วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เตรียมตัวเพื่อเรียน “นิติศาสตร์” กับครูพี่ทาม์ย
           สำหรับน้องๆ ที่สนใจคณะนิติศาสตร์ นั้น การเตรียมตัวก็ไม่ต่างจากคณะอื่นๆ มากนักครับ นั่นคือเรามีอยู่3 ก็อก นั่นคือ ก๊อกแรก คือ “การสอบตรง” ทั้งนี้เพราะในแต่ละมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะที่ธรรมศาสตร์ รับมากถึง 60% ของจำนวนรับทั้งหมด เป็นต้น ก๊อกสอง คือ “แอดมิชชั่น” อันนี้รอนานหน่อย แต่หลายๆ มหาวิทยาลัยก็จะเปิดรับเฉพาะการแอดมิชชั่นเพียงอย่างเดียว เช่นจุฬาฯ ในบางปีก็ไม่เปิดรับตรงเลย ส่วนก๊อกสามนั้น ปลายทางแล้วถ้ายังไม่ได้ในมหาวิทยาลัยรัฐ ไม่เป็นไรเป้าหมายในการเป็นนักกฎหมายยังคุกรุ่นอยู่ ก็สามารถเลือกในเส้นทางนี้ นั่นคือ 1.มหาวิทยาลัยเปิด เช่นรามคำแหง (ซึ่งมีชื่อเสียงมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศในด้านนิติศาสตร์) ก็จะมีทางเลือกซึ่งน่าสนใจ 2 ทางคือ การเรียนที่อื่นๆ ไปด้วย แล้วเรียนที่รามไปด้วย (อันนี้เด็ก มธ. มักจะทำกัน ถ้าขยันก็จบ ไม่ขยันก็ไม่จบ เรียนรามก็ไม่ได้ว่าง่ายนะครับ) หรือจะอีกทางคือเรียนรามอย่างเดียวเลย 2.มหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งในปัจจุบันแทบทุกที่จะมีเปิดสอนนิติศาสตร์ และยังมีหลักสูตรนานาชาติที่ ABAC อีกด้วย
 
           ทีนี้พี่ทาม์ยจะขอเล่าเฉพาะใน 2 ก๊อกแรกก่อนละกันครับ เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่ดีให้กับน้องๆ ที่อยากเรียนในมหาวิทยาลัยปิด ดังนี้ครับ
 
1. การรับตรง
 
1.1 การรับตรงของธรรมศาสตร์ => รับค่อนข้างเยอะ คือรับ 300 คนจากจำนวนรับทั้งหมดต่อปี 500 คน นั่นคือรับตรงเป็นสัดส่วนสูงมากถึง 60% ทั้งนี้ในวิชาที่รับตรงนั้น ประกอบด้วย
(รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.2btopic.com/TU/law.html )
 
1.1.1) วิชาความรู้ทางกฎหมายและทักษะในการใช้กฎหมาย มีสัดส่วนสูงมากถึง 40%
     ซึ่งในวิชานนี้ถือได้ว่าเป็นวิชาที่มีสัดส่วนสูงมากที่สุด เป็นหัวใจของการรับตรงก็ว่าได้ เพราะเป็นทักษะที่ค่อนข้างตรงสาย ทั้งนี้แนวข้อสอบที่ออกจะออกเป็น Multiple Choice ในเนื้อหาตามชื่อวิชา ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเนื้อหาการสอบย่อมออกสูงกว่าที่เรียนๆ กันในวิชาสังคมศึกษาในโรงเรียนอย่างแน่นอน เพราะมันจะมีความละเอียดมากกว่า ซับซ้อนมากกว่า หรือเนื้อหามันสูงกว่าระดับ ม.ปลายทั่วไปนั่นเอง ... แต่ทว่าหากน้องคิดที่จะเริ่มเตรียมตัวแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะเรียนเก่งหรือไม่เก่ง จะเรียนไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอย่างที่บอก วิชานี้ออกสูงเกินหลักสูตร ดังนั้นที่เรียนๆ มากันทั้งหลายนั้น แทบจะเป็นศูนย์ ก็ต้องมาเริ่มนับหนึ่งกันใหม่นั่นเอง ดังนั้นน้องที่เตรียมตัวก่อน ย่อมได้เปรียบ เพราะตัวบทกฎหมายมันเป็นทักษะเชิงตรรกะ คือ Input ยังไง Output อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง (ตามระบบกฎหมายไทย) พูดง่ายๆ คือเรียนซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆ ก็จะเกิดความชำนาญมากขึ้นนั่นเอง (ดังนั้นน้องส่วนใหญ่จึงมักเรียนซ้ำหลายรอบ เนื่องจากเป็นเนื้อหาใหม่ที่ไม่เคยเจอ และสูงเกินหลักสูตรนั่นเอง แต่ทั้งนี้การจะเรียนซ้ำหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล ที่ต้องประเมินตนเองครับ)
 
