วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เล่าเรื่องเมืองฝรั่ง



เล่าเรื่องเมืองฝรั่ง
ตอนที่ 30 : คริสต์มาสของฝรั่งเศส แท้จริงแล้วสุขหรือเศร้า?

วันนี้คือวันคริสต์มาส คนฝรั่งเศส " ทุกคน " ต่างกำลังเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ไม่ว่าเขาจะนับถือศาสนาคริสต์หรือไม่ก็ตาม แต่การฉลองกันภายในครอบครัวกลายเป็นประเพณีแห่งชาติไปแล้ว

สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์และปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัด เขาจะไปประกอบมิสซาที่โบสถ์ในคืนวันที่ 24 เพราะพระเยซูเจ้าเกิดตอนเที่ยงคืน คริสตศาสนิกชนจึงต้องไปโบสถ์ หรือไม่ก็เป็นวันที่ 25 ตอนเช้า เพื่อฉลองการเกิดของพระเยซูเจ้า

ส่วนในวันที่ 25 คนฝรั่งเศสทุกผู้ทุกคนต่าง " ต้อง " กลับไปทานข้าวกับครอบครัวตนเองในมื้อกลางวันหรือเย็น ไม่ว่าเขาจะอยู่ไกลแค่ไหน ก็ต้องกลับบ้าน นั่นหมายความว่า วันคริสมาสต์เป็นวันรวมญาติ รวมสมาชิกทุกคนประจำปี ไม่มาไม่ได้ ถือเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียวหากขาดสมาชิกคนใดคนหนึ่งไป

พอทุกคนมาถึงบ้าน เขาจะรวมตัวกันหน้าเตาผิง เจ้าบ้านมักจะจัดต้นคริสต์มาสไว้ใกล้ๆ มีกล่องของขวัญมากมายวางอยู่ใต้ต้นคริสมาสต์ เขาเริ่มการแจกของขวัญโดยการให้เด็กที่อายุน้อยที่สุดในครอบครัวเป็นคนหยิบของขวัญและยื่นให้ทุกคน หรือบางครอบครัวก็ให้ผู้ใหญ่เป็นคนแจก แต่ว่าจะต้องยื่นให้เด็กที่มีอายุน้อยที่สุดก่อน คือเป็นการแจกโดยเรียงตามอายุ

เมื่อแจกและแกะของขวัญกันเสร็จแล้ว เขาจะทำอาหารทานกันในบ้าน ไม่ค่อยนิยมไปที่ร้านอาหาร เพราะสมาชิกเยอะ ไปตามร้านก็จะแพง อีกทั้ง เขายังถือว่าทานที่บ้านได้บรรยากาศอบอุ่นกว่า ดังนั้น มื้ออาหารวันคริสมาสต์จึงคึกคักไปด้วยสมาชิกทุกเพศทุกวัย

ตามบ้านเรือนก็จะประดับบ้านและตกแต่งโต๊ะอาหารอย่างสวยงามอลังการเพราะเป็นเทศกาลสุดพิเศษ เริ่มต้นด้วยการยืนดื่มแชมเปญ จากนั้นก็เชิญแขกทั้งหมดนั่งประจำที่ และทานอาหารมื้อใหญ่ซึ่งกินเวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ได้แก่ อาหารจานแรก อาหารจานหลัก สลัด เนยแข็ง ขนมหวาน และปิดท้ายด้วยชาหรือกาแฟ เราจึงจะลุกออกจากโต๊ะอาหารได้

หากเราฟังแค่ภาพรวม เราก็จะจินตนาการได้ถึงความอบอุ่น ความสนุกสนาน และความรื่นเริง ในบ้านนั้นมีแต่รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ กลิ่นอาหาร แสงไฟเหลืองนวลจากเทียน ไออุ่นจากเตาผิง มองไปทางไหนก็มีแต่สมาชิกในครอบครัวพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวชีวิต แต่ในทางกลับกัน เทศกาลคริสต์มาสในฝรั่งเศสไม่ได้มอบแต่ความสุขเพียงอย่างเดียว วันคริสต์มาสถือเป็นช่วงเวลาแห่ง " ความเศร้า " สำหรับคนฝรั่งเศสที่ไม่มีครอบครัว

กล่าวคือ คนฝรั่งเศสสูงอายุที่โสด ไม่ได้แต่งงาน หรือแต่งแล้วแต่อีกฝ่ายเสียชีวิตไปก่อน และ/หรือไม่มีลูก ตามปกติแล้วเขาสามารถดำเนินชีวิตคนเดียวได้ แต่พอถึงกลางเดือนธันวาคม เมื่อคริสต์มาสใกล้จะมาถึงแล้ว เขาเริ่มไม่มีความสุข เพราะเขารู้ว่าวันที่ 25 เขาจะต้องอยู่คนเดียว และมันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ไม่มีใครอยากอยู่ในบ้านหรืออพาร์ตเม้นเพียงลำพังในวันคริสต์มาส ในขณะที่บ้านข้างๆฉลองกันในครอบครัวอย่างมีความสุข ดังนั้น หากเขายังมีแรงเดินทางได้ เขาก็จะเลือกเดินทางออกนอกประเทศ ไปที่ไหนก็ได้ที่ไม่ใช่ฝรั่งเศส เพราะเขาไม่มีครอบครัว ดังนั้นเขาจึงต้องการหลีกหนีช่วงเวลานี้

ส่วนคนสูงอายุที่อยู่ตามบ้านพักคนชรา ตามสถานที่นั้นๆจะมีการจัดงานคริสต์มาสให้ และเชิญให้ญาติหรือลูกหลานของผู้สูงอายุมาร่วมด้วยได้ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าลูกหลานมักไม่มาร่วมงานเลี้ยงนี้ ทำให้บรรยากาศงานเลี้ยงค่อนข้างเงียบเหงา

บทความนี้สะท้อนสภาพสังคมฝรั่งเศสในช่วงคริสต์มาสได้ว่า ภายนอกอาจดูหรูหรา สวยงาม สนุกสนาน แต่อีกด้านหนึ่งนั้น กลับสร้างความทุกข์ ความเหงา และความเหว่ว้าให้แก่คนที่ไม่มีครอบครัวได้เช่นกัน

10 ความเหมือนที่แตกต่าง กับการ ฉลองคริสต์มาส ในแต่ละประเทศ

10 ความเหมือนที่แตกต่าง กับการ ฉลองคริสต์มาส ในแต่ละประเทศ

ฉลองคริสต์มาส Feat
คริสต์มาสใกล้เข้ามาทุกทีแล้ววววว มันเป็นเทศกาลน่ารักๆ เตรียมตัวก่อนเข้าปีใหม่ เป็นเทศกาลสนุกๆ ที่เราจะได้จับฉลาก แลก และให้ของขวัญแก่กัน ในไทยเราฉลองกันแบบนี้ใช่มั้ยล่ะคะ? แต่ ใครรู้บ้างคะ? ว่าการ ฉลองคริสต์มาส ของประเทศอื่นๆจากทั่วโลก เค้าเป็นยังไงกันบ้าง? เหมือนกับเรารึเปล่านะ? มาดูเลยดีกว่าค่ะ!

ฉลองคริสต์มาส-1_Hawai

1. ฉลองคริสต์มาส จากทะเลที่ฮาวาย!

ปกติซานต้าจะมาพร้อมรถเลื่อนและกวางเรนเดียร์ แต่ที่ฮาวาย ซานต้าจะมากับเรือที่ประดับต้นคริสต์มาสค่ะ! เขามาพร้อมของขวัญที่นำมาแจกทุกๆ คน ของที่นี่ คาดว่าครั้งแรกอาจจะเป็นปีค.ศ. 1786 เริ่มจากกัปตัน จอร์จ ดิกซัน จอดเรือที่อ่าว ไวเม และสั่งให้ลูกเรือทำอาหารฉลองคริสต์มาสด้วยวัตถุดิบที่สามารถหาได้ในฮาวาย อาหารที่นี่เลยมีทั้งหมูย่างสุก และเหล้าผสมกะทิเลยล่ะ!
2_france

2. ฉลองคริสต์มาสกับเทศกาลแห่งแสงไฟที่ฝรั่งเศส!

ฝรั่งเศสไม่นิยมการตกแต่งต้นคริสต์มาส แต่กลับประดับประดาเมืองด้วยแสงไฟ! หนึ่งในชื่อเสียงอันโด่งดัง นั่นคือ La Fête de lumières (ลา แฟตต์ เดอ ลูเมียร์) หรือเทศกาลแห่งแสงไฟนั่นเองค่ะ! งานนี้จัดที่ลียง ทุกคนจะแสดงความเคารพต่อพระแม่มาเรียด้วยการจุดเทียน และประดับเมืองด้วยไฟต่างๆ หรือถ้าไปที่ มูอองซาร์ตูซ์ ก็จะมีการจัดงานตุ๊กตาจำลองที่เกี่ยวกับกำเนิดวันคริสต์มาสด้วยล่ะค่ะ! นอกจากนี้ เค้กขอนไม้ ที่ได้ยินกันมานาน ก็ยังเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของฝรั่งเศสอีกด้วย!
3_Russia

3. ฉลองคริสต์มาส แบบออโธดอกซ์ที่รัสเซีย

ถ้าเคยไปรัสเซีย คุณจะเห็นว่ารัสเซียเป็นเมืองแห่งโบสถ์ ที่มีโบสถ์อยู่เต็มไปหมด ในรัสเซียจะฉลองคริสต์มาสกันวันที่ 7 มกราคม ตามปฏิทินออโธดอกซ์ค่ะ บางพื้นที่ของรัสเซียเรียกงานคริสต์มาส ว่าเทศกาลฤดูหนาว (ยังกับฮาเวสต์มูนแน่ะ!) และในวันคริสต์มาสอีฟ บางคนก็จะไม่ทานอะไรเลยทั้งวัน จนกว่าดาวดวงแรกจะโผล่ขึ้นมาบนฟ้าค่ะ และอาหารหลักที่ทานกันก็มักจะเป็น Sochivo (ข้าวต้มแบบรัสเซียที่ทำจากข้าวโอ๊ต) ที่เสิร์ฟกับน้ำผึ้ง เมล็ดป๊อบปี้ และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ วอลนัท และเยลลี่ผลไม้ด้วย
4_Italy

4. ไปที่เมืองแห่งนวนิยายในอิตาลี

ที่แห่งนี้มักจัดฉลองคริสต์มาสกันริมคลอง จัดคอนเสิร์ต และจุดดอกไม้ไฟที่บริเวณปราสาทอาร์โก เมืองเวโรนา เด็กๆที่เมืองนี้จะได้รับของขวัญกันในวันที่ 6 มกราคม และมีความเชื่อว่าผู้มอบของขวัญนั้นคือแม่มด นาม “เบฟีนา” ที่จะขี่ไม้กวาดมาให้ของขวัญแก่เด็กๆ และอาหารที่ทานกันก็มีหลากหลายค่ะ ทั้ง Baccala (ปลาแห้งใส่เกลือ) พาสต้า ไก่งวง สตูฟโฟลี (ขนมอบจากน้ำผึ้ง) เซนซี (ขนมทอดจากแป้ง รูปร่างคล้ายๆโบว์ โรยผงน้ำตาล) ลูกฟิกอบ และอัลมอนด์ เป็นต้น
5_San_Juan

5. ฉลองคริสต์มาสแบบยาวๆ ที่เปอร์โตริโก

ถ้าคริสต์มาสของคุณไม่หนำใจ แนะนำให้ไปที่ ซาน ฮวน ในเปอร์โตริโกค่ะ เพราะเทศกาลคริสต์มาสของเมืองนี้ ฉลองกันตั้งแต่พฤศจิกายน ไปจนถึงกลางเดือนมกราคม รวมเบ็ดเสร็จแล้วเป็นเวลาเกือบ 3 เดือน! ตั้งแต่พฤศจิกายนถึงช่วงมกราคมกันเลยทีเดียว! ฉลองกันแบบเต็มที่กับชีวิตสุดๆ!
6_Australia

