กำหนดการการรับสมัครและสอบคัดเลือก GAT-PAT, 9 วิชาสามัญ, O-NET และ Admission ประจำปีการศึกษา 2560 (ไม่เป็นทางการ/อ้างอิงปีการศึกษา 2559 เป็นแนวทาง)
...อ้างอิง http://www.enttrong.com/2483
วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
เขียนไว้บนผืนทราย
มี เพื่อนสนิทสองคนที่กำลัง เดินทางอยู่กลางทะเลทรายเมื่อเดินทางไประยะหนึ่ง ก็เกิดการโต้เถียงกัน เพื่อนคนหนึ่งโกรธมากถึงกับตบหน้าเพื่อนอีกคนหนึ่ง เพื่อนคนที่ถูกตบหน้า ไม่ว่าอะไรสักคำเดียว แต่กลับเขียนข้อความไว้ที่พื้นทรายว่า…
“วันนี้เพื่อนรักของฉัน ตบหน้าฉัน” พวกเขาเดินทางกันต่อไป
จนกระทั่งพบแหล่งน้ำกลางทะเลทราย พวกเขาตัดสินใจอาบน้ำที่นั่น เพื่อนคนที่ถูกตบหน้าก็เกิดจมน้ำ โชคดีที่เพื่อนอีกคนช่วยชีวิตไว้ได้ เมื่อเขาหายตกใจจากการจมน้ำ เขาก็จารึกข้อความไว้ที่ก้อนหินไว้ว่า “วันนี้เพื่อนรักของฉัน ช่วยชีวิตฉันไว้”
เพื่อนคนที่ช่วยชีวิตเขาและตบหน้าเขารู้สึกแปลกใจใน การกระทำของเขา จึงเอ่ยปากถามว่า…
จนกระทั่งพบแหล่งน้ำกลางทะเลทราย พวกเขาตัดสินใจอาบน้ำที่นั่น เพื่อนคนที่ถูกตบหน้าก็เกิดจมน้ำ โชคดีที่เพื่อนอีกคนช่วยชีวิตไว้ได้ เมื่อเขาหายตกใจจากการจมน้ำ เขาก็จารึกข้อความไว้ที่ก้อนหินไว้ว่า “วันนี้เพื่อนรักของฉัน ช่วยชีวิตฉันไว้”
เพื่อนคนที่ช่วยชีวิตเขาและตบหน้าเขารู้สึกแปลกใจใน การกระทำของเขา จึงเอ่ยปากถามว่า…
“ตอนที่ฉันทำร้ายเธอ ทำไมเธอเขียนลงบนพื้นทราย แต่ตอนนี้ทำไมเธอสลักลงบนหิน”
เพื่อนอีกคนยิ้มและตอบว่า
“เมื่อ เพื่อนทำร้ายเรา เราควรจะเขียนลงบนพื้นทราย เพื่อให้สายลมแห่งการให้อภัยพัดมา และลบมันทิ้งไป แต่เมื่อมีความประทับใจเกิดขึ้น เราควรจะจารึกไว้ใน ศิลาแห่งความทรงจำจากใจ ศิลาแห่งความทรงจำจากใจ ซึ่งสายลมไม่อาจทำให้มันเลือนลางได้”
เรามีทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีเข้ามาในชีวิต
สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขได้ คือ ให้จดจำแต่สิ่งดีๆ
และให้อภัยกับสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น
สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขได้ คือ ให้จดจำแต่สิ่งดีๆ
และให้อภัยกับสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้น
“เราอาจเปลี่ยนแปลงชีวิตไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะคิดให้ดีได้”
วันนี้! เส้นตายดีเอสไอให้ "ธัมมชโย" รับทราบข้อหา
วันที่ 26 พ.ค.2559 เป็นเส้นตายที่กรมสอบสวนคดีพิเศษกำหนดให้พระเทพญานมหามุนี หรือ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มารับทราบข้อกล่าวหาในคดีร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร กรณีรับเงินบริจาคจากอดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น
ทีมแพทย์ของวัดพระธรรมกายยังยืนยันว่าพระธัมมชโยป่วยหนักจนไม่สามารถออกนอกวัดได้ และทีมแพทย์เรียกร้องแพทยสภาให้เข้าไปวินิจฉัยโรคยืนยันข้อเท็จจริง จึงมีแนวโน้มว่าพระธัมมชโยจะไม่ไปรับทราบข้อกล่าวหาตามที่ดีเอสไอกำหนด
วันนี้ (25 พ.ค.) ร.ท.นพ.ชูชัย พรพัฒนาพันธ์ คณะแพทย์ผู้รักษาอาการพระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย กล่าวว่า เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อสาธารณะจึงต้องการให้แพทยสภา ส่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มาตรวจและวินิจฉัยโรค พระธัมมชโย ที่วัดพระธรรมกาย