1.1.2) ภาษาอังกฤษ มีสัดส่วน 10%
     วิชานี้ดูเหมือนจะง่าย แต่เอาเข้าจริงต้องเตรียมตัวให้ตรงจุดนะครับ เพราะน้องส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ว่าจะกี่รุ่นต่อกี่รุ่นเนี่ย ก็มักจะเข้าใจว่า อ่อ สอบภาษาอังกฤษ ก็เรียนหรือเตรียมตัวภาษาอังกฤษตัวเดียว ใช้เหมือนกันได้หมด แต่ทว่าเอาเข้าจริงมัน "ไม่ใช่" เพราะข้อสอบแต่ละยุด มีจุดประสงค์ในการชี้วัดต่างกัน ดังนั้นจะออกข้อสอบเหมือนกันไม่ได้อยู่แล้ว ตามหลักการ (ซึ่งไม่ใช่แค่วิชาภาษาอังกฤษด้วยนะ วิชาอื่นๆ ก็เช่นกันเช่น คณิตศาสตร์ เป็นต้น ดังนั้นก่อนจะสอบที่ไหน อย่างไรควรศึกษาให้ดีก่อน ใช่ว่าจะถูลู่ถูกังเตรียม ไม่ลืมหูลืมตานะครับ) เพราะว่าการเตรียมสอบ GAT หรือ ONET หรือสอบตรงกลาง ข้อสอบก็จะไม่เหมือนกัน ดังนั้นภาษาอังกฤษของนิติศาสตร์ มธ.ก็เช่นเดียวกัน ย่อมต้องออกเฉพาะตัว (ทั้งนี้เพราะคณะเป็นผู้ออกข้อสอบและจัดสอบเอง) ซึ่งต้องเตรียมให้ดี และทริกง่ายๆ ที่พี่ทาม์ยจะแนะนำคือ ลองคิดง่ายๆ ว่า ภาษาอังกฤษสอบตรง มธ. ออกโดย มธ. เพราะงั้นมันก็น้องๆ TU-GET น่ะแหละครับ แค่ตัดบางส่วนออก (เพราะฉะนั้นมันไม่เหมือน GAT หรือ ONET แน่นอน) คือยังไง ก็คือมักจะออกเกี่ยวกะบทความ เพราะเค้าอยากรู้ว่า จริงๆ แล้วเนี่ย น้องๆมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาอังกฤษเป็นอย่างไรบ้างนั่นเอง
 
1.1.3) GAT มีสัดส่วน 30%
    ต้องเป็นรอบสอบในเดือน ตุลาคม เท่านั้น และจากสัดส่วนแล้วอย่าลืมนะครับว่ามัน "สูง" จริงๆ ดังนั้นต้องเตรียมให้ดี ทั้งนี้เพราะเตรียมครั้งนี้ก็ยังสามารถเอาไปใช้ยื่นได้ในแอดมิชชั่นอีกด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป
    และแน่นอนว่า หากอยากสอบติดก็ต้องทำคะแนนส่วนนี้ให้ได้คะแนนสูงๆ ไว้ก่อน และแน่นอนควรทำให้ได้เกิน 250 คะแนน จาก 300 คะแนนครั (ไม่ได้ขู่นะ แต่เป็นแบบนี้จริง โดยควรทำในส่วนวิเคราะห์ให้เต็ม 150 ก่อนเพื่อเป็นฐาน แล้วทำภาษาอังกฤษเพิ่มอีก 100 คะแนน)
 