6. ชิวริมหาด ที่ออสเตรเลีย

เทศกาลคริสต์มาส เป็นเทศกาลที่ตรงกับฤดูร้อนของประเทศนี้พอดี เพราะฉะนั้นเราจึงจะได้เห็นคนพากันไปฉลองที่ริมชายหาด บ้างก็ปิกนิก หรือไปทำกิจกรรมกลางแจ่งกันค่ะ! ทีนี้ละ! จะได้เห็นซานต้าในชุดว่ายน้ำกันรัวๆ!
7_Japan

7. ฉลองแบบลั้นลา ที่ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นต่างจากประเทศอื่นๆ ตรงที่แม้จะมีงานคริสต์มาสเป็นเทศกาลที่จัดกันอย่างเอิกเกริก แต่พวกเขาไม่ได้นับถือศาสนากันมากนัก เทศกาลนี้สำหรับชาวญี่ปุ่น จึงเหมือนการรวมตัวกับครอบครัว เพื่อนฝูง หรือคนรักมากกว่า โดยชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าซานตาคลอสนั้นมีดวงตาอยู่ด้านหลัง ก็เลยมองเห็นพฤติกรรมของเด็กทุกคนได้ตลอดปียังไงล่ะ! เป็นความเชื่อที่ญี่ปุ่นสุดๆ คนที่นี่ฉลองด้วยเค้กและไก่งวงย่าง…เคเอฟซีญี่ปุ่นถึงกับมีเมนูไก่ย่างในช่วงนี้เลยล่ะค่ะ!
8_England

8. ฉลองในแดนผู้ดี ที่อังกฤษ

สิ่งที่มีมาอย่างยาวนานเป็นธรรมเนียมในวันคริสต์มาสอย่างหนึ่งของที่อังกฤษ นั่นคือการแสดงละครใบ้ค่ะ นักแสดงจะสวมหน้ากาก และแสดงละครต่างๆ มักเกี่ยวกับการต่อสู้ของฝ่ายธรรมะและอธรรม และอาหารที่ทานช่วงคริสต์มาสมักเป็นพวกไก่งวง ไส้กรอก ขนมปังขิง มันอบ พุดดิ้งผลไม้ เป็นต้น และการ ฉลองคริสต์มาส ที่สั้นที่สุดนั้นอยู่ที่ “ลอนดอน” นี่เอง!พวกเขาจะฉลองถึงแค่ 24 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันคริสต์มาสอีฟเท่านั้นเองค่ะ
9_america

9. ฉลองอย่างเอิกเกริก ที่อเมริกา

อเมริกาเป็นประเทศที่มีผู้คนหลากหลายสัญชาติที่สุดในโลก! ที่แห่งนี้จึงเป็นเหมือนประเทศที่หลอมรวมเอาวัฒนธรรมอันหลากหลายไว้ด้วยกัน ทั้งการประดับตกแต่งต้นสนอย่างเอิกเกริกในทุกๆ สถานที่ คนที่นี่มักลากเอาต้นคริสต์มาสต์มาไว้ที่หน้าบ้าน ในขณะที่ประเทศอื่นๆมักประดับไว้ในบ้านตัวเองค่ะ ส่วนอาหารนั้นก็มีหลากหลาย ขึ้นกับเชื้อชาติของคนที่บ้านนั้นๆ นั่นเองค่ะ!
ฉลองคริสต์มาส 10_Taiwan

10.โรแมนติกกับคนรักที่ไต้หวัน

ไต้หวันไม่ได้มีงานที่ยิ่งใหญ่เอิกเกริก แต่กลับกลายเป็นเทศกาลที่โรแมนติกประหนึ่งเทศกาลวาเลนไทน์ส่งท้ายปี ในงานนี้ ผู้คนมักจะเลือกจูงมือกันเดินชมไฟตกแต่งในเมือง ชมการร้องเพลงคริสต์มาสตามท้องพนน และของกินยอดนิยม แน่นอนว่าเป็นเค้กค่ะ! เพราะในช่วงนี้ ที่ไต้หวันจะมีเทศกาลขนม ที่รวมพลร้านขนมเค้กจากรอบเมือง มาให้สายกินได้กินอย่างจุใจเลยล่ะ!
แหม แต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปล่ะเนอะ? ขนาดของไทย แต่ละภาคยังไม่เหมือนกันเลย แล้วคุณล่ะคะ? ฉลองคริสต์มาสนี้ยังไงดี? มีแผนยังไงบ้างคะ?

เมื่อ Walk You Home กลายมาเป็น French Version

เมื่อ Walk You Home กลายมาเป็น French Version

วันที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ นี่ก็อยู่ห้อง ไม่ได้ออกไปไหน แต่ทว่ามีนัด เพราะไปดูหนังเรื่อง “ไอฟาย แต๊งกิ้ว เลิ้ฟยู” รอบคณะ ดังนั้น ตอน 1 ทุ่ม ถูกจองคิวไว้แล้ว ก็โอเค เข้าไปดูกับเพื่อนๆ พี่ๆ กัน
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ตัว film แต่มันอยู่ที่เพลงภาษาอังกฤษในฉากความหวานของยิมและติวเตอร์เพลง
ก็คือเพลงนี้
เพลงนี้ ถ้าหากเราฟังเฉยๆ เราอาจจะยังไม่เข้าใจ objective ของเพลงนี้ แต่ถ้าหากว่าเราลองไปฟังในขณะที่ดูฉากนี้อยู่ละก็ เราจะ get ได้อย่างง่ายดาย ก็คือจบ ฟังไปเรื่อยๆ ติดหู ขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ใน iTunes ได้อย่างข้ามวันข้ามคืน ตัวภาพยนตร์เองก็ทะลุ 100 ล้านไปแล้ว เตรียมฉลอง สองร้อย สามร้อย ก็ว่ากันไป
แต่ด้วยความที่ว่าเมื่อวานนั้นแหละ ว่างกลับมาจากฟิตเนส ก็ไม่รู้จะทำอะไรดี นั่งเล่น internet ไป ฟังเพลง Walk You Home เนี่ยแหละ พอผ่านไป 15 นาทีหลังเพลงจบ เพลงนี้ในเวอร์ชั่นภาษาฝรั่งเศสมันก็ออกมาทันที ได้ใจความดังนี้
Cette nuit,
(คืนนี้)
Seulement nous deux
(มีเพียงแค่เราสองคน)
Nous oublions le monde pour un peu
(เรามาลืมโลกไปสักพัก)
Ouvre ton coeur et aussi tes yeux
(แล้วลองเปิดหัวใจและเปิดตาของคุณดู)
Je suis ici devant toi
(คุณจะเห็นว่าผมอยู่ตรงข้างหน้าคุณ)
Et toi, très jolie dans ta peau
(คุณดูสวยมากในชุดนี้)
Même si je suis pas très beau
(แม้ว่าผมจะดูไม่ดีเอาซะเลย)
Je fais du mieux pour que tu m’aimes
(แต่ผมก็จะทำให้ดีที่สุดเพื่อจะชนะใจคุณ)
Puis-je te ramener, chez toi?
(ให้ผมไปส่งคุณที่บ้านได้ไหม)
Dis-moi comment tu te sens?
(บอกผมได้ไหมว่าคุณรู้สึกอย่างไร)
Je sais au fond que c’est l’amour
(เพราะผมรู้อยู่แก่ใจว่ามันคือความรัก)
Je te promets que je t’aime pour toujours
(ผมนสัญญาว่าผมจะรักคุณตลอดไป)
Ô ma cherie, Puis-je te ramener chez toi?
(ที่รัก ให้ผมไปส่งคุณที่บ้านได้ไหม)
Avant la matinée,
(ก่อนที่รุ่งเช้า)
et le soleil lève.
(และดวงอาทิตย์จะขึ้น)
Je vais rentrer à la réalité,
(ผมจะต้องกลับไปสู่ในโลกความเป็นจริง)
et toi, retourne à ta vie.
(และคุณเองก็จะต้องกลับไปในชีวิตของคุณซะที)
Dis-moi que tu m’aimes bien, ma cherie.
(บอกผมทีเถอะว่าคุณก็รักผมเหมือนกัน)
Dis-moi comment tu te sens?
(บอกผมได้ไหมว่าคุณรู้สึกอย่างไร)
Je sais au fond que c’est l’amour
(เพราะผมรู้อยู่แก่ใจว่ามันคือความรัก)
Je te promets que je t’aime pour toujours
(ผมนสัญญาว่าผมจะรักคุณตลอดไป)
Ô ma cherie, Puis-je te ramener chez toi?
(ที่รัก ให้ผมไปส่งคุณที่บ้านได้ไหม)
Bien que je sois pas à toi, je t’aime bien, ma cherie.
(แม้ว่าผมจะไม่ได้เป็นของคุณ ผมก็ยังคงจะรักคุณ ที่รัก)
เนื้อเพลงก็คล้ายๆเวอร์ชั่นต้นฉบับนั่นแหละ เปลี่ยนบางคำบางประโยคนิดหน่อยให้ดูสวย ตรง pattern ของเพลงเท่านั้น พอได้ลองร้องกับตัว BGM แล้ว โอเคใช้ได้เลยว่ะ เดี๋ยวค่อยทำ ขี้เกียจอยู่
เย็นนี้กินอะไรดีน้า

Cranberry & Raisins Chocolate Chip Protein Brownies : บราวนี่แบบ Healthy อัดไปด้วยโปรตีน

Cranberry & Raisins Chocolate Chip Protein Brownies : บราวนี่แบบ Healthy อัดไปด้วยโปรตีน

ช่วงก่อนได้มีเวลากลับบ้าน วันๆไม่ทำอะไร อบขนมตลอด เพราะมันไม่ได้ทำนานไง ถ้าหากว่าไม่กลับไปขุดตำรา ไม่ลองกลับไปทำให้มันชินมือ เดี๋ยวมันจะลืม เทคนิคต่างๆที่เคยใช้ในการทำขนมมา ตอนกลับไปก็อบแต่ คุกกี้ บัตเตอร์เค้ก บราวนี่ ของอ้วนๆทั้งนั้น ไม่มีอะไรที่ดูมีประโยชน์เลย แต่ให้ทำยังไง เราถึงจะกินขนมพวกนี้ได้ โดยที่เราไม่ต้องซีเรียสกับพวกไขมันจาก เนย แป้ง ต่างๆนาๆ
และวันนั้น เวย์โปรตีนที่สั่งไว้มาถึงพอดี เพราะว่าจัดโปร เป็นของยี่ห้อ MusclePharm สั่งมา 2 ถัง และเค้าก็แถม Elite Gourmet รส Swiss Chocolate ก็เลยคิดว่า เออ เอาเจ้า Elite Swiss Chocolate มาทำ Protein Bar กินดีกว่า อร่อย อยู่ท้อง มีประโยชน์กว่าบราวนี่ที่กินอีก (ฮา)
collage1
โปรตีนบาร์ตัวนี้จะเป็นแบบ Flourless คือไม่มีแป้งเลย แต่จะใช้ amande en poudre หรือ อัลมอนด์ป่นผงแทนแป้ง รสชาติจะไม่ค่อยหวานเท่าไร เพราะไม่มีน้ำตาล แต่จะได้น้ำตาลจากผลไม้อบแห้งพวก แครนเบอรี่ ลูกเกด และช็อกโกแลตชิพเข้ามาแทน