ส่วนกรณีแพทย์จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตการอาพาธและการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ที่ให้การรักษาพระธัมมชโยนั้น นพ.ชูชัย ตอบโต้ว่าในฐานะแพทย์ ไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์การรักษาของผู้อื่น ส่วนอาการอาพาธของพระธัมมชโยนั้น ขณะนี้ต้องรักษาตามอาการ โดยฉีดยาสลายลิ่มเลือด ที่อุดตันในเส้นเลือดดำลึก
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2559 ศาลอาญาได้อนุมัติหมายจับพระธัมมชโยตามคำร้องขอของดีเอสไอ ภายหลังจากที่พระธัมมชโยไม่ยอมเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาที่ดีเอสไอและขอเลื่อนมาหลายครั้ง โดยอ้างว่าป่วย แต่เจ้าหน้าที่ดีเอสไอเชื่อว่าพระธัมมชโยสามารถเดินทางมารับทราบข้อกล่าวหาได้ ซึ่งในวันที่ 26 พ.ค.เป็นวันสุดท้ายที่ดีเอสไอระบุ
เมื่อวานนี้ (24 พ.ค.2559) ศาลอาญาได้ยกคำร้องของทีมทนายความพระธัมมชโยที่ขอให้เพิกถอนหมายจับ โดยศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าการอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาชอบตามกฎหมาย จึงไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
เทศกาลหนังเมืองคานส์ กับ 10 เรื่องที่คุณอาจไม่เคยรู้!
1. เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี1946: กำเนิดเทศกาลหนังเมืองคานส์ ครั้งแรก!
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์เกิดขึ้นจากการผลักดันของฌอง เซ(Jean Zay)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาและศิลปะที่ต้องการให้ฝรั่งเศสมีเทศกาลทางวัฒนธรรมที่ทัดเทียมกับเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิซของอิตาลี โดยมีกำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1939 แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นเสียก่อน จึงต้องเลื่อนไปเปิดเทศกาลในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1946
2. เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี1953:ชุดขโมยซีนจากสาวน้อยวัย 19
บริจิตต์ บาร์โดต์ ในวัย 19 ปี ไปร่วมงานเทศกาลหนังเมืองคานส์เป็นครั้งแรกในปี 1953 และขโมยซีนจากพรมแดงด้วยการสวมชุดบิกินี่อวดความงามบนชายหาด บาร์โดต์ทำให้บิกินี่เป็นชุดที่สาวๆ ต้องมี และภาพยนตร์ที่เธอนำแสดงเรื่อง And God Created Woman ทำให้เมืองชายทะเลของฝรั่งเศสอย่าง Saint-Tropez ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำกลายเป็นเมืองหลวงแห่งการเฉิดฉายในชุดบิกินี่ไปโดยปริยาย
3.เทศกาลหนังเมืองคานส์ 1955 : เกรซ เคลลี่ จากสามัญชนสู่เจ้าหญิงแห่งโมนาโค
นี่คือเกรซ เคลลี่ ขณะเดินทางไปร่วมงานที่คานส์ในปี 1955 ซึ่งในระหว่างนั้นเธอได้พบกับคู่ชีวิตในอนาคต คือ เจ้าชายเรนิเยร์ที่ 3 แห่งโมนาโค ไม่น่าแปลกใจจริงๆ ว่าทำไมเจ้าชายถึงตกหลุมรักเกรซ ก็ดูเธอสิ ออกจะสวยสง่าซะขนาดนั้น และคุณทราบหรือไม่ว่า ในวันเปิดเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 2014นี้ จะมีการฉายชีวประวัติของเจ้าหญิงเกรซ เป็นหนังเปิดเทศกาลด้วย โดยมีชื่อเรื่องว่า Grace The Monaco นำแสดงโดย นิโคล คิดแมน!
