยังไม่มีที่ไหนที่สร้างไว้หลายพระองค์ในที่เดียว วันนี้ สิ่งนั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ณ พื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะพาท่านไปรู้จักกับ อุทยานราชภักดิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ 7 พระองค์แห่งสยาม
อุทยานราชภักดิ์ พระบรมราชานุสาวรีย์บูรพกษัตริย์ 7 พระองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม” พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ โดยพระราชทานชื่อให้ว่า “อุทยานราชภักดิ์” ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม 7 พระองค์ ได้แก่
1. พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)
2. สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
3. สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
4. สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)
5. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
6. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
7. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
2. สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
3. สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
4. สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)
5. พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
6. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
7. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
ซึ่งทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ
กองทัพบก ได้ดำเนินการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ ภายในพื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 222 ไร่เศษ ซึ่งองค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์ จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ จำนวน 3 ส่วนหลัก ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ แห่งสยาม จำนวน 7 พระองค์
ส่วนที่ 2 : ลานอเนกประสงค์ มีเนื้อที่ประมาณ 71 ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ
ส่วนที่ 3 : อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้า รวบรวม และจัดทำพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะดำเนินการจัดสร้างบริเวณด้านล่างของฐานพระบรมราชานุสาวรีย์
พื้นที่ส่วนที่เหลือจำนวน 126 ไร่ จะเป็นสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น