1.1.4) วิชาเรียงความ/ย่อความ มีสัดส่วน 20%
     วิชานี้ไม่ยากและไม่ง่าย ถ้าน้องเป็นคนที่มีทักษะในการจัดลำดับความคิดที่ดี เพราะในส่วนของวิชาเรียงความนั้นจะแสดงให้เห็นถึงทัศนคติโดยรวมๆ ของน้องๆ ถือได้ว่าเป็นคำถามจิตวิทยาพอสมควร แต่ทว่าคำถามจะถามไม่ยากมาก เช่น นักกฎหมายที่ดีควรเป็นอย่างไร เป็นต้น คำถามเรียงความของนิติศาสตร์จะไม่ซับซ้อนและไม่ยากเท่ากับรัฐศาสตร์ ดังนั้นตรงนี้ต้องดูความคิดของตัวเองก่อนว่าตรงกับ Nature ของพวกนิติศาสตร์และธรรมศาสตร์รึเปล่านั่นเอง อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญมากของเด็กไทย คือเขียนเรียงความไม่เป็น เขียนวกไปวนมา อ่านแล้วไม่รู้เรื่อง ตรงนี้ต้องปรับปรุงและเตรียมตัวให้ดี
     ส่วนการย่อความ ก็ต้องมีทักษะในการจับใจความสำคัญที่ดี (ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานในข้อสอบ GAT วิเคราะห์และภาษาอังกฤษ รวมไปจนถึงการทำหน้าที่นักกฎหมายที่ดีต่อไปในอนาคต) เพราะบางปีออกบทความมากว่า 10 หน้า ให้ย่อเหลือเพียงหน้าเดียวเป็นต้น
 
(ส่วนในคอร์สเตรียมสอบของ TOPIC คือ LAW + ILT + GAT NETWORK + GAT ENG หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.2btopic.com/TU/law.html )
 
      ทั้งนี้น้องอย่าลืมนะครับว่า ทุกวิชาที่ใช้สอบตรงของธรรมศาสตร์นั้นมีความสำคัญที่จะ "ทิ้ง" ไม่ได้แม้แต่วิชาเดียว ทั้งนี้เพราะธธรรมศาสตร์มีระบบการตรวจที่ค่อนข้างแปลก คือจะตอบเป็นขั้นๆ ซึ่งตามในประกาศอย่างเป็นทางการคือ จะคัดผู้ที่ทำคะแนนสอบใน 3 ข้อแรกข้างต้นนั้นสูงสุดจำนวน 1,200 คนแรก เพื่อนำมาตรวจข้อสอบเรียงความและย่อความ แต่ทว่าจริงๆ แล้ว คณะจะเริ่มคัดกรองเป็นส่วนๆ ซึ่งเชื่อกันว่าจะเริ่มตัดกันตั้งแต่วิชา GAT ก่อนว่ามีคะแนนผ่านเกณฑ์หรือไม่ ถ้าไม่ผ่านก็ไม่ตรวจส่วนอื่นต่อ ถ้าผ่านก็ดูวิชาต่อไปคือวิชากฎหมาย (ซึ่งก็จะพิจารณาเฉพาะวิชากฎหมาย ไม่เอา GAT มารวมแล้ว) จากนั้นถ้าผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ก็ไปต่อ เหมือนบ้านเอเอฟเลย 55 จากนั้นก็มาดูต่อที่ภาษาอังกฤษว่าผ่านเกณฑ์หรือไม่ จากนั้นท้ายที่สุด ก็จะเอาน้องขั้นสุดท้ายจำนวน 1,200 คนมาตรวจเรียงความและย่อความ ซึ่งในขั้นนี้ก็จะพิจารณาเฉพาะการเรียงความและย่อความอย่างเดียวเลย (มีน้องหลายคนประมาท ไม่สนใจเรียงความ/ย่อความ เพราะคิดว่าน่าจะทำส่วนอื่นได้ดีแล้ว และคงจะเกลี่ยๆ กันก็น่าจะติด แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น บางคนเก่งมาก แต่เรียงความไม่ดีก็ตก ก็มีมาแล้ว และมีอยู่ทุกปี) จากนั้นก็มักจะประกาศผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ประมาณ 500 คน แล้วก็สัมภาษณ์ โดยในการสัมภาษณ์ก็เช่นกัน พิจารณาตัดคนว่าติดหรือไม่ติดจากเฉพาะ "คะแนนสัมภาษณ์" เท่านั้น ไม่เอาที่สอบๆ มา มารวมในการพิจารณาตัดสินเลย (ซึ่งจะไม่เหมือนระบบของ จุฬาฯ ที่เรียงคะแนนจากสูงสุดลงต่ำสุดเลย)
      ดังนั้นการเตรียมตัวในทุกขั้นตอนนั้น ห้าม "หลุด" เป็นเด็ดขาด ต้องเตรียมให้ดีทุกๆ ขั้นตอนนั่นเอง ซึ่งก็อย่างที่บอก ไม่ยาก และก็ไม่ง่ายครับ อยู่ที่ความมุ่งมั่น พยายามและความตั้งใจล้วนๆ
 