INGREDIENTS
  • อัลมอนด์ป่นผง 1/4 ถ้วยตวง (ถ้าหากไม่มีให้ใช้อัลมอนด์สไลด์บ่นกับ Food Processor หรือ ตำครก เอาก็ได้ครับ)
  • ผงโกโก้ 1/2 ถ้วยตวง
  • Whey โปรตีนผงรสช็อกโกแลต 1/2 ถ้วยตวง (โจมใช้ Dymatize Elite Gourmet รส Swiss Chocolate)
  • Applesauce แบบไม่หวาน 1/2 ถ้วยตวง *ถ้าหากไม่มี Applesauce ให้ใช้กล้วยหอมบด 1 ลูกแทนนะครับ
  • ไข่ไก่ 1 ฟอง
  • น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ
  • กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา
  • นมสด 2/3 ถ้วยตวง
  • น้ำมันรำข้าว 2 ช้อนโต๊ะ
  • ช็อกโกแลตชิพ 1/4 ถ้วยตวง, และใช้ท๊อปปิ้งโรยบนหน้าตัวบราวนี่ 2 ช้อนโต๊ะ
  • แครนเบอรี่อบแห้ง 1/2 ถ้วยตวง, และอีกจำนวนหนึ่งสำหรับโรยหน้า
  • ลูกเกดสำหรับโรยหน้า

INSTRUCTIONS
  1. Preheat เตาอบไว้ที่ 175 องศาเซลเซียส, ฉีดสเปรย์กันขนมติดแม่พิมพ์ หรือปูกระดาษไขบนแม่พิมพ์สี่เหลี่ยมจัตุรัส พักไว้
  2. นำอัลมอนด์ป่นผง, Whey โปรตีน และผงโกโก้ลงในชามผสม
  3. ในชามผสม นำ Apple Sauce (หรือกล้วยหอม), ไข่, น้ำผึ้ง, วานิลลา และนมสด ผสมให้เข้ากัน
  4. นำส่วนผสมแห้งเข้าไปผสมกับชามผสมของเหลว แล้วคนให้เข้ากัน
  5. ในถ้วยเซรามิก นำน้ำมันรำข้าวไปผสมกับช็อกโกแลตชิพ แล้วเข้าไมโครเวฟสัก 30-40 วินาที คนจนช็อกโกแลตละลาย จากนั้นนำไปผสมกับส่วนผสมที่เหลือให้เข้ากัน ใส่แครนเบอรี่ลงไปแล้วคนให้ส่วนผสมเข้ากัน
  6. เทลงแม่พิมพ์ โรยด้วยแครนเบอรี่ อัลมอนด์สไลด์ ลูกเกด และช็อกโกแลตชิพให้ทั่ว
  7. นำไปอบประมาณ 20 นาที หรือจนกว่าผิวหน้าบราวนี่จะสุก
  8. พักให้เย็น แล้วตัดเป็นชิ้น เวลาทานควรทานตอนเย็นๆ กินก่อนออกกำลังกาย อร่อยมากๆเลยครับ สดชื่นมาก

1601440_312078645663225_4382365585669026853_n
สูตรนี้อร่อยมากจริงๆ กินแล้วรู้สึกไม่อ้วนเลย (แต่ถ้ากินเยอะก็อ้วนนะ) ดังนั้น ควรกินอย่างพอเหมาะ วันละชิ้นสองชิ้นก่อนออกกำลังกายก็พอนะครับ

La Politique Thaïe Actuelle en Médias Français – การเมืองไทยบนสื่อของฝรั่งเศส

La Politique Thaïe Actuelle en Médias Français – การเมืองไทยบนสื่อของฝรั่งเศส

Entry นี้ ไม่ได้เจตนาจะเขียนเพื่อมาต่อต้าน หรือว่าจะมาส่งเสริมการเมืองอะไรทั้งนั้น
แต่ทว่าเป็นการสอนภาษาฝรั่งเศสโดยการใช้สื่อของฝรั่งเศส ผ่านข่าวทางการเมืองปัจจุบันของเมืองไทย นั่นเองครับ
บทความนี้ก๊อบมาลงบล็อกใหม่ เพราะจะปิดบล็อกเก่าแล้ว
เรามาเริ่มกันที่สื่อของ LE FIGARO หนังสือพิมพ์รายวันของประเทศฝรั่งเศสกันเลย โดยของ LE FIGARO จะเป็นรูปภาพ และมีบรรยาย เราก็จะเรียนจากที่บรรยาย แต่เราจะไม่เอารูปมา ให้ไปหาดูเอง เดี่ยวโพสต์ลิงค์ให้ แต่จะเสนอแค่ประโยคที่เค้าเขียนด้านใต้รูปภาพมา
เค้าให้หัวข้อของ Gallery มาว่า
Thaïlande : la violence monte à Bangkok, le gouvernement menacé
แปลได้ว่า “ประเทศไทย : ความรุนแรงปะทุขึ้นที่กรุงเทพมหานคร รัฐบาลถูกข่มขู่”
เรามาดูด้านคำศัพท์กัน
violence (nf.) = ความรุนแรง ถ้าหากว่าเป็น adj. ก็คือ violent = ที่รุนแรง และ violemment (adj.) อย่างรุนแรง
monter (v.) = โชว์ แสดงออกมา เกิดขึ้น ก็ได้ ในประโยคนี้แปลว่า ก่อตัวขึ้น เกิดขึ้น ปะทุขึ้น
gouvernement (nm.) = รัฐบาล
ménacer = ข่มขู่ / ในประโยคข้างต้น กริยาอยู่ในรูปของ participe passé ถูกกระทำ ดังนั้นเราจะแปลได้ว่า รัฐบาลกำลังถูกข่มขู่ คุกคาม ประมาณนี้
เรามาดูคำใต้ภาพกันเลยดีกว่า โจมจะขอยกมาสัก 3-4 ประโยคแล้วกัน
1. Quelque 25.000 “rouges” se sont rassemblés dans un stade pour témoigner de leur soutien au gouvernement.
แปลได้ว่า คนเสื้อแดงจำนวนราว 25000 คนเข้าร่วมชุมนุมที่สนามกีฬาเพื่อแสดงการสนับสุนที่มีต่อรัฐบาล
rouges หมายถึงกลุ่มคนเสื้อแดงนั่นเอง
se rassembler = พบปะ ชุมนุม
stade (nm.) = สนามกีฬา
témoigner = ให้การ เพิกความ เป็นพยาน แสดง แต่ในประโยคนี้เราจะใช้ความหมายว่า แสดง มากกว่าการให้ความ
soutien = การสนับสนุน มาจากกริยา soutenir = support
2. Quelque 20.000 assaillants ont tanté d’entrer de force au siège de gouvernement. Ils prévoient de recommencer dimanche. Les manifestants anti-gouvernement s’en sont également pris aux sièges des deux principaux groupes publics de télécommunications. 
แปลได้ว่า กลุ่มผู้โจมตีราว 20000 คนพยายามที่จะบุกเข้าไปที่ทำการรัฐสภา และพวกเขาคาดว่าจะเริ่มต้นอีกทีในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการชุมนุมคัดค้านรัฐบาลยังได้บุกยึดโจมตีองค์กรการสื่อสารที่สำคัญของทางรัฐอีกด้วย
assaillant (nm.) = ผู้บุกรุก ผู้โจมตี ในที่่นี้ก็คือฝ่ายค้านรัฐบาลนั่นเอง / Syn. attaqueur (nm.)
tenter [de faire qch.] (v.) = พยายาม ตั้งใจ / Syn. avoir l’intention de faire qch.
entrer de force = เข้าไปอย่างรุนแรง บุกรุกเข้าไปโดยใช้กำลัง
siège (nm.) = ที่นั่ง ตำแหน่ง การบุกรุก การโจมตี
siège de gouvernement = ที่ทำการรัฐสภา
prévoir [de + v.inf] (v.) = คาดการณ์ล่วงหน้า
recommencer (v.) = เริ่มต้นอีกครั้ง / commencer (v.) = เริ่มต้น
manifestant (nm.) = ผู้เข้าร่วมการชุมนุม
manifestation (nf.) = การเดินขบวน การเดินชุมนุม
anti-gouvernement (adj.) = คัดค้านรัฐบาล
se prendre (v.) = บุกรุก บุดยึด โจมตี
siège des deux groupes publics de télécommunications (nm.) = กลุ่มองค์กรรัฐบาลทางด้านการสื่อสาร
télécommunique (adj.) = เกี่ยวกับการด้านสื่อสารทางไกล
principal (adj.) = หลักๆ สำคัญๆ
ไวยากรณ์ของประโยคนี้ที่จะเน้นคือ กริยาที่อยู่ในรูปของ pronominal เมื่อใดที่อยู่ใน temps COMPOSE จึงจำเป็นต้องผันกับกริยา être สังเกตุได้จากคำว่า s’en sont pris ครับผม
3. Les opposants ont attaqué un bus coincé dans la circulation transportant des partisans des “chemises rouges”, soutiens de la première ministre.
แปลได้ว่า ฝ่ายค้าน (เสื้อเหลือง) ได้โจมตีทำลายรถบัสของกลุ่มคนฝ่ายเสื้อแดงที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีที่กำลังติดขัดอยู่ในช่วงจราจร
opposant (nm.) = คนฝ่ายค้าน
attaquer (v.) = โจมตี
coincé (adj.) = ที่ติดขัด
circulation transportant (nf.) = การจราจร
partisan (nm.) = กลุ่มพรรคพวก กลุ่มหัวคนรุนแรง / (adj.) = ที่ลำเอียง ถือพรรคถือพวก
“chemises rouges” = กลุ่มคนเสื้อแดง
soutenir (v.) = สนับสนุน
จากข่าวที่ผ่านมาก็เสร็จไปแล้ว ทีนี้เรามาดูข่าวมาใหม่เกี่ยวกับรัฐบาลและมาดูคำศัพท์กัน
ข่าวนี้ได้มาจากหนังสือพิมพ์ Libération ของฝรั่งเศสอีกเช่นเคย โดยที่เค้าพาดหัวข่่าวไว้ว่า
Thaïlande: la Première ministre refuse de céder aux manifestants
แปลได้ว่า “ประเทศไทย : นายกรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะดำเนินการในเรื่องของคนที่เข้าร่วมชุมนุม”
la Première ministre = นายกรัฐมนตรี (หญิง) *จำไว้เสมอว่าต้องขึ้นตัวใหญ่ตลอดนะครับ*
refuser [de + v.inf] (v.) = ปฏิเสธ
céder (à + COD) (v.) = อนุโลม ดำเนินการ จัดการ
manifestant (nm.) = ผู้เข้าร่วมชุมนุม
ทีนี้เรามาดูเนื้อหาเกริ่นกัน ขอยกแค่เฉพาะ paragraphe ขึ้นต้นเท่านั้น เพราะข่าวยาวมาก ถ้าหากว่าจะอ่านต่อ เดี๋ยวโพสต์ลิงค์ให้ครับ
La Première ministre thaïlandaise Yingluck Shinawatra a refusé mardi de céder aux manifestants qui réclament toujours sa démission malgré l’annonce d’élections anticipées, les appelant à rentrer chez eux et à mettre un terme à leur «révolution du peuple».
แปลได้ว่า นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ปฏิเสธที่จะดำเนินการในส่วนของกลุ่มคนผู้เข้าร่วมชุมนุมที่เรียกร้องการยุบสภาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศการเลือกตั้งที่คาดการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว นายกรัฐมนตรียังร้องเรียกให้หยุดการชุมนุมและให้กำหนดการหยุดชุมนุม
(ศัพท์บางศัพท์มีอยู่ข้างต้นแล้วโจมจะไม่เอามาเขียนซ้ำอีกนะครับ)
réclamer (v.) = เรียกร้อง ร้องทุกข์
démission (nf.) = การยุบสภา การลาออก
malgré [+n.] (conj.) = แม้ว่า
annonce (nf.) = ประกาศ / (v.) annoncer
élection (nf.) = การเลือกตั้ง
anticipé (adj.) = ที่คาดการณ์ไว้แล้ว
terme (nm.) = วันที่คาดการณ์ไว้แล้ว จุดจบ การหยุดสิ้น เงื่อนไข
révolution (nf.) = การปฏิวัติ
rentrer chez eux (l.3) ปกติแล้วก็แปลตรงตัวคือ กลับบ้าน แต่ในที่นี้ความหมายที่เข้าบริบทก็คือ หยุดการต่อต้าน หยุดการชุมนุม ครับผม
mettre un terme à leur révolution du peuple ปกติ ถ้าแปลธรรมดา ก็แปลว่ากำหนดเงื่อนไข แต่ในบริบทข่าวนี้อาจจะแปลว่าได้ให้กำหนดการหยุดของการชุมนุม
révolution du peuple แปลตรงตัวว่าเป็นการปฏิวัติของคนประชาชน แต่ในที้นี้น่าจะหมายถึง การชุมนุมต่อต้าน มากกว่า
ขอนำเสนอเพียงเท่านี้ เพราะข่าวแต่ละข่าวค่อนข้างยาก และตัวเองยังไม่เคยเรียนวิชาการแปล ดังนั้น แปลมั่วๆมึนๆ งง ก็ยกโทษให้ด้วยนะ
เพราะว่าที่เขียน entry นี้เพราะต้องการเสนอคำศัพท์เสียมากกว่า และฝึกการอ่านข่าวผ่านสื่อฝรั่งเศส จะได้อ่านข้อสอบ PAT กันและกาถูกๆ
.
สำหรับลิงค์ข่าวที่นำมา สามารถเข้าไปอ่านต่อได้เลย
.
Bonne lecture !

Roast Chicken Breast with Boiled Egg & Broccoli

Roast Chicken Breast with Boiled Egg & Broccoli

คนฮิตเหลือเกินกับการกิน clean ในช่วงนี้ เอะอะอะไรก็กิน clean ไว้ก่อน เพราะมีความคิดว่าน้ำหนักจะลด จะผอมลง ผิดครับ จริงๆมันไม่ใช่เลยนะ การกิน clean มันก็คือการกินอาหารที่ผ่านกรรมวิธีน้อยที่สุด ปรุงน้อยสุด รสชาติอาจจะไม่ค่อยจะอร่อยมากขนาดนั้น (แหงล่ะ ไม่ได้ใส่ผงชูรสนี่) แต่กินแล้วรู้สึกมัน clean ก็เจ๊ากันไป
chick
มื้ออาหารง่ายๆ ที่ชอบทำกินเวลากลับบ้านไปก็คือ อกไก่ย่างปกติธรรมดานี่ละ คลีนไหม? เวลากินก็กินคู่กับไข่ต้มสัก 1-2 ฟอง (คนเล่น weight ก็กินไข่ขาวสัก 5-6 ฟองอัดโปรตีนเข้าไปเยอะๆ) และบร็อคโค่ลี่ลวกหน่อย บร็อคโค่ลี่เป็นผักที่มีโปรตีนมากกว่าผักชนิดอื่นๆ เอาไว้กินก่อนไปเล่นเวท ก็โอเคนะ ไม่หนักมาก
INGREDIENTS
  • อกไก่ 1 ชิ้น ลอกหนังออกให้หมดให้เหลือแต่เนื้อเพียวๆ
  • น้ำมันงา 1 ช้อนชา
  • ซีอิ้วขาว 1 ช้อนชา
  • เกลือ 1 หยิบมือ
  • พริกไทย
INSTRUCTIONS
  1. นำอกไก่มาพัก แล้วใช้ส้อมจิ้มให้เป็นรูเล็กๆ เพราะว่าเวลาเข้าเตาอบ เนื้อไก่จะได้สุกเร็ว เพราะชิ้นอกไก่มีความหมามาก อาจจะใช้เวลานานถ้าหากไม่จิ้มก่อน
  2. หมักด้วยน้ำมันงา ซีอิ้วขาว เกลือ พริกไทย ตามใจชอบ แล้วพักทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน ถ้ารีบ ก็สัก 2 ชั่วโมงก็ได้
  3. นำไปอบในอุณหภูมิ 220 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที หรืออาจจะเร็วกว่านั้นจนกว่าเนื้อสุกทั่ว (ใช้โหมดไฟบนด้วย เนื้อข้างบนจะได้ออกสีน้ำตาลสวย)
  4. โรยด้วยพริกไทยอีกรอบเพื่อความหอม และเกลือ (เป็นคนชอบกินพริกไทย)
  5. ลวกบร็อกโคลี่ และไข่ต้ม ทานคู่กัน อร่อยดีเหมือนกัน
1610848_312022459002177_6284031637867386857_n
Bon Appétit !
Jhom

10 ข้อผิดทางไวยากรณ์ฝรั่งเศสง่ายๆที่ควรจะแก้ไข (10 erreurs grammaticales fréquentes faciles à corriger)

10 ข้อผิดทางไวยากรณ์ฝรั่งเศสง่ายๆที่ควรจะแก้ไข (10 erreurs grammaticales fréquentes faciles à corriger)

วันนี้นั่งเล่นคอมเรื่อยเปื่อย เลยเปิดอ่านบทความฝรั่งเศสแก้เบื่อ เลยมาเจอกับบทความที่มีชื่อว่า
10 Erreurs Grammaticales Fréquentes Faciles à Corriger
หรือแปลไทยได้ว่า “10 ข้อผิดทางไวยากรณ์ง่ายๆที่ควรจะแก้ไข”
พอได้อ่านสแกนแบบคร่าวๆแล้วพบว่า เห้ย แต่ละข้อนี่มันเป็นข้อที่เวลาเราสอนหนังสือเด็กๆแล้วเราเจอคำถามพวกนี้อยู่ตลอดเวลา กฎเกณฑ์ทางด้านไวยากรณ์เล็กๆน้อยๆของภาษาฝรั่งเศส ดูเหมือนจะมีไม่เยอะ แต่พอมันมีขึ้นมาแล้วจำผิด ก็จะซวยล้มเป็นโดมิโน่ แล้วอีกอย่างนะแต่ละ 10 ข้อที่อ่านผ่านๆตามา ชอบออกข้อสอบ PAT ด้วยเหอะ เพราะว่าข้อสอบสมัยนี้ชอบออกมาวัดไหวพริบเด็กๆ เอาล่ะ เรามาดูกันเลยดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง
Paris Option 3lll

ข้อที่ 1 : เสียงที่เหมือนกันระหว่าง a และ à (Homophones “A” et “À”)

สิ่งที่มันคลาสสิกมากที่สุด มากถึงมากที่สุด และยังคงเป็นปัญหาโลกแตกของเด็กที่เรียนภาษาฝรั่งเศสทุกคนคือเสียงที่ออกเหมือนกันเนี่ยแหละ และตัวที่มีปัญหามากที่สุดเลยก็คือ a และ à เพราะว่าสองตัวนี้ ออกเสียง อา/อะ เหมือนกัน แต่ความหมายมันไม่เหมือนกันนะเห้ย เรามาดูกันง่ายๆ
  • A = ไม่มี accent อยู่ข้างบน อยู่แบบโดดเดี่ยว มันคือกริยา avoir ที่แปลว่า to have ที่เราเรียนกันตั้งแต่สัปดาห์ที่สองของการเรียนภาษาฝรั่งเศสแล้ว โดยตัว a เนี่ย มันผันมาจากประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์ (Il/Elle/On) นั่นแหละ ตัวอย่างก็เช่น “Pierre a deux enfants. = ปิแยร์มีลูกชายสองคน”
  • À = มี accent grave อยู่ข้างบน จริงๆแล้วมันอ่านออกเสียงสั้นกว่าตัวแรกนะ มันจะอ่านออกเสียง /อะ/ หรือ /อ้ะ/ ก็ได้ แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลของผู้พูด แต่อย่างไรก็ตาม เจ้า à ตัวนี้ทำหน้าที่เป็น préposition นะเห้ยย มีความหมายเหมือน to ในภาษาอังกฤษนั่นแหละ ตัวอย่างก็เช่น “Je vais à la bibliothèque = ฉันไปห้องสมุด”

ข้อที่ 2 : ลงท้าย -er หรือ -é  ล่ะ ? (Terminaisons -er ou -é ?)

ข้อนี้ก็จี้เหมือนกันเวลาเราสอนหนังสือ แล้วมันจะมีโจทย์บางข้อที่เราต้องบอก verbe อ่ะ เนื่องด้วยการลงท้ายของ –er ซึ่งเป็นรูปของ infinitif และลงท้ายด้วย -é ที่อยู่ในรูปของ participe passé ก็จะเขียนผิดตลอด จนเราต้องบอกนะว่ามันอยู่ในรูปไหน เป็น infinitif ไม่ผัน หรือ participe passé ลงท้าย -é อย่างนี้กันแน่ ถ้าหากว่ายังไม่เข้าใจ บทความเขาบอกไว้ว่า ให้เทียบกันกับกริยากลุ่มที่ลงท้ายด้วยพวก -re ในนี้จะยกตัวอย่างเป็น vendre แปลว่าขาย ละกัน มาดูกันเหอะ
  • vendre ตัวนี้อยู่ในรูปของ infinitif และเทียบกันกับกลุ่มที่ลงท้าย -er  ก็เช่น acheter ซื้อ
  • vendu เป็น participe passé ของ v.vendre และเทียบกับกลุ่มลงท้าย -er ก็เป็น acheté เกทไหม?
ถ้าเราลองเอามา mélanger ผสมรวมกันเป็นประโยคที่สุดแสนจะซิมเปิ้ล ก็คงจะเป็นแบบนี้
Somchai est allé à un boutique pour acheter cette lampe
สมชายไปที่ร้านร้านหนึ่งเพื่อซื้อโคมไฟ
โอเคมันออกเสียง เอ้ ลงท้ายเหมือนกัน แต่ก็จงเข้าใจหน่อยนะว่า 2 คำที่เน้นให้ดูมันทำหน้าที่ต่างกันนะ
แต่บางคนก็เขียนมาเป็นในรูปของ présent บุรุษที่ 2 พหูพจน์ เช่น acheter ก็เป็น achetez โอเค ออกเสียง เอ้ เหมือนกัน แต่ถ้าหากว่ามันไม่มีประธานบอกว่าเป็น vous ก็ไม่ต้องใส่มานะ

3. Adverbes ลงท้าย -MENT, มี M กี่ตัว ?

อ่ะ ท้าวความง่ายๆก่อนว่าการสร้างคำกริยาวิเศษณ์ หรือที่เรียกกันว่า adverbe เนี่ย มีหลักง่ายที่แสนจะง่ายคือการเอาคำ adjectif มาก่อน แล้วเปลี่ยนให้เป็นรูปเพศหญิงเอกพจน์ แล้วเติม -ment ลงท้ายไปเลยง่ายๆ นั่นคือหลักการณ์นั้น ซึ่งหมายความว่ามันมีตัว M ตัวเดียวเท่านั้น เช่น jaloux เปลี่ยนให้เป็น jalouse และเติมหางไปเป็น jalousement ง่ายนี่เดียว
แต่อย่างไรก็ตาม ภาษาฝรั่งเศสมันมีสิ่งที่ผีบ้าผีบอมากกว่านั้นคือ ถ้าหากว่า adjectif ที่ลงท้าย -ant และ -ent มันจะต้องตัดหางพวกนี้ออกก่อนแล้วเติมหางของมันไปก็คือ -amment และ -emment ดังนี้
คำว่า récent ลงท้ายด้วย -ent ใช่มะ อ่ะตัดออกก่อน ให้เหลือ réc แล้วเติม -emment ลงไปเป็น récemment 
คำว่า intéressant ลงท้ายด้วย -ant อะตัดออกก่อน ให้เหลือ intéress แล้วเติม -amment ลงไปเป็น intéressamment 
สรุปได้ว่า ถ้าหากเป็น adj ลงท้ายด้วย -ent และ -ant จะเกิด adverbe ที่มี M จำนวน 2 ตัว จบ !
ส่วนกฎเกณฑ์อื่นๆเกี่ยวกับ adverbe มีมั้ย มีแน่นอน แต่บทความนี้ขอโฟกัสแค่เรื่องจำนวนตัว M ขอผ่านคับ mdr

4. กฎการเขียนตัวเลข (Les Règles des Nombres)

กฎการเขียนตัวเลขในภาษาฝรั่งเศสนั้น เป็นเรื่องที่โคตรแสนจะ compliqué มากพอสมควรสำหรับน้องๆที่เพิ่งทำความเข้าใจ คือบอกก่อนเลยว่าตัวเลขที่เราเรียนกันมานั้น มันก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรอก มีแค่ 2 ตัวหลักๆที่มันจะมีกฎผีบ้าผีบอเพิ่มขึ้นมาคือ vingt (ยี่สิบ) และ cent (ร้อย) นั่นเอง
VINGT ยี่สิบ
กฎเกณฑ์ไม่มีอะไรเลย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรอก จนกระทั่งถึงเลข 80 ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสเขียนว่า quatre-vingts แล้วทำไมถึงต้องเติม -s ? ก็เพราะว่ายี่สิบมันมีทั้งหมด 4 ตัว ก็เป็น 20 x 4 = 80 ยังไงล่ะ แต่อย่างไรก็ตาม มันจะใช้กฎนี้ถ้าเป็นเลขถ้วนเท่านั้น ถ้าหากว่ามีหลักหน่วยเมื่อไร ไม่มีการเติม -s ทันที เช่น quatre-vingt-neuf (89) หรือ quatre-vingt-quinze (95)
CENT หลักร้อย
อันนี้ค่อยข้างจะไม่ค่อยแสนจะงงเท่าไร แต่พอมันมาให้งงละก็มึนติ้บล้มเป็นโดมิโน่เลยทีเดียว หลักง่ายๆมีดังนี้
  • cent เฉยๆ แปลว่า 100 โอเคไม่มีการเติม -s
  • หลักร้อยถ้วน เช่น 200, 500, 700 จะต้องเติม -s เป็น deux cents, cinq cents, sept cents
  • หลักร้อยไม่ถ้วน มีเลขต่ออีก เช่น 222, 560, 815 แบบนี้ห้ามเติม -s เป็น deux cent vingt-deux, cinq cent soixante, huit cent quinze
เป็นยังไง ไม่งง ใช่มั้ย?
นอกจากนี้ ยังมีกฎเล็กๆน้อยๆมาให้อ่านกันพอเข้าใจ เช่น
  • เลขที่น้อยกว่า 100 แล้วถูกฟอร์มขึ้นด้วยจาก 2 ตัว จะมีขีดกลางด้วย เช่น vingt-cinq
  • เลขหลักหน่วยที่เป็น 1 จะไม่มีการใส่ขีดกลาง เช่น vingt et un
  • Mille (พัน) ไม่มีการเติม -s ไม่ว่าจะถ้วนหรือไม่ถ้วนหรือจะยังไงก็ตาม ยกเว้นว่าจะเป็นการบอกมาตราวัดความยาว
  • Million และ milliard จะต้องเติม -s ด้วยเนื่องจากมันเป็นคำนาม

5. กริยารูป Passé Simple (Les Verbes au Passé Simple)

เมื่อพูดถึง temps นี้ หลายๆคนมักจะเติมเครื่องหมาย question mark ติดอยู่กลางหัวอันเป็นแน่แท้ เนื่องจากว่า temps ตัวนี้เราไม่ค่อยได้เจอ ไม่สิ ไม่เคยเจอและไม่เคยได้เรียนเลยต่างหาก เนื่องจาก passé simple ถือว่าเป็น temps ที่ใช้พูดและเล่าเรื่องเหตุการณ์ในอดีตที่โคตรจะแสนอดีตชิบหายวายป่วง และเนื่องจากมีการผันที่ผิดมนุษย์มนา จึงทำให้เราไม่ต้องเรียนกัน แต่ก็อยากให้รู้ไว้ว่า เมื่อเจอ กริยารูปแบบนี้เมื่อไหร่ ให้รู้ว่าเป็น Passé Simple นะเอ้อออออออ
วิธีการผันกริยาในรูปของ Passé Simple
1. กลุ่มหนึ่ง ให้ตัด -ER ออกแล้วเติมท้ายดังนี้ : -ai, -as, -a, -âmes, -âtes, -èrent
เช่น monter > je montai, tu montas, il monta, nous montâmes, vous montâtes, ils montèrent
2. กลุ่มสอง (ทั้งกลุ่ม 2 ลงท้าย IR และกลุ่ม 3 บางตัว) ให้ตัดหางออก แล้วเติมท้ายดังนี้ : -is, -is, -it, îmes, îtes, irent เช่น finir > je finis, tu finis, il finit, nous finîmes, vous finîtes, ils finirent
3. กลุ่มสาม ให้ตัดหางออก (-ir, -oir, -re) แล้วเติมท้ายดังนี้ : -us, -us, -ut, -ûmes, -ûtes, -urent
เช่น courir > je courus, tu courus, il courut, nous courûmes, vous courûtes, ils coururent
4. กริยา venir, tenir และพวกกริยาที่ใช้รากดังกล่าว เช่น soutenir, prévenir ให้ตัด -enir ออกแล้วเติม : -ins, -ins, -int, înmens, întes, inrent ตัวอย่างเช่น venir > je vins, tu vins, il vint, nous vînmes, vous vîntes, ils vîntes
จากบทความต้นฉบับเขาบอกไว้ว่า การที่เราจะรู้ได้ว่า กริยาตัวไหนใช้รากอะไร ให้สังเกตที่หางของ infinif ของตัวกริยานั้นๆ นั่นเอง แล้วการผัน passé simple ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายทันที !
แต่เอาจริงๆ ไม่ต้องไปจำมันหรอก ขอแค่เรารู้ว่าเวลาไปเจอในข้อสอบแล้วถ้าเราเจอแบบนี้ก็ให้รู้ว่ามันเป็น temps ที่ตายแล้ว ปาสเซ่ แซมปล์

6. กฏการใช้ adjectif บอกสี (Règle d’Orthographe des Adjectifs de Couleur)

ก่อนอื่นเลยเนี่ยนะ ต้องเกริ่นก่อนว่า adjectif หรือคำคุณศัพท์ที่บอกสี ที่มีขยายเพิ่ม เช่น ม่วงอ่อน เขียวเข้ม น้ำเงินเข้ม บลาๆ จะไม่มีการ accord ตามเพศและพจน์ของคำนามใดๆทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น
Il a des yeux brun clair = เขามีตาสีน้ำตาลอ่อน
และที่เหลือ พวกคำคุณศัพท์ที่บอกสี เดี่ยวๆ มีการ accord ทุกอย่าง ยกเว้นเสียแต่ว่าสีนั้น จะเป็นคำที่สร้างจากคำนาม เรามาดูข้อแตกต่างกันด้านล่าง
Il a mis sa chemise bleue = เขาใส่เสื้อสีน้ำเงิน
ตัวอย่างนี้มีการ accord แน่นอนล่ะ เพราะเป็นสีแบบธรรมดาที่เราท่องกันตามหนังสือ พวก สีเขียว สีม่วง สีเหลือง สีแดง
Il a mis sa chemise marron = เขาใส่เสื้อสีน้ำตาลเกาลัด
ตัวอย่างนี้ ทำไมถึงไม่มีการ accord ตรงคำว่า marron ? ก็เพราะว่า marron เป็นสีที่ถูกสร้างจากคำนาม ซึ่งจริงๆแล้วคำว่า marron มันแปลว่าถั่วเกาลัดอะ ดังนั้นก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
และยังมีอีก 5 adjectifs ที่บอกสี ที่ถูกสร้างมาจากคำนาม คือ rose (ชมพู), mauve, (ม่วงอ่อน), pourpre (แดงเลือดหมู), écarlate (แดงเลือดสด), fauve (น้ำตาล แบบสีหนัง)

7. Adjectif หรือ Adverbe ? (Est-ce un adjectif ou un Adverbe?)

ในบางประโยค บางทีเราก็จะแยกออกยากอยู่เหมือนกันว่าเห้ย คำไหนเป็น adjectif หรือว่าคำไหนเป็น adverbe อย่างประโยคตัวอย่างจากต้นฉบับเขาบอกว่า
Cette personne est fort gentille
คำว่า fort เนี่ย ทำหน้าที่เป็น adverbe ซึ่งขยาย gentille อีกทีนึง และสามารถใช้คำว่า fortement แทนได้เช่นกัน ในขณะที่ gentille ทำหน้าที่เป็น adjectif สังเกตได้จากมีการ accord ตามประธานคือ personne นะ
Il invitera les plus gentilles personnes possible 
คำที่เน้นสีฟ้า possible ก็ถือว่าเป็น adverbe อยู่ดี เพราะว่า possible จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อทำเป็นรูป adverbe จ้ะ

8. Ca และ Sa (Ca et Sa)

อันนี้ก็ปัญหาเสียงเหมือนกันอีก แต่แตกต่างกันแน่นอน และส่วนใหญ่คนมักจะชอบเขียนผิดตลอด อธิบายสั้นๆ ง่ายๆ คือ
  • ça แปลว่า สิ่งนี้ สิ่งนั้น ทำหน้าที่เป็น pronom
  • sa แปลว่า ของเขา ของหล่อน ทำหน้าที่เป็น article possessif ของบุรุษที่สามเอกพจน์ เช่น sa voiture

9. Appeler มี L กี่ตัว ? (Le Verbe “Appeler”, Combien de “L”?)

ให้อธิบายง่ายๆเลยว่า v.appeler ใน temps Présent จะมีการดับเบิ้ลตัว L ตลอด ยกเว้น nous กับ vous ที่จะมีแค่ L ตัวเดียวเท่านั้น แต่ถ้าหากว่าหลังตัว L ไม่มีตัว e muet เราจะลดเหลือแค่ตัวเดียว อย่างเช่นใน temps Passé Simple คือ Il appela

10. Futur และ Conditionnel (Futur et Conditionnel)

อันนี้ก็เป็นปัญหาโลกแตกเช่นเดียวกัน เนื่องจากมันออกเสียงคล้ายกัน แม้ว่าการเขียนเนี่ยก็ไม่ได้คล้ายอะไรมากนัก แต่ก็ยังมีคนเข้าใจผิดอยู่ดี โดยเฉพาะในรูปของ JE ซึ่งมันต่างกันแค่ตัว -s ตัวเดียวเท่านั้น
  • รูป Futur : Je me souviendrai de lui = ฉันจะจำเขาได้
  • รูป Conditionnel : Je me souviendrais de lui = ฉันน่าจะจำเขาได้
หรือจะจำง่ายๆคือ Conditionnel คือ Infinitif + หางของ Imparfait อย่างนี้ก็น่าจะทำให้ช่วยให้หายงงได้อยู่นะ

.
จบไปแล้วสำหรับบทความนี้ที่ได้เลือกมาแปลให้อ่านกัน หวังว่าจะให้ทุกคนที่เรียนภาษาฝรั่งเศสเข้าใจมากขึ้นและไม่งงอีกต่อไปนะครับ หากว่ามีบทความอะไรน่าสนใจ จะนำมาแปลและอธิบายให้อ่านอีกนะครับ
โจม
Cet article a été traduit en version thaïe et adapté par celui d’original – http://motadits.com/grammaire/erreurs-grammaire-corriger/
Merci beaucoup :)

เทคนิคเดาสำนวนฝรั่งเศสใน PAT7.1 อย่างเซียนๆ (Comment deviner l’expression française dans le PAT7.1)

เทคนิคเดาสำนวนฝรั่งเศสใน PAT7.1 อย่างเซียนๆ (Comment deviner l’expression française dans le PAT7.1)

เมื่อพูดถึงข้อสอบ PAT ภาษาฝรั่งเศส ในเรื่องของคำศัพท์ การอ่าน บทสนทนา (Acte de Parole) หรือว่าจะเป็นไวยากรณ์ มันก็ยังเป็นที่สามารถเดาได้ง่าย เพราะอย่างน้อยมันก็ผ่านหน้าผ่านตาทุกคนกันบ้างละน่า แต่ยังไงซะ เราเชื่อว่ามันต้องมีเรื่องนึง ที่ทุกคนส่วนใหญ่ต้องอ้าปากค้าง เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่เคยเจอมาก่อน หรือเห็นแล้วสตั๊นไป 2740 วินาที (เอ่ออออ) นั่นก็คือ…

“สำนวนภาษาฝรั่งเศส” หรือที่เราเรียกว่า
“Les expressions françaises” นั่นแหละ
(บางทีอาจจะเรียกว่า proverbes ได้เช่นกัน)

เชื่อว่าพูดถึงสำนวนภาษาฝรั่งเศส ใครๆมันก็ต้องบอกว่ายากหมดแหละ ขนาดเราเป็นคนสอนเอง ยังจำได้ไม่หมดเลย เพราะสำนวนภาษาฝรั่งเศสมันมีเยอะมากกกกกกกกกกกกกก แต่เราคิดว่า มันก็ต้องมีเทคนิคเอาตัวรอด หรือท่าไม้ตายปะวะ? ไม่งั้นมัวแต่มานั่งท่องจำ ก็ตายห่ากันหมดเลยน่ะสิ
แต่เอาล่ะ มันจะมีข้อสอบ PAT ที่ออกเรื่องสำนวนภาษาฝรั่งเศสเนี่ยแหละ อยู่ทั้งหมด 2 แบบหลักๆเลยคือ

1.) ขีดเส้นใต้สำนวนตรงโจทย์ แล้วมีประโยค keyword ให้เราเดาต่อ

ข้อสอบแพทเทิร์นแบบนี้ มันก็จะง่ายขึ้นมาหน่อยกับการทำข้อสอบคือจะมีสำนวนมาให้ แล้วมีประโยค keyword มาให้เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการเดา ในกรณีที่แบบเห้ยย มันเป็น unseen อ่ะเรามาลองดูตัวอย่างกันเล็กๆน้อยๆ
– Tu ne vois plus Jean-Charles ?
– Ah non, depuis qu’il est devenu directeur, il a la grosse tête. Il ne parle plus aux vieux copains !
Qu’est-ce que cela veut dire les mots soulignés ?
1) il a mal à la tête
2) il est furieux
3) il est très occupé
4) il est prétentieux
เมื่ออ่านจากโจทย์ได้แล้ว ก่อนอื่นเลยให้เราหาประโยค keyword เพื่อนำไปซึ่งคำตอบก่อน นั่นก็คือประโยคที่ว่า“Depuis qu’il est devenu directeur, il ne parle plus aux vieux copains” ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่น่าจะแปลได้อยู่แล้ว นั่นก็คือ “ตั้งแต่ที่กลายมาเป็นผู้อำนวยการ เขาไม่คุยกับเพื่อนเก่าๆอีกเลย” แสดงว่าไอ้ Jean-Charles เนี่ย มันทำไม มันปวดหัวหรอ ? มันโกรธหรอ ? มันไม่ว่างหรอ ? ดูแถๆยังไงก็ไม่รู้ ที่มันเข้าคีย์เวิร์ดจากประโยคมากที่สุดก็คือ มันหยิ่งนั่นแหละ เนื่องจากสำนวน avoir la grosse tête มีความหมายเท่ากับคำว่า être prétentieux หรือหยิ่งยโสนั่นเอง

อ่ะทีนี้ลองมาดูอีกข้อนึงละกัน
จากข้อสอบ PAT เดือนตุลาคม 2552
“Actuellement, il y a beaucoup de bruit dans les grandes villes. Il faut s’y faire
Que signifie l’expression soulignée ?
1) aimer cela
2) continuer cela
3) s’habituer à cela
4) se débarrasser de cela
เทคนิคอันสุดแสนจะซิมเปิ้ลของเราเลยก็คือ หาประโยคคีย์เวิร์ดก่อน นั่นก็คือประโยคที่ไม่ได้ขีดเส้นใต้นั้นแหละ ก็คือ “Actuellement, il y a beaucoup de bruit dans les grandes villes” และแน่นอนว่าเราก็ต้องมาดูในตัวเลือกที่เขามีให้มาว่า เอ้ะ จะตอบอะไรดีหว่าาาาา?
ข้อนี้เค้าวัดกันที่สำนวนที่อยู่ในรูปของกริยานั่นเอง ซึ่งถ้าหากเราเอาตัวเลือกต่างๆมาต่อกับประโยคคีย์เวิร์ดอ่ะลองมาดู
ข้อที่ 1. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องรักมัน – แย่มาก ไม่ถูกแน่นอน
ข้อที่ 2. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องดำเนินมันต่อไป – ใครห้ามตอบนะ ประโยคโคตรไม่ make sense
ข้อที่ 3. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องคุ้นเคยชินกับมัน – ดูดีอยู่นะ อ่ะลองดูข้อสุดท้าย
ข้อที่ 4. ในปัจจุบันนี้มีเสียงดังในเมืองใหญ่ มันจำเป็นที่จะต้องเอาตัวรอดจากมัน – อย่างกับเสียงดังอันนั้นเป็นระเบิดฮิโรชิม่า บ้าป่าว เกินไป
สรุปแล้วข้อที่มันน่าจะถูกต้องมากที่สุด มันก็คือข้อที่ 3 เพราะว่าสำนวน s’y faire แปลว่า คุ้นเคยชิน หรือ s’habituer นั่นเองคร้าบบบ

2.) ไม่มีอะไรมาให้เลย มีแต่สำนวน proverbes แล้วถามความหมายเลย 

อันนี้ถือว่าเป็นไม้ตายเลยทีเดียว เพราะมันไม่มีอะไรมาให้เลยนอกจากประโยคในรูปของสำนวนนั้นๆ แล้วก็ถามคำถามว่า “สำนวนดังกล่าวหมายถึงอะไร?” โอโหหหหหห สำนวนภาษาไทยบางอันยังไม่รู้เลย ให้มาท่องภาษาฝรั่งเศส งามไส้แล้วไหมล่ะ อ่ะ ลองมาดูข้อสอบตัวอย่างสักนิดหน่อยแล้วกัน แล้วมาดูกันว่า เทคนิคจะมีอะไรกันบ้าง
“Tu campes sur tes positions.” Cela veut dire que……. (ข้อสอบ PAT กรกฎาคม 2552)
1) tu fais du camping sur le terrain précis
2) tu acceptes de modifier ton opinion
3) tu fais les choses dans le bon ordre
4) tu refuses de changer d’avis
จากข้อสอบ แน่นอนว่ามันต้องแปลเป็นอะไรที่แบบไม่ใช่ความหมายเดียวกันกับที่สำนวนเค้ามีมาให้แน่นอน ถ้าหากเราไม่รู้จริงๆ ให้ดูที่สำนวน แล้วแปลตรงตัวไปก่อน จากสำนวนที่เค้าให้มามันคือ camper sur tes positions แปลตรงตัวก็ ตั้งแคมป์ในตำแหน่งของเธอ ถ้าเราลองคิดดูว่าตั้งแคมป์มันก็เหมือนปักหลัก ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการโยกย้าย ยินยอมที่จะอยู่บนจุดยืนของตนเอง ดังนั้น ประโยคที่น่าจะ make sense กับสำนวนที่ให้มามากที่สุดคือ ข้อ 4 นั่นเอง เพราะว่า camper sur tes positions = refuser de changer d’avis

อ่ะให้อีกข้อนึงง่ายๆ
Dévorer un livre, c’est ……..  (ข้อสอบ PAT กรกฎาคม 2552)
1) lire un livre en prenant un repas
2) lire un livre de recette passionnante
3) mordre un livre qui ne nous plaît pas
4) lire avec beaucoup d’intérêt un livre qui nous passionne
คิดไม่ออก ก็แปลมันตรงตัวเลย ก็คือ dévorer un livre แปลว่ากลืนเขมือบหนังสือ เออ แต่สำนวนบ้านไหนมันจะแปลตรงตัวขนาดนั้นหล่ะ? มันน่าจะแปลให้ความหมายมันสละสลวยกว่านี้ก็คือข้อ 4 เพราะว่ากลืนเขมือบหนังสือ เหมือนเราเสพหนังสือ กินหนังสือเข้าไปเลย ไม่ได้หมายความว่าอ่านหนังสือในขณะทานอาหาร อ่านหนังสือสูตรอาหาร หรือว่าจะกัดกินหนังสือที่เราไม่ชอบอ่าน ก็แย่แล้ว ดังนั้น dévorer un livre = lire avec beaucoup d’intérêt un livre qui nous passionne

อ่ะแถมๆให้อีกข้อเผื่อยังไม่เกท
“Cette affaire a fait beaucoup de bruit.”
Que veut dire l’expression en gras ?
1) On a beaucoup parlé de cette affaire
2) Cette affaire nous fait mal aux oreilles
3) On a entendu du bruit pendant cette affaire
4) Cette affaire a provoqué une explosion
อ่ะแปลตรงตัวก่อนเลยว่า สิ่งๆนี้มันทำเสียงอึกทึกครึกโครมมาก พอแปลได้แบบนี้แล้วเราจึงมาไล่ดูในตัวเลือกของเรา โดยที่ห้ามตอบตัวเลือกที่แปลเหมือนที่เราแปลตรงตัว แต่ให้เทียบโดยใช้การเปรียบเทียบเอานั้นแหละ ดังนั้น ข้อที่ 2, 3, 4 โคตรจะแปลตรงตัว คือ มันทำให้เจ็บหู พวกเราได้ยินเสียงดัง หรือเรื่องสิ่งนี้มันทำให้เกิดการปะทุระเบิด โอโห โคตรจะตรงเกินไปไหมพี่ ดังนั้นข้อที่ไม่ได้แปลตรงตัวเหมือนตามที่เราแปลตอนแรกก็คือข้อ 1 ที่ถูกต้อง เพราะว่า มันทำให้เกิดเป็นเรื่อง talk of the town นั่นเองจ้า (faire beaucoup de bruit = on a beaucoup parle de cela)

สรุปคือเทคนิคในการเดาสำนวนภาษาฝรั่งเศสคือ

1. ในกรณีที่มีประโยคคีย์เวิร์ดมาให้ ให้หาประโยคคีย์เวิร์ดแล้วแปลประโยคคีย์เวิร์ดนั้น แล้วหาประโยคที่เข้าความหมายกับประโยค
2. ในกรณีที่ไม่มีอะไรมาให้เลย ให้แปลสำนวนนั้นแบบตรงตัว ตรงความหมายไปก่อน แล้วหลังจากนั้น ให้หาคำแปลของประโยคนั้น ที่ไม่ได้แปลตรงตัว หรือให้หาประโยคที่เปรียบเทียบแล้วเมคเซ้นส์มากที่สุด เกทหรือเปล่า ถ้ายังไม่เกท ขึ้นไปอ่านตัวอย่างนะ (ตัวอย่าง dévorer un livre ดีมากๆ ลองทำความเข้าใจ)

จบไปแล้วกับบทความง่ายๆ ที่จะให้ทุกคนๆที่เตรียมตัวสอบนั้น ได้รับเทคนิคท่าไม้ตายในการพิชิตข้อสอบ PAT ภาษาฝรั่งเศสในพาร์ทของสำนวนสุภาษิตคำพังเพยหลายแหล่ในภาษาฝรั่งเศสนะครับ แล้วเจอกันใหม่ entry หน้า
บั้ยบายยยยย
โจม

โกดังเผยไต๋ PAT7.1 ภาษาฝรั่งเศส จะมีอะไรบ้างบนข้อสอบ? (อัพเดท December 2014)

Entry นี้ คัดลอกมาจากบทความ “PAT 7.1 ภาษาฝรั่งเศส(มันน่า)จะออกอะไรบ้าง?” (jhompwut.wordpress.com) ซึ่งกำลังจะปิดลงแล้วมาใช้ user นี้เท่านั้นแล้ว เลย copy และอัพเดทเพิ่ม ไว้เป็นแนวทางให้น้องๆครับ คนเขียนคนเดียวกันนะจ๊ะ
Entry นี้จะขอเขียนเพื่อเป็นความรู้ให้กับเพื่อนๆ น้องๆ ที่กำลังจะเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
โดยการใช้ข้อสอบที่เรียกว่า PAT วิชาภาษาฝรั่งเศส -..- ชื่อข้อสอบดูไม่น่าสอบเลยเนอะ
62146_372384529536158_758709209_n

เรามาดูเนื้อหาการสอบกันก่อนเลยดีกว่า สำหรับ PAT ภาษาฝรั่งเศส อ้างอิงจากเว็บ NIETS อีกทีนึง (เราขอคัดมาแค่เฉพาะเนื้อหาเพราะว่าศักยภาพนี่ไม่ค่อยน่า focus สักเท่าไร)
เนื้อหา
1. คำศัพท์พื้นฐาน
2. ไวยากรณ์และโครงสร้าง
3. สำนวนในสถานการณ์ต่างๆ
4. วัฒนธรรมฝรั่งเศส และฝรั่งเศสปัจจุบัน
5. การอ่านออกเสียง
6. เท็กซ์และการจับใจความ (เติมเอง)
เอาง่ายๆไม่ยืดยาว เรามาเริ่มที่เนื้อหาเรื่องแรกเลยดีกว่า
1. คำศัพท์พื้นฐาน (ที่ไม่พื้นฐาน)
ต้องบอกก่อนเลยว่าเนื้อหาในส่วนนี้ คำศัพท์ต้องจำเยอะเป็นพิเศษ ต้องพูดเลยว่าอันนี้กินบุญเก่าของแต่ละคน ท่องเยอะก็ได้เยอะ ท่องน้อยก็ตามมีตามเกิด ในส่วนนี้จะออกประมาณ 10 ข้อ (30 points) ในส่วนนี้ไม่รู้จะเอาอะไรมาแนะนำ ตามมีตามเกิด กินบุญเก่าละกันเนาะ
ตัวอย่างข้อสอบหลักๆ
1.1 ข้อสอบแบบให้หาคำมาเติม โดยส่วนมากจะเป็นกริยามากกว่า เช่นตัวอย่างนี้
Vous achetez une petite table en kit à Home Pro. A la maison, vous regardez le plan et vous ………………. la table. (PAT Juillet 2010)
1. réglez
2. montez
3. soulevez
4. fabriquez
อย่างข้อสอบข้อนี้ เค้าให้เติม verbe convenable ก็คือกริยาที่เหมาะสมกับบริบท ดังนั้นเราต้องอ่านและแปลให้เข้าใจก่อน โจทย์แปลว่า “คุณซื้อชุดประกอบโต๊ะมา คุณก็มาอ่านคู่มือและคุณก็จะต้องประกอบโต๊ะ” เห็นมั้ย? เราสามารถใช้ common sense ยังได้เลย เราก็รู้อยู่แล้วว่า เราซื้อชุดประกอบแบบ kit ที่จะต้องมาประกอบเอง แน่นอน เราก็มาดูช็อยส์
ข้อ 1. réglez ข้อนี้ถ้าหากเรายังไม่รู้จักศัพท์ ให้ลองหารูปพ้องของมันสิ ว่ามันพ้องกับคำว่าอะไร ถ้าเราเห็น เราจะรู้กับคำว่าrègle ที่แปลว่าไม้บรรทัด หรือ ระเบียบกฎเกณฑ์ใช่มั้ยล่ะ เมื่อเราเห็นละเราก็ลองคิดดูซิว่า กริยาที่เกี่ยวกับระเบียบ ง่ายๆก็คือตั้งกฎเกณฑ์ ทำให้เป็นระเบียบ
ข้อ 2. montez ข้อนี้ เป็นศัพท์พื้นฐาน ทุกคนต้องรู้อยู่แล้วแหละว่ากริยาตัวนี้แปลว่า ขึ้น เราจะเคยเห็นในรูปแบบของ mouvement เช่น ฉันขึ้นบันได ขึ้นไปบนชั้นสิบ อะไรประมาณนี้ แต่ว่า โครงสร้าง monter มันสามารถตามด้วยกรรมตรงได้เช่นกัน และจะมีความหมายหลักๆ สองความหมาย คือ ยกสิ่งใดขึ้นไป และประกอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (สร้างขึ้นมา)
ข้อ 3. soulevez บางคนอาจจะไม่เคยเห็นกริยาตัวนี้ แต่แน่นอนล่ะ ต้องเคยเห็นคำว่า lever อยู่แล้วที่แปลว่า ลุกขึ้น ใช่มั้ยล่ะ ส่วนคำว่า sou- เป็น prefix นำหน้า แปลว่าขึ้น ดังนั้น ก็แปลว่ายกขึ้น นั่นแหละ ง่ายสุด
ข้อ 4. fabriquez หลายคนอาจจะตอบข้อนี้ ถ้าหากเห็นแวบแรก หรือไม่รู้จะตอบอะไรแล้ว เพราะมันแปลว่า ผลิต โอเคเข้าใจว่ามันผลิตขึ้นมา แบบนี้ แต่บริบทของกริยา fabriquer มันใช้กับโรงงานครับ ดังนั้นใช้กับชุดประกอบที่บ้านไม่ได้
สุดท้ายก็ตอบข้อ 2. monter ในที่นี้แปลว่าประกอบขึ้นมานะครับ
1.2 ข้อสอบให้หา synonyme ของคำที่เน้นไว้
La candidature de Karine n’a pas été retenue.
Quel est le sens du mot en gras ? (PAT Juillet 2010)
1. acceptée
2. reprise
3. tenue
4. mise
ข้อสอบแบบนี้เป็นข้อสอบอีกแบบที่สนุกเหมือนกัน คือเค้าต้องการให้เราหา synonyme หาความหมายเดียวกันกับบริบทของโจทย์ และส่วนมากแล้วตัวเลือกที่ให้มา ความหมายมันจะคล้ายๆกัน บางทีก็มากก็น้อยแล้วแต่คนออกข้อสอบ ก็ว่ากันไป แต่ทริคของมันคือ เราลองดูโจทย์ คำที่เน้นไว้ คำว่า retenue นั้นเราไม่ค่อยเจอในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และแน่นอน เค้าให้หาคำศัพท์ที่จะมาอธิบายคำดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้น ให้ตอบช้อยส์ที่ความหมายชัดเจนที่สุดไว้ก่อนนะ
จากโจทย์เค้าแปลมาว่า “การสมัครของการีนไม่ถูกตอบรับ” แน่นอนล่ะใช้คอมมอนเซนส์ของเรา หาคำว่าตอบรับในช้อยส์นั้นทันที
ข้อ 1. acceptée แปลว่าตอบรับ แน่นอนมันต้องตอบข้อนี้ คำตอบนี้ไม่กำกวมและอธิบาย synonyme ได้ดีสุด
ข้อ 2. reprise แปลว่าเริ่มต้นใหม่ ดูทริคไว้ เมื่อไรมีคำว่า re นำหน้า มันแปลว่าเริ่มใหม่หมดแหละ
ข้อ 3. tenue หลายคนอาจจะตอบข้อนี้ก็ได้ เพราะมันเหมือนกันกับโจทย์ แต่ tenir มันแปลว่าถือ ยึดเอาไว้ ไม่ถูกๆ
ข้อ 4. mise แปลว่า put หรือสวมใส่ วางให้ตรงที่ อะไรแบบนี้ ไม่ตรงกับบริบทอย่างจริงจัง
สุดท้ายก็มีคำเดียว ง่ายสุดคือ acceptée เป็นคำตอบที่ถูกต้อง
.
2. ไวยากรณ์และโครงสร้าง
ส่วนมากจะออกในเรื่องของแกรมม่าพื้นฐานที่ไม่คิดว่าน่าจะออก กับแกรมม่าที่คิดว่าน่าจะออกแต่ยากมากๆ รายละเอียดที่แสนจะยิบย่อยทำให้เราต้องอาจจะท่องจำเยอะแยะมากมาย สิ่งที่จะต้องให้จำก็มีพวก
  • Articles ทั้งหลายแหล่ ดูเหมือนไม่น่าจะออก แต่ออกบ่อยอยู่หลายเปเปอร์เลยทีเดียว
  • Temps ก็ออกเช่นเดียวกัน เค้าจะมีช่องว่างมาให้เติม แล้วให้เราต้องเคลียร์เอาเอง ส่วนมากมักจะออกในรูปของพวก temps composés คู่อดีต คู่อนาคต อย่าวู่วาม อ่านบริบท จับคีย์เวิร์ดให้ได้
  • L’accord du passé ออกตลอด มาตลอด เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ว่าเราจะ accord ตัว pp ได้เมื่อไร แบบไหนต้องทำการ accord เจอแน่นอน
  • Pronoms relatifs ฟันธงว่ายังไงก็ต้องออก qui que dont où หรือจะเป็น lequel lesquels (…) ออกแน่นอน ต้องท่องมาให้ดีๆ ศึกษาการใช้
  • Si หรือที่เรียกว่า If Clause ในภาษาอังกฤษ (เขียนถูกมั้ยไม่รู้) เอาง่ายๆเลยนะ ให้ไปจำมา 5 โครงสร้างของกริยา เค้าจะมีประโยคอีกประโยคนึงมาให้ แล้วให้เราเติมอีกส่วนนึง ถ้าเรารู้ว่าโครงสร้าง Si ได้หมด สบาย กินคะแนนไปได้เลยฟรีๆ ขอแค่เราดูออกและบอกได้ว่าโครงสร้างมันมีอะไรบ้างแค่นั้นแหละ
  • Les Possessifs ออกตลอด ทั้งแบบ article และ pronom
  • Les Démonstratifs มาแน่นอน celui celle ceux celles หรือ ce cet cette ces ท่องมากันด้วยนะ
  • Subjonctif อันนี้แน่นอน 100% ไม่ออกก็ไม่ใช่ข้อสอบแพท เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่หินมาก ที่จะต้องให้ไปจำก็จะเป็นพวกคำที่ใช้กับ subjonctif อะแหละ
  • Conjunctions คำสันธาน มาตลอด และต้องรู้ด้วยว่าบริบทนี้ใช้อะไร และต้องดูด้วยว่าคำนี้ใช้กับ indicatif หรือ subjonctif
.
3. สำนวนในสถานการณ์ต่างๆ
สำนวนในสถานการณ์ต่างๆ มันก็จะไม่เชิงในสถานการณ์หมด อาจจะมีสำนวนแปลกๆ มาถามความหมายเรา (ประมาณ 3-4 ข้อเนี่ยแหละ) แล้วที่เหลือจะเป็นในส่วนของ Act de Parole พวกสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน พวก dialogues ทั้งหลายให้เราเติมคำแค่นั้น อันนี้สามารถฟาดฟันคะแนนได้ง่าย เพียงแต่ต้องใช้ Common Sense หน่อย เอาจริงๆฝึกใช้คอมมอนเซนส์ยังง่ายกว่าจำศัพท์เลยเหอะ (ฮา)
ตัวอย่างข้อสอบหลักๆ
3.1 ข้อสอบในพาร์ทของสำนวน Expressions และ Proverbes จะมีลักษณะหลักคือ มีสำนวนเน้นมาให้แล้วถามความหมาย
Paul va gagner cette course, ça crève les yeux !
Qu’est-ce que l’expression en gras veut dire ?
1. C’est évident.
2. C’est horrible.
3. C’est incroyable.
4. C’est impossible.
หลายคนเห็นโจทย์นี้ละเงิบไปตามๆกัน เพราะแน่นอน ไม่มีใครรู้จักสำนวน ça crève les yeux ทุกคนหรอก เพราะเราไม่ค่อยได้ใช้ อีกอย่างบางทีที่ฝรั่งเศสยังไม่ใช้กันเล้ย แต่ทริคในการทำโจทย์แบบนี้คือ ให้ดูประโยคข้างหน้าเอาไว้ ในข้อนี้ คีย์เวิร์ดมันอยู่ที่คำว่า “Paul va gagner cette course” ปอลจะชนะการแข่งวิ่งครั้งนี้ แสดงว่ามันต้องเป็นการคาดการณ์แน่นอน เพราะ temps ในโจทย์เป็น futur ใช่มั้ยล่ะ ทีนี่มาไล่ดูช้อยส์กัน
ข้อ 1. C’est évident มันแปลว่า ก็แหงอยู่แล้วล่ะ ก็เห็นชัดอยู่แล้วนี่ คำตอบข้อนี้มันเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ข้อ 2. C’est horrible น่าขยะแขยง น่ากลัวจัง ความหมายลบมากๆ ไม่โอเค ไม่น่าถูกอยู่แล้ว
ข้อ 3. C’est incroyable ไม่น่าเชื่อเลย จะไม่น่าเชื่ออะไร มันเป็นการคาดการณ์ปะตามเซนส์ของโจทย์แล้ว ไม่ถูกอะ
ข้อ 4. C’est impossible เป็นไปไม่ด้ายยยยย ผิด ผิด ผิด ความหมายมาแนวเดียวกันกับช้อยส์ 3 เลย ไม่ถูก
สำนวน ça crève les yeux แปลว่า เห็นชัดอยู่แล้ว แหงอยู่แล้ว
3.2 ข้อสอบแบบเชิงสำนวนและให้ต่อประโยคให้เป็น dialogue complète
Joëlle fait une promenade en voiture dans les montagnes. Elle a mal au coeur.
Son mari lui dit : “……………………….”
1. Je t’assure que je t’aime
2. Il n’y a aucune raison d’être triste.
3. Je vais mettre un peu de musique pour te calmer.
4. Je vais arrêter pour que tu puisse descendre et prendre l’air.
โจทย์ถามว่า สามีจะพูดว่าอะไร เพราะมีประโยคข้างต้นมาให้คือ โฌแอลนั่งรถเล่นบนเขาใช่มะ แล้วมีอาการปวดหัวใจ(?) แล้วคิดว่าโจทย์สำนวนแบบนี้มันจะแปลตรงตัวว่าปวดหัวใจเลยหรอวะ ไม่มีทางอ่ะ avoir mal au coeur แปลว่าคลื่นไส้ อาเจียร จะอ้วก อะไรประมาณนี้ ดังนั้น สามีต้องพูดว่าไร คอมม่อนเซนส์มาเลย
ข้อ 1. ฉันมั่นใจว่าฉันรักคุณ โอโห ภรรยาจะอ้วกคารถอยู่แล้วจะมาตอบแบบนี้ไม่ได้ ผ่านเลย
ข้อ 2. มันไม่ใช่เรื่องที่จะมาเศร้าเลยนะ ก็ไม่น่าจะใช่ปะ?
ข้อ 3. ฉันจะเปิดเพลงให้คุณใจเย็นลงนะ มันก็ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับจะอ้วกหลือคลื่นไส้ บางคนอาจจะมีไอเดียแบบนี้ แต่ผิดครับ
ข้อ 4. เดี๋ยวผมจะหยุดรถแล้วให้คุณลงรถและสูดอากาศหน่อยนะ แบบนี้สิ สามีที่ดี แฟนจะอ้วกก็ต้องปล่อยลงรถ ไม่ใช่ข้ออื่นๆ
4. วัฒนธรรมฝรั่งเศส และฝรั่งเศสปัจจุบัน
เนื้อหาในส่วนนี้เป็นเนื้อหาที่โจมชอบมากที่สุด เพราะมันท่องจำอย่างเดียว ถ้าจำได้ก็ได้ จำไม่ได้ก็ไม่ได้ แต่ส่วนมากข้อสอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมต้องผ่านหูผ่านตาทุกคนมาแล้วบ้าง เนื้อหาส่วนมากที่จะออกก็เป็น
Paris ทุกสถานที่ที่อยู่ในปารีส มันต้องออก 1 ข้อ เช่น สถานที่ที่มีศพทหารนิรนาม จะเป็นสถานที่ไหน ก็ตอบ L’Arc de Triomphe de l’Etoile
Les régions françaises แคว้นฝรั่งเศส ต้องออก ถ้าไม่ออกแคว้นโดยตรง ก็อาจจะถามเมืองที่อยู่ในแคว้นนั้นๆ และขาดไม่ได้ต้องออกคือ la spécialité พวกอาหารขึ้นชื่อ สิ่งที่ขึ้นชื่อของแต่ละเมืองแต่ละแคว้น อันนี้ต้องจำดีๆนะ
La France en géographie พวกประเทศใกล้เคียงฝรั่งเศส เทือกเขา แม่น้ำ เมืองท่าสำคัญของฝรั่งเศส ท่องมาให้หมด ออกแน่ๆ
  • Les Alpes = France, Italie, Suisse
  • Mont Blanc est le massif le plus haut de France, situé aux Alpes.
  • Les Pyrénées = France et Espagne
  • Le Massif-Central = Au centre de la France
  • La Seine traverse vers Paris
  • La Loire est le fleuve le plus long du pays
  • La Garonne est le plus court
  • Les ports importants de France = Le Havre, Montpellier
Les Symboles de la France สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส
  • Devise nationale = “Liberté, Egalité, Fraternité”
  • Hymne national = “La Marseillaise” (Rouget de Lisle, compositeur)
  • Fleur de Lys = ดอกพับพลึง
  • Marianne = หญิงสาวที่อยู่บนเหรียญของประเทศฝรั่งเศส
  • Le drapeau français มีอีกชื่อคือ Tricolore เรียงสามสีดังนี้ Bleu Blanc Rouge
Les médias de la France พวกสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ นิตยาสาร หนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ อะไรก็ว่าไป อันนี้ออกแน่นอน ถ้าจำไมได้ อดคะแนนนะทีนี้
Les fêtes เทศกาลของประเทศฝรั่งเศส จัดขึ้นยังไง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง จัดขึ้นในช่วงไหน ส่วนมากออกพวก Chandeleur, Pâques, Noël, Toussaint อื่นๆ
  • Fête de Bande-Dessinée a lieu à Angoulême (le 30-31 janvier)
  • Fête de Théâtre a lieu à Avignon
  • Fête internationale de Films a lieu à Cannes
  • Fête de la Musique se déroule tous les étés au début de juin.
La Politique Française การเมือง ชื่อประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี คนฝรั่งเศสโหวตได้ตั้งแต่อายุเท่าไร นายกถูกเลือกยังไง ใครเป็นคนเลือกหรือเสนอชื่อ บลาๆ อ่าานมาให้หมดเลยนะ
  • Régime de l’Etat = République constitutionnelle
  • Président de la République = François Hollande
  • Premier ministre = Manuel Valls
  • Les français peuvent voter à partir de l’âge de 18 ans
  • Le Président est élu par les habitants de la République, mais le Premier ministre est nommé par le Président.
Abréviation อักษรย่อของหน่วยงานของฝรั่งเศส เอาจริงๆไม่น่าจะมาออกเลยนะ แต่ช่วยไม่ได้ เค้าต้องการให้รอบรู้ทั้งหมด บางอย่างมันก็ยากไปจริงๆ แต่ให้จำแค่ไม่กี่ตัวก็พอแล้ว
  • S.N.C.F. = Société Nationale des Chemins de Fer Français (การรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส)
  • A.N.P.E = Agence Nationale pour l’Emploi (สำนักจัดหางานแห่งชาติ)
  • R.A.T.P = Régie Autonome des Transports Parisiens (องค์การขนส่งมวลชนของปารีส รับผิดชอบ métropolitain และ autobus)
  • R.E.R = Réseau Express Régional (รถไฟที่วิ่งจากชานเมืองไปยังตัวเมืองปารีส)
  • P.T.T = Postes, Télégraphes et Téléphones (ไปรษณีย์โทรเลขของฝรั่งเศส)
  • TCF = Test de Connaissance de Français (การทดสอบภาษาฝรั่งเศสแห่งชาติ)
.
5. การอ่านออกเสียง
อ่านนี้ ใช้สกิลตัวเองล้วนๆ ไม่สามารถบอกให้ได้ว่ายังไง เพราะคิดว่าทุกคนต้องรู้อยู่แล้วว่ามันอ่านอย่างไร ข้อสอบในพาร์ทนี้ไม่ค่อยยากเท่าไร
Dans quel groupe de mots, le “en” se prononce-t-il différemment ?
1. Tennis
2. Envoyer
3. Ennuyer
4. Renseigner
โจทย์ถามว่าข้อไหนอ่านออกเสียง EN แตกต่างจากข้ออื่น ทริกง่ายๆ อย่างในโจทย์ข้อนี้ทุกช้อยส์เป็นคำภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นคำว่า Tennis ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษที่ฝรั่งเศสยืมมาใช้ ดังนั้นคำยืมให้อ่านตามคำต้นฉบับ ก็อ่าน เต็นนิส เหมือนเดิม ไม่มีอ่าน ต็องนิส หรือ ต็องนี แต่อย่างไร
ดังนั้นก็ตอบ Tennis นะครับ
.
6. เท็กซ์และการอ่านจับใจความ
อันนี้ออกเยอะสุด แนะนำว่าให้ตอบแบบกว้างที่สุดไปจนถึงแคบที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยายามหาคีย์เวิร์ด ถ้าหากว่าเราอ่านได้เราก็สามารถได้คะแนนได้ง่ายๆ เพราะจับใจความมันไม่ยาก อยู่ที่ว่าเราจะเลือกตอบคำตอบที่มันชัดเจนและครอบคลุมกับเนื้อหาทั้งหมดแต่ละโจทย์ได้มั้ยแค่นั้นเอง
.
เรื่องหนังสือ ให้ลองหาอ่านเป็นข้อสอบเก่าดีกว่า เอาข้อสอบเก่ามาทำ ไม่ต้องอ่านจากแบบเรียนนะ มันไม่ออกหรอกเชื่อสิ ออกนิดเดียว เสียเวลา สู้ไปหาหนังสือข้างนอกอ่านเอาเองดีกว่า และหาข้อสอบเก่ามาทำ เนื้อหามันก้มีอยู่แค่นั้นแหละ ที่อัพเดทๆก็จะเป็นพวกวัฒนธรรมมมากกว่า เพราะมีฝรั่งเศสปัจจุบันด้วย (เรื่องการเมืองมาแน่นอน) ส่วนเนื้อหาพวกนี้ก็ไม่อยากให้ยึดติดมาก อยากให้เป็น guide แนวทางและนำทางช่วยในการจับแนวข้อสอบเท่านั้น เนื้อหาในบทความนี้มันน้อยมาก ลองไปหาจากที่อื่น อ่านจากที่อื่นมาด้วย ถ้าหากว่ามีอะไรผิดพลาดก็ขออภัยด้วยนะครับ และจะพยายามเข้ามาอัพเดทอีกถ้าหากมีเนื้อหาอะไรใหม่ๆ นะจ๊ะ
หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถาม และไปอ่านเนื้อหาภาษาฝรั่งเศสได้ที่
FACEBOOK : JHOMMEFR
IG : @JHOMMEFR
TWITTER : @JHOMMEFR