4.เทศกาลหนังเมืองคานส์ 1957 : เทียร่าเพชรของอลิซาเบธ เทเลอร์
เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ สวมเทียร่าไปร่วมงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1957 เทียร่าชิ้นนี้เป็นของขวัญจากสามีโปรดิวเซอร์ของเธอ นาม ไมค์ ทอดด์ ซึ่งเธอมักจะกล่าวถึงเขาอย่างให้เกียรติเสมอว่า “ทอดด์คือราชาของฉัน” ไมค์ ทอดด์จึงให้ของขวัญเธอเป็นมงกุฎราชินีที่คู่ควรซะเลย!
5.เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี1974 : ตะกร้าพรมแดงที่มาของกระเป๋าแบรนด์ดัง
เจน เบอร์กิน ถ่ายภาพคู่กับ แซร์จ แก็งสบูรก์ ที่คานส์ในปี 1974 เบอร์กินเป็นนักร้องนักแสดงชาวอังกฤษที่มักสะพายตะกร้าไปไหนมาไหนจนเป็นสไตล์เฉพาะตัว วันหนึ่งในปี 1981 ขณะที่เธอนั่งเครื่องบินจากปารีสไปลอนดอน เบอร์กิน บ่นให้ฌอง-หลุยส์ ดูมาส์ เจ้าของแบรนด์ Hermès ในขณะนั้นฟังว่าการจะหากระเป๋าหนังแบบลำลองเหมาะๆ สักใบเป็นเรื่องยากสำหรับเธอ อีก 3 ปีต่อมาเธอก็ได้รับกระเป๋าหนังสีดำจากแอร์เมส ซึ่งเธอนำมาใช้จนทำให้กระเป๋ารุ่นนี้มีชื่อว่า “เบอร์กิน” (Birkin) นั่นเอง เก๋ซะ!
6.เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1987
เจ้าหญิงไดอาน่าเสด็จพร้อมเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เยือนเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปี 1987 ฉลองพระองค์และความงดงาม ถูกล่าวขวัญถึงอย่างมาก เรียกเสียงฮือฮา และเป็นที่สนใจไม่แพ้เหล่าดาราดัง
7.เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1998 : การเดินทางของปาล์มทองคำ
แบรนด์นาฬิกาและเครื่องประดับอัญมณีอย่าง Chopard เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนการจัดเทศกาลหนังเมืองคานส์อย่างเป็นทางการในปี 1998 พร้อมทั้งออกแบบรางวัลปาล์มทองคำใหม่ Chopard ยังได้ก่อตั้งรางวัล Trophee Chopard ซึ่งมอบให้แก่นักแสดงรุ่นใหม่ฝีมือดี เพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเมือง
8.เทศกาลหนังเมืองคานส์ กับ ความหมายของพรมแดง
การเดินพรมแดงที่คานส์ถือเป็นไฮไลต์ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งพรมแดงนี้สื่อความหมายถึงการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่และเสมอภาคที่มีให้กับคนในวงการภาพยนตร์ทั้งระดับปรมาจารย์และคลื่นลูกใหม่ที่น่าจับตามอง รวมถึงเป็นการเชิดชูความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งทำให้เทศกาลนี้ยืนยงและเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน
แต่คุณรู้หรือไม่ การเดินพรมแดงจะมีช่วงเวลาที่ถือเป็นโมเม้นต์ประวัติศาสตร์ด้วย นั่นคือ การกั้นพรมแดงให้แก่แขกระดับวีไอพี ที่ถูกเชิญมาโดยเฉพาะ โดยตัวแทนของแบรนด์ที่ให้การสนับสนุน จะลงมาจากรถลีมูซีและเดินเข้าสู่พรมแดงทีละคน พร้อมการขานชื่อและรายนามของสปอนเซอร์ที่ส่งเหล่าตัวแทนนั้นมา ซึ่งลอรีอัล ปารีส เมคอัพ เครื่องสำอางค์แบรนด์ดังระดับโลก ได้คัดเลือก อารยา เอ. ฮาร์เก็ตให้เป็น 1 ใน 4 ตัวแทนที่ไปยืน ณ จุดนั้นมาแล้ว!…เอ็กซ์คลูซีฟสุดๆ!
9.รู้หรือไม่ L'Oréal Paris ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ตั้งแต่ปี 1997 นับเป็นเวลากว่า 17 ปี ที่ L’Oreal ดูแลความงามของ ตา ปาก แก้ม ผิวหน้าและเล็บของเหล่าศิลปิน ดารา เซเลบริตี้ส์ที่มาร่วมงาน โดยในแต่ละปี L’Oreal จะมีการโชว์เคสเมคอัพคอลเลคชั่นและเทรนด์การแต่งหน้าล่าสุด ด้วยการโชว์โฉมแบบชวนตะลึงของเหล่า Brand Ambassador ที่จะมาโชว์ตัวบนพรมแดงในช่วงเวลาสุดแสน Exclusive ที่กั้นไว้ให้เฉพาะทูตของลอรีอัลได้ยืนเท่านั้น ซึ่งภายหลังจากที่ ‘ลุค’ สวยบนใบหน้าของเหล่าแอมบาสเดอร์แพร่ภาพออกไป ลุคเหล่านั้นก็จะกลายเป็นเทรนด์ที่สาวๆ ทั่วโลกใช้แต่งหน้าตลอดทั้งปี!
10. เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี2010: คนไทยคว้ารางวัลปาล์มทองคำเป็นครั้งแรก
2010 คือปีที่คนไทยคว้ารางวัลปาล์มทองคำได้เป็นครั้งแรก! จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ กำกับโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย โดยก่อนหน้านี้ในปี 2002 เขาเคยได้รับรางวัล Un Certain Regard ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) ซึ่งถูกจัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่คานส์โดยนิตยสาร Le Cahiers du Cinema และในปี 2004 ภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) ซึ่งร่วมสร้างกับบริษัท Anna Sanders Films ประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัล Jury Prize
เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี2013: คนไทยคนแรกที่เดินพรมแดง ในช่วง Exclusive Moment!
อารยา เอ ฮาร์เก็ต เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ร่วมเดินพรมแดงในช่วง Exclusive Moment ของเทศกาลภาพยนตร์เมื่องคานส์ ซึ่งทางผู้จัดงานจัดให้เฉพาะสำหรับแขกระดับ VIP และเหล่าคนดังจากทั่วโลกที่เป็น Brand Ambassador ของผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ มาโชว์ตัวในชุดราตรีเฉิดฉาย พร้อมประกาศชื่อ-สกุล ประเทศ และแบรนด์ที่เป็นตัวแทน เมื่อแขกพิเศษเหล่านี้เดินพรมแดงเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะมีการเปิดพรมแดงให้ศิลปิน ดารา นักแสดงและผู้กำกับจากประเทศต่างๆ ที่มีชื่อเข้าชิงรางวัลเดินเข้าสู่งาน
เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์เกิดขึ้นจากการผลักดันของฌอง เซ(Jean Zay)รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาและศิลปะที่ต้องการให้ฝรั่งเศสมีเทศกาลทางวัฒนธรรมที่ทัดเทียมกับเทศกาลภาพยนตร์เมืองเวนิซของอิตาลี โดยมีกำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1939 แต่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นเสียก่อน จึงต้องเลื่อนไปเปิดเทศกาลในวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1946
2. เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี1953:ชุดขโมยซีนจากสาวน้อยวัย 19
บริจิตต์ บาร์โดต์ ในวัย 19 ปี ไปร่วมงานเทศกาลหนังเมืองคานส์เป็นครั้งแรกในปี 1953 และขโมยซีนจากพรมแดงด้วยการสวมชุดบิกินี่อวดความงามบนชายหาด บาร์โดต์ทำให้บิกินี่เป็นชุดที่สาวๆ ต้องมี และภาพยนตร์ที่เธอนำแสดงเรื่อง And God Created Woman ทำให้เมืองชายทะเลของฝรั่งเศสอย่าง Saint-Tropez ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำกลายเป็นเมืองหลวงแห่งการเฉิดฉายในชุดบิกินี่ไปโดยปริยาย
3.เทศกาลหนังเมืองคานส์ 1955 : เกรซ เคลลี่ จากสามัญชนสู่เจ้าหญิงแห่งโมนาโค
นี่คือเกรซ เคลลี่ ขณะเดินทางไปร่วมงานที่คานส์ในปี 1955 ซึ่งในระหว่างนั้นเธอได้พบกับคู่ชีวิตในอนาคต คือ เจ้าชายเรนิเยร์ที่ 3 แห่งโมนาโค ไม่น่าแปลกใจจริงๆ ว่าทำไมเจ้าชายถึงตกหลุมรักเกรซ ก็ดูเธอสิ ออกจะสวยสง่าซะขนาดนั้น และคุณทราบหรือไม่ว่า ในวันเปิดเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 2014นี้ จะมีการฉายชีวประวัติของเจ้าหญิงเกรซ เป็นหนังเปิดเทศกาลด้วย โดยมีชื่อเรื่องว่า Grace The Monaco นำแสดงโดย นิโคล คิดแมน!
4.เทศกาลหนังเมืองคานส์ 1957 : เทียร่าเพชรของอลิซาเบธ เทเลอร์
เอลิซาเบธ เทย์เลอร์ สวมเทียร่าไปร่วมงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1957 เทียร่าชิ้นนี้เป็นของขวัญจากสามีโปรดิวเซอร์ของเธอ นาม ไมค์ ทอดด์ ซึ่งเธอมักจะกล่าวถึงเขาอย่างให้เกียรติเสมอว่า “ทอดด์คือราชาของฉัน” ไมค์ ทอดด์จึงให้ของขวัญเธอเป็นมงกุฎราชินีที่คู่ควรซะเลย!
5.เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี1974 : ตะกร้าพรมแดงที่มาของกระเป๋าแบรนด์ดัง
เจน เบอร์กิน ถ่ายภาพคู่กับ แซร์จ แก็งสบูรก์ ที่คานส์ในปี 1974 เบอร์กินเป็นนักร้องนักแสดงชาวอังกฤษที่มักสะพายตะกร้าไปไหนมาไหนจนเป็นสไตล์เฉพาะตัว วันหนึ่งในปี 1981 ขณะที่เธอนั่งเครื่องบินจากปารีสไปลอนดอน เบอร์กิน บ่นให้ฌอง-หลุยส์ ดูมาส์ เจ้าของแบรนด์ Hermès ในขณะนั้นฟังว่าการจะหากระเป๋าหนังแบบลำลองเหมาะๆ สักใบเป็นเรื่องยากสำหรับเธอ อีก 3 ปีต่อมาเธอก็ได้รับกระเป๋าหนังสีดำจากแอร์เมส ซึ่งเธอนำมาใช้จนทำให้กระเป๋ารุ่นนี้มีชื่อว่า “เบอร์กิน” (Birkin) นั่นเอง เก๋ซะ!
6.เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1987
เจ้าหญิงไดอาน่าเสด็จพร้อมเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์เยือนเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปี 1987 ฉลองพระองค์และความงดงาม ถูกล่าวขวัญถึงอย่างมาก เรียกเสียงฮือฮา และเป็นที่สนใจไม่แพ้เหล่าดาราดัง
7.เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี 1998 : การเดินทางของปาล์มทองคำ
แบรนด์นาฬิกาและเครื่องประดับอัญมณีอย่าง Chopard เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนการจัดเทศกาลหนังเมืองคานส์อย่างเป็นทางการในปี 1998 พร้อมทั้งออกแบบรางวัลปาล์มทองคำใหม่ Chopard ยังได้ก่อตั้งรางวัล Trophee Chopard ซึ่งมอบให้แก่นักแสดงรุ่นใหม่ฝีมือดี เพื่อเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของเมือง
8.เทศกาลหนังเมืองคานส์ กับ ความหมายของพรมแดง
การเดินพรมแดงที่คานส์ถือเป็นไฮไลต์ที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งพรมแดงนี้สื่อความหมายถึงการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่และเสมอภาคที่มีให้กับคนในวงการภาพยนตร์ทั้งระดับปรมาจารย์และคลื่นลูกใหม่ที่น่าจับตามอง รวมถึงเป็นการเชิดชูความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลเหล่านี้ ซึ่งทำให้เทศกาลนี้ยืนยงและเป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบัน
แต่คุณรู้หรือไม่ การเดินพรมแดงจะมีช่วงเวลาที่ถือเป็นโมเม้นต์ประวัติศาสตร์ด้วย นั่นคือ การกั้นพรมแดงให้แก่แขกระดับวีไอพี ที่ถูกเชิญมาโดยเฉพาะ โดยตัวแทนของแบรนด์ที่ให้การสนับสนุน จะลงมาจากรถลีมูซีและเดินเข้าสู่พรมแดงทีละคน พร้อมการขานชื่อและรายนามของสปอนเซอร์ที่ส่งเหล่าตัวแทนนั้นมา ซึ่งลอรีอัล ปารีส เมคอัพ เครื่องสำอางค์แบรนด์ดังระดับโลก ได้คัดเลือก อารยา เอ. ฮาร์เก็ตให้เป็น 1 ใน 4 ตัวแทนที่ไปยืน ณ จุดนั้นมาแล้ว!…เอ็กซ์คลูซีฟสุดๆ!
9.รู้หรือไม่ L'Oréal Paris ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของงานเทศกาลหนังเมืองคานส์ตั้งแต่ปี 1997 นับเป็นเวลากว่า 17 ปี ที่ L’Oreal ดูแลความงามของ ตา ปาก แก้ม ผิวหน้าและเล็บของเหล่าศิลปิน ดารา เซเลบริตี้ส์ที่มาร่วมงาน โดยในแต่ละปี L’Oreal จะมีการโชว์เคสเมคอัพคอลเลคชั่นและเทรนด์การแต่งหน้าล่าสุด ด้วยการโชว์โฉมแบบชวนตะลึงของเหล่า Brand Ambassador ที่จะมาโชว์ตัวบนพรมแดงในช่วงเวลาสุดแสน Exclusive ที่กั้นไว้ให้เฉพาะทูตของลอรีอัลได้ยืนเท่านั้น ซึ่งภายหลังจากที่ ‘ลุค’ สวยบนใบหน้าของเหล่าแอมบาสเดอร์แพร่ภาพออกไป ลุคเหล่านั้นก็จะกลายเป็นเทรนด์ที่สาวๆ ทั่วโลกใช้แต่งหน้าตลอดทั้งปี!
10. เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี2010: คนไทยคว้ารางวัลปาล์มทองคำเป็นครั้งแรก
2010 คือปีที่คนไทยคว้ารางวัลปาล์มทองคำได้เป็นครั้งแรก! จากภาพยนตร์เรื่อง ลุงบุญมีระลึกชาติ กำกับโดย อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล หรือ เจ้ย โดยก่อนหน้านี้ในปี 2002 เขาเคยได้รับรางวัล Un Certain Regard ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ จากภาพยนตร์เรื่อง สุดเสน่หา (Blissfully Yours) ซึ่งถูกจัดเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่ดีที่สุดที่คานส์โดยนิตยสาร Le Cahiers du Cinema และในปี 2004 ภาพยนตร์เรื่อง สัตว์ประหลาด! (Tropical Malady) ซึ่งร่วมสร้างกับบริษัท Anna Sanders Films ประเทศฝรั่งเศส ได้รับรางวัล Jury Prize
เทศกาลหนังเมืองคานส์ปี2013: คนไทยคนแรกที่เดินพรมแดง ในช่วง Exclusive Moment!
อารยา เอ ฮาร์เก็ต เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ร่วมเดินพรมแดงในช่วง Exclusive Moment ของเทศกาลภาพยนตร์เมื่องคานส์ ซึ่งทางผู้จัดงานจัดให้เฉพาะสำหรับแขกระดับ VIP และเหล่าคนดังจากทั่วโลกที่เป็น Brand Ambassador ของผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ มาโชว์ตัวในชุดราตรีเฉิดฉาย พร้อมประกาศชื่อ-สกุล ประเทศ และแบรนด์ที่เป็นตัวแทน เมื่อแขกพิเศษเหล่านี้เดินพรมแดงเสร็จสิ้นแล้ว จึงจะมีการเปิดพรมแดงให้ศิลปิน ดารา นักแสดงและผู้กำกับจากประเทศต่างๆ ที่มีชื่อเข้าชิงรางวัลเดินเข้าสู่งาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)