1.2 สำหรับการรับตรงของจุฬาฯ --> แล้วแต่ปีครับ บางปีรับตรง บางปีไม่รับ ต้องรอดูประกาศอย่างเป็นทางการ แต่ทว่าในช่วงปี 2553 - 2554 ที่ผ่านมา จุฬาฯได้เปิดสอบตรงในคณะนิติศาสตร์ โดยใช้สัดส่วนคือ
1.2.1) คะแนนสอบวิชา GAT 20%
1.2.2) คะแนนสอบวิชา PAT 1 (คณิตศาสตร์) หรือ PAT7 (ภาษาต่างประเทศ) แล้วแต่ว่าน้องจะเลือกวิชาไหนอีก 20%
1.2.3) วิชาพื้นฐาน (จัดสอบโดยจุฬาฯ) ในวิชาภาษาไทย สังคม และภาษาอังกฤษ อีกวิชาละ 20%
 
(รายละเอียดเพิ่มเติม --> http://www.2btopic.com/chula/law.html )
 
1.3 สำหรับการรับตรงของ มช. => มีรับตรงทุกปี คือ 1.โครงการเรียนดี (รับทั่วประเทศ) อันนี้ต้องดูรายละเอียดในแต่ละปีอีกครั้ง 2.โควต้า จากนักเรียนใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ดังนั้นหากเป็นน้องที่อยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือก็ใช้สิทธิ์ได้เลย โดยจะสอบในวิชาพื้นฐาน ไทย คณิต วิทย์ อังกฤษ สังคม โดยเป็นข้อสอบของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เอง สอบเหมือนกันทุกคณะ แล้วแต่ว่าจะเอาคะแนนไปยื่นคณะอะไร
 
1.4 การรับตรงของมหาวิทยาลัยอื่นๆ => การรับตรงนั้นจะคล้ายกับจุฬาฯ คือมักจะใช้คะแนน GAT + PAT1 หรือ PAT7 หรือวิชาพื้นฐานคณิตศาสตร์, ไทย, สังคม , อังกฤษ ซึ่งต้องติดตามรายละเอียดในแต่ละมหาวิทยาลัย ในแต่ละปีอีกครั้ง ทั้งนี้เพราะในมหาวิทยาลัยอื่นๆ นั้นยังไม่ค่อยมีความแน่นอนในการเปิดรับตรงนั่นเอง
 
2. สุดท้าย การสอบแอดมิชชั่น => แอดมิชชั่น จะใช้คะแนนยื่นดังนี้ คือ GPAX 20%, ONET 30%, GAT 40%, PAT1/PAT7 30% (ซึ่งในปี 2556 8าดว่าจะปรับ GAT เป็น 30% และ PAT1/PAT7 เป็น 20%)
 
ซึ่งจะเป็นได้ว่าวิชาที่น่าจับตามอง และต้องเตรียมตัวให้ดีนั่นคือ GAT นั่นเอง
 
ดังนั้นคอร์สเตรียมตัวของเรา => GAT NETWORK + GAT ENG + PAT1 + ONET ครับ
(รายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้
 
"สู้ๆ นะครับ พี่ทาม์ยยังเป็นกำลังใจให้ และ TOPIC ก็ยังมีทุกคำตอบให้น้องอยู่เสมอครับ ด้วยความยินดี ^^